หน่วยการเรียนรู้ที่2 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานอย่างมีจริตสำนึก

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานอย่างมีจริตสำนึก
ตัวชี้วัด 
1.ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานหรือโครงงานอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ(ง 3.1 ม.4-6/12)
2.บอกข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ(ง 3.1 ม.4-6/13) 
1.หลักการเริ่มต้นในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน
    คอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทต่อสังคมมนุษย์เป็นอย่างมาก สามารถนำเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของมนุษย์ได้แทบทุกสาขาอาชีพ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานนั้นต้องมีการออกแบบ วางแผน เพราะคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้โดยตรงแต่ต้องมีการใช้ชุดคำสั่งในการควบ คุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ดังนั้น
        การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นต้องใช้องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก และใช้ซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ให้สามารถผลิตผลงานสร้างสรรค์ได้ตามวัตถุประสงค์
          การ ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างชิ้นงานสามารถทำได้ตั้งแต่งานง่ายๆ โดยใช้แค่เพียงคอมพิวเตอร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมระดับ สูงเพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ และการใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงสามารถสร้างชิ้นงานที่ใช้งบประมาณเพียงเล็กน้อย โดยใช้ซอฟต์แวร์เท่าที่มีอยู่แล้ว จนถึงการลงทุนระดับสูงที่ต้องการใช้งบประมาณในการซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อการพัฒนาเป็นการเฉพาะ
        การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างชิ้นงาน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายควรเป็นการสร้างชิ้นงานในแนวทางสร้างสรรค์อย่างมี จิตสำนึกที่ดีทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และการสร้างชิ้นงานควรเป็นในลักษณะการทำงานที่มีกระบวนการ มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจนเพื่อใช้ผลงานมีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุด ซึ่งเป็นหลักของการสร้างผลงานโดยใช้หลักการโครงงานคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย คือ ควรเป็นกิจกรรมอิสระที่ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาตามความสนใจ โดยใช้ทักษะและความสามารถที่มีอยู่เริ่มทางด้านคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ใน การแก่ปัญหาต่างๆ ผู้เรียนจะต้องวางแผนดำเนินงาน ศึกษา ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม เพื่อนำความรู้และทักษะมาพัฒนาโปรแกรมหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยยึดหลักการทำโครงงาน ดังนี้
            1. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
            2.ผู้เรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่ศึกษา ค้นคว้า พัฒนาชิ้นงานด้วยตนเอง
            3. ผู้เรียนเป็นผู้เก็บรวบรวมหรือประดิษฐ์คิดค้นชิ้นงานด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ ความสามารถ
            4.ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา สรุปเพื่อสร้างผลงาน และเสนอผลการศึกษาด้วยตนเองโดยมีผู้สอนเป็นที่ปรึกษา


     ผลกระทบของคอมพิวเตอร์ต่อมนุษย์

                ผล งานด้านคอมพิวเตอร์ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงของโลกมนุษย์ให้ก้าว ไปในอนาคตอย่างก้าวกระโดด เทคโนโลยีการสำรวจอวกาศ การออกแบบสร้างเครื่องมืออุปกรณ์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กิจกรรมด้านความ บันเทิง เช่น เพลง การแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ นำความสามารถของคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสร้างบรรยากาศการนำเสนอ ทำให้ประทับใจได้อย่างยอดเยี่ยม การดูแลรักษาทางการแพทย์ ความสามารถในการรักษาก็นำความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้วินิจฉัยและ ทำการรักษาได้อย่างแม่นยำ เช่น การผ่าตัดเซลล์สมองขนาดเล็ก โดยอาศัยการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ในการผ่าตัดก็ทำได้เป็นอย่างดี มีความปลอดภัยสูง จนทำให้งานที่มนุษย์สามารถทำได้ยากหรือไม่สามารถทำได้กลายเป็นเรื่องง่าย จากความสามารถในการทำงานของคอมพิวเตอร์ในหลายๆ ด้าน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมมนุษย์หลายประการ ดังนี้

             1.ผลกระทบทางด้านธุรกิจการค้า   นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บข้อมูลบัญชีรายชื่อลูกค้าการคำนวณ  การจัดทำบัญชี และในองค์กรธุรกิจ นักธุรกิจจำนวนมากใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบในการทำงาน สร้างผลงานด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น การสร้างแผนภูมิชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนภูมิวงกลมแผนภูมิแท่ง เพื่อนนำเสนอในการประชุม



การใช้งานโปรแกรมประยุกต์ช่วยงานในองค์กรธุรกิจ


                    2.ผลกระทบทางด้านความบันเทิง    การสร้างภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ ฉากบู๊ต่อสู้มีการใช้เทคนิคการนำเสนอ (Effect) ช่วยทำให้เกิดภาพสมจริง ยิ่งกว่านั้นในปัจจุบันจะพบว่ามีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้ในอุตสาหกรรม ภาพยนตร์ในอัตราส่วนที่มากกว่าการแสดงจริง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกสร้างยานอวกาศ สัตว์ประหลาดจากต่างดาว มนุษย์ต่างดาวและการใช้เทคนิคพิเศษต่างๆในภาพยนตร์ทำให้ดูสมจริง น่าตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชม นอกจากนี้ยังพบว่าภาพยนตร์บางเรื่องใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในการสร้างผลงาน ภาพยนตร์ขึ้นมาโดยไม่มีตัวละครที่แสดงจริงเลยแม้แต่คนเดียวอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดในปัจจุบันที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกเข้าช่วย
           ไม่ใช่เพียงภาพยนตร์เท่านั้นที่ใช้เทคนิคแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้า ช่วย แม้แต่เกมต่างๆ ในท้องตลาดก็ใช้คอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้นมาทั้งสิ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้าง ฉากภาพเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมต่างๆซึ่งเกมนี้ถือเป็นธุรกิจบันเทิงที่มีเงิน หมุนเวียนมหาศาล โดยเฉพาะเกมออนไลน์ที่มีผู้เล่นอยู่ทั่วทุกมุมโลกซึ่งจากเดิมเป็นเกมประเภท สองมิติปัจจุบันเป็นเกมประเภทสามมิติทำให้ดูสมจริงจนผู้เล่นเกมแทบจะแยกไม่ ออกว่าเป็นตัวละครจริงหรือเป็นตัวละครที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์




ภาพยนตร์แอนิเมชัน ที่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกผลิตทุกขั้นตอน





ภาพยนตร์ที่ตัวละครใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกสร้างโดยมีมนุษย์ช่วยในการเเสดง



          3.ผลกระทบทางด้านการศึกษา   คอมพิวเตอร์ สามารถช่วยนักเรียนในการสืบค้นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องไม่ยากหากผู้ เรียนต้องการเขียนรายงานเกี่ยวกับอวกาศ ผู้เรียนสามรถเข้าไปในที่สารานุกรมออนไลน์ (Wikipedia) หรือตั้งหัวเรื่อง ใช้คำค้นหาในอินเทอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการเขียนรายงานนอกจากนี้ยังใช้โปรแกรม ประมวลคำในการทำงาน พิมพ์ข้อความสามารถแทรกรูปภาพจักภาพอย่างสวยงามเพื่อพิมพ์ออกมาเป็นรายงาน หรือจะใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์พิมพ์แล้วส่งให้ครูทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่สะดวกรวดเร็ว ประหยัดกระดาษและหมึกพิมพ์ เป็นระบบที่ไม่สูญหายสามารถจักเก็บได้ไม่เปลืองเนื้อที่อีกด้วย

      สำหรับครูผู้สอนก็สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอน สื่อคอมพิวเตอร์สื่อ
มัลติมีเดีย สื่อออนไลน์ การใช้โปรแกรมประมวลผลการเรียน การนำเสนอผลการเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งซึ่งมีโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่จำเป็นกับครูและนักเรียนมากมาย

  4.ผลกระทบทางด้านการแพทย์     โปรแกรม ทางด้านคอมพิวเตอร์ได้สร้างความสะดวกกับสถานพยาบาล โรงพยาบาล งานการเก็บประวัติการรักษาของผู้ป่วยในรูปแบบฐานข้อมูล เก็บประวัติการใช้ยา นอกจากงานทางด้านฐานข้อมูลแล้ว คอมพิวเตอร์ยังถูกนำมาใช้ในงานด้านการวินิจฉัย และช่วยในการรักษา หากไม่มีคอมพิวเตอร์แล้ว โรคบางโรคอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง หรืออาจไม่สามารถตรวจพบได้เลยก็เป็นได้ เช่น การตรวจและรักษามะเร็งชนิดต่างๆนอกจากนี้ยังมี่การใช้โปรแกรมแสดงผลภาพทารก ในครรภ์มารดาจากเครื่องอัลตราซาวนด์ได้อีกด้วย


ปัจจัยสำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน

          จาก หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ผู้พัฒนาจะต้องวิเคราะห์ปัจจัยด้านข้อมูลและความสามารถของฮาร์ดแวร์หรือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างชิ้นงาน เพื่อให้เหมาะสมอยู่สภาพที่สามารถจัดหาและรองรับการสร้างชิ้นงานที่คิดค้น ขึ้น ดังนี้
        1.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์   ซึ่ง เป็นฮาร์ดแวร์หลักที่ใช้ในการทำงานเพื่อสร้างชิ้นงาน การสร้างชิ้นงานจึงต้องคำนึงถึงส่วนประกอบของอุปกรณ์ต่อพ่วงหรืออุปกรณ์ที่ เชื่อมต่อทั้งภายในและภายนอก
         1.1 การ์ดเสียง (Sound) เป็น อุปกรณ์ที่ใช้สนับสนุนในการสร้างชิ้นงานที่ต้องใช้เสียง เช่น การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอเกี่ยวกับเสียงหรือการแต่งเพลง งานโฆษณา งานนำเสนอภาพประกอบเพลง งานวีดีทัศน์ เกม เป็นต้น
         1.2 การ์ดจอ (VGA Card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สนับสนุนในการสร้างงานเกี่ยวกับภาพกราฟิก เช่น งานนำเสนอที่ใช้ภาพเคลื่อนไหว งานวีดีทัศน์ การสร้างแอนิเมชันทั้ง2มิติ และ 3 มิติการผลิตหนังสั้นซึ่งมีความจำเป็นในระดับหนึ่งของการผลิตผลงาน การ์ดจอจะทำให้การผลิตผลงานมีความรวดเร็วและงานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
         1.3 ไมโครโฟน (Microphone) เป็น อุปกรณ์นำเข้าที่เชื่อมต่อภายนอก มี่ความสำคัญต่อการสร้างชิ้นงานในกรณีที่งานนั้นต้องใช้การบันทึกเสียง เช่น การผลิตแอนิเมชัน การบันทึกบทสนทนาของตัวละคร บทบรรยายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
         1.4 ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลของเสียง ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่ต้องอัดผ่านคอมพิวเตอร์หรือเสียงดนตรี เสียงบรรยายต่างๆ
         1.5 เมาส์ปากกา (PenMouse)   เป็นอุปกรณ์หลักในการสร้างชื้นงานที่เกี่ยวกับงานกราฟิกประเภท 2 มิติ เช่น การสร้างหรือวาดรูปภาพประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การร่างภาพเพื่อผลิตแผ่นโปสเตอร์ ซึ่งจะทำให้สามารถร่างภาพ เขียนเส้น ระบายสีลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้สวยงาม สะดวกเหมือนกับการวาดลงในกระดาษจริง
        1.6 หน่วยความจำหลัก (RAM) การ เพิ่มหน่วยความจำหลักให้มีจำนวนมากเพียงพอต่อการรองรับการสร้างชิ้นงาน และเหมาะสมการรองรับของแผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้การประมวลผลทำได้รวดเร็วประหยัดเวลาในการทำงาน โดยเฉพาะการสร้างชิ้นงานที่ต้องใช้ความจำมากๆ เช่น การสร้างแอนิเมชัน 3 มิติ การสร้างชิ้นงานที่เป็นไฟล์วิดีโอ ภาพยนตร์ สิ่งเหล่านี้ต้องการหน่อยความจำในการประมวลผลเป็นอย่างยิ่ง
        1.7 เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็น อุปกรณ์ที่ใช้เพื่อสนองต่อชิ้นงานที่สร้างสรรค์เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น การสร้างโปสเตอร์เพื่อการรณรงค์ การออกแบบจุลสาร วารสารต่างๆ โดยใช้เพื่อตรวจสอบต้นฉบับส่งโรงพิมพ์ หรือาจจะใช้ในการสร้างชิ้นงานเลยก็ได้ หากการผลิตมีปริมาณไม่มากดังนั้นจึงต้องเลือกใช้เครื่องพิมพ์ให้เหมาะสมกับ ชนิดของงาน วัตถุประสงค์ของชิ้นงานและความประหยัดคุ้มค่าประกอบในการตัดสินใจ
      2. โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ เป็น องค์ประกอบที่สำคัญที่ต้องมีความสัมพันธ์กับชิ้นงานที่จะสร้างสรรค์ขึ้นและ สัมพันธ์กับอุปกรณ์เชื่อมต่อในคอมพิวเตอร์ โดยโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์มีทั้งซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จึงจะใช้บริการได้ เช่น Microsoft Office     Adobe Photoshop,Acrobat Reader และซอฟค์แวร์ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อมาใช้งานที่เรียกว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ (oss : Open  Source  Software)ฟรีแวร์(Freeware) และแชร์แวร์(Share ware) เช่น Dreamweaver,OpenOffice.org,Win FTP,e-leaming Solution,Digital Library,Google SketchUp เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์สารารถแบ่งตามลักษณะงานได้หลายประเภท ดังนี้
       2.1 การสร้างงานกราฟิก ใน การสร้างชิ้นงานที่ต้องมีการวาดร่างหรือตกแต่งตัดต่อรูปภาพหรือการขึ้นรูป ภาพต่างๆซึ่งโปรแกรมงานด้านกราฟิกที่ใช้ต้องคำนึกวัตถุประสงค์ของชิ้นงานที่ ออกแบบด้วยดังตัวอย่าง
      - อะโดบีโฟโตซ็อป (Adoba Photoshop) เป็น โปรแกรมกราฟิกประเภทบิตแมปใช้เพื่อการตัดต่อรูปภาพ การนำภาพถ่ายมาตกแต่งเป็นภาพใหม่ เหมาะสำหรับการสร้างชิ้นงานประเภทการออกแบบโปสเตอร์ การทำจุลสาร ปกหนังสือ เป็นต้น ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในอุตสาหกรรมโรงพิมพ์
       -  กิมป์ (Gimp) เป็นโปรแกรมกราฟิกประเภทบิตแมปเช่นเดี่ยวกับโปรแกรมอะบีโพโตซ็อปแต่โปรแกรมกิมป์ (Gimp) เป็นโปรแกรมที่เปิดโอกาสให้นำไปใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
        - อะโดบีอิลลัสเทรเตอร์ (Adode Illustator) เป็น โปรแกรมกราฟิกประเภทเวกเตอร์ที่สามารถสร้างงานกราฟิก การสร้างรูปร่าง ภาพจำลองต่างๆ และสร้างลวดลายเส้นที่แปลกสวยงาม เช่น การออกแบบปกหนังสือ ตกแต่งภาพ งานกราฟิกให้ได้องค์ประกอบที่สวยงาม เป็นต้น
          - อิงก์สแคป (Inkscap) เป็น โปรแกรมที่มีการทำงานคล้ายกับอะโดบีอิลลัสเทรเตอร์แต่โปรแกรมอิงก์สแคป เป็นโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
          - กูเกิลสเก็ตช์อัป (Google  SketchUp) เป็นโปรแกรมกราฟิกที่สามารถสร้างภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ที่สามารถสร้างรูปจำลอง(Model) เช่น ชิ้นงานออกแบบตกแต่งภายในงานออกแบบภายนอก ตลอดจนการสร้างฉากที่เป็นภาพนิ่ง หรือแม้แต่การสร้างภาพเคลื่อนไหวที่เป็น 3 มิติก็สามารถรองรับได้ระดับหนึ่ง โดยโปรแกรมกูเกิลสเก็ตช์อัปนี้สามารถใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือสามารถซื้อเพื่อใช้ในรุ่น(version) ที่มีความสามารถและเครื่องมือในการใช้งานแบบมืออาชีพมากขึ้นก็ได้

- อะโดบีแฟลช (Adode Flash) เป็นโปรแกรมในการสร้างชิ้นงานที่เป็นภาพหนึ่งหรือภาพเคลื่อนไหวที่เป็น 2 มิติ โดยโปรแกรมนี้สามารถสร้างชิ้นงานที่ติดต่อปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้ดี เหมาะสำหรับการไฟล์นำเสนอประเภทแอนิเมชัย การ์ตูนแอนิเมชัน การสร้างเกมแบบต่างๆการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สื่อประสม (Multimedia) และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น




2.2 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบัน การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถทำได้อย่าง่ายดายและรวดเร็ว ประหยัดเวลาเป็นอย่างมาก โดยใช้โปรแกรมสำหรับสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป ดังตัวอย่าง
        -ฟลิปอัลบัม (FlipAlblum) ฟลิปอัลบันลิชเซอร์(Flip Publisher) และเดสก์ท็อปออเทอร์(Desktop Author)เป็นโปรแกรมสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีรูปแบบ 3 มิติเหมือนกับการพลิกเปิดหน้าหนังสือจริง ที่สามารถแทรกข้อความรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียงที่อำนวยความสะดวกสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างชิ้นงานที่ เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรืออัลบันรูปภาพ
-ไอเลิฟลิบรารี(Ilovelidrary) เป็นโปรแกรมฟรีที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมมาใช้เพื่อสร้างหนังสือและ สามารถอัปโหลดหนังสือเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซด์เดียวกันได้ ทำให้สะดวกที่จะใช้งานได้งานได้บนอินเทอร์เน็ต
2.3  การสร้างงานตัดต่อวิดีโอ โปรแกรมตัดต่อวิดีโอที่นิยมใช้ มีดังนี้

- อะโดบีพรีเมียร์ (Adobe Premiere) เป็น โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์วิดีโอที่มีความสามารถมาก ใช้ในการสร้างงานนำเสนอที่เป็นวีดิทัศน์เพื่อนำเสนอสารคดี  ภาพยนตร์สั้น การ์ตูนแอนิเมชัน การใช้โปรแกรมนี้สร้างงานควรมีการ์ดจอที่จะทำให้สามารถตัดต่อไฟล์วิดีโอได้ รวดเร็ว


-มูฟรีเมกเกอร์ (Movie  Maker) เป็น โปรแกรมที่ตัดต่อไฟล์วิดีโอที่มีขนาดเล็กถูกติดมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการของ บริษัทไมโครซอฟต์ เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการตัดต่อไฟล์วิดีโอ  ภาพนิ่ง เสียง สามารถนำโปรแกรมนี้มาสร้างเสนอชิ้นงานนำเสนอที่ทำงานได้รวดเร็วและใช้ ทรัพยากรระบบน้อยกว่าโปรแกรมอะโดบีพรี แต่เครื่องมือในการทำงานก็น้อยลงด้วยเช่นกัน
     - แวกซ์ (Wax) เป็น แกรมตัดต่อไฟล์วิดีโอประเภทที่ให้ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีและเป็นโปรแกรมที่ มีขนาดเล็ก  สามารถแทรกรูปภาพ  ไฟล์วิดีโอ  ไฟล์เสียง เพื่อสร้างชิ้นงานนำเสนอและมีโปรแกรมเสริม (Plug In) ที่เพิ่มความสามารถของโปรแกรมให้สามารถสร้างชิ้นงานได้สะดวก รวดเร็วตลอดจนมีเทคนิคกานนำเสนอ (Effect) ของโปรแกรมที่แปลกตามมากขึ้น
        2.4 การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และสื่อมัลติมีเดีย โปรแกรมที่ใช้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและสื่อมัลติมีเดีย มีดังนี้
         - สวิชแมกซ์ (SWiSH Max) เป็น โปรแกรมสร้างแอนิเมชันที่ใช้งานซับซ้อนเหมาะสำหรับการสร้างข้อความที่ เคลื่อนไหว ประกอบการทำเว็บเพจหรือข้อความสื่อบทเรียน หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์และยังสร้างปฏิสัมพันธ์ได้ดี สามารถใช้ผลิตสื่อมัลติมีเดีย และคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้

- อะโดบีแคปทิเวต (Adode Captivate) เป็น โปรแกรมสำหรับจัดการภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ข้อความ ข้อมูลเสียง รวบรวมจัดเป็นชิ้นงาน เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สื่อมัลติมีเดีย งานนำเสนอ แบบทดสอบ โปรแกรมนี้สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ให้กับผู้ใช้ได้อย่างดี ซึ่งเหมาะสำหรับนำมาช่วยในการผลิตสื่อทางการศึกษาชนิดต่างๆ


2.5 การสร้างงานด้านเสียง โปรแกรมที่สร้างชิ้นงานด้านเสียง มีดังนี้
         - ออดาซิตี (Audacity) ใช้ เป็นโปรแกรมในการจัดดารเกี่ยวกับเสียง เช่น การอัดเสียงบรรยาย การสนทนาผ่านไมโครโฟนต่อกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช่จ่าย (Freeware) สามารถ ตัดต่อ ลบ แทรกเสียง ลดสียงเพิ่มเสียง เปลี่ยนระดับเสียงให้สูงขึ้นหรือต่ำลง








  - แอลเอ็มเอ็มเอส (LMMS : Linux Multimedia Studio) เป็นโปรแกรมฟรีที่สามารถใช้งานได้ดี และมีโปรแกรมเสริม (Plug In) บนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์จำนวนมาก แต่ก็ยังสามารถใช้งานได้ระบบปฏิบัติการอื่นๆได้ เหมาะกับการสร้างชิ้นงานที่เกี่ยวกับเสียงเช่น การสร้างเสียง เทคนิคที่ใช้ในการนำเสนอ การแต่งเพลง การทำดนตรีที่วนซ้ำ(Loop) ประกอบกับชิ้นงานอื่นๆ



2.6 การเขียนโปรแกรม โปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม
            - วิชวลเบสิก (Visusl Basic) เป็นโปรแกรมสำหรับการพัฒนาโปรแกรมประยุกค์เป็นชุดคำสั่งคล้ายกับภาษาเบสิก (Basic) เดิม ที่มีการใช้แบบกราฟิก ทำให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สามารถมองเห็นคุณสมบัติของวัตถุได้ในทันที เช่น ขนาด สี ลักษณะของปุ่มกดต่างๆ กรอบข้อความ กล่องข้อความ ทำให้เกิดความสะดวกในการจักวาง ช่วยประหยัดเวลาในการพัฒนา โดยเฉพาะมีเครื่องมือช่วยในการพัฒนา สามารถเข้าถึงฐานข้อมูล โดยมีอ๊อบเจ๊บต์หรือวัตถุช่วยทำให้ผู้พัฒนาเขียนโปรแกรมสั้นลงและยังมี เครื่องมืออำนวยความสะดวก ตรวจสอบไวยากรณ์ในการเขียนร่วมด้วย ชิ้งงานที่ใช้ในการพัฒนาด้วยวิชวลเบสิก ได้แก่ โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากร โปรแกรมครบคุม การทำงานของอุปกรณ์ของบริษัทต่างๆ เช่น การตรวจสอบเครื่องมือ เคื่องอ่านรหัสแท่ง(Barcode) ซึ่ง เป็นโปรแกรมที่ติดมากับฮาร์ดแวร์ เนื่องจากสามารถพัฒนาได้ง่าย จึงนิยมแถมติดมาเพื่อใช้งานเบื้องต้นโดยโปรแกรมที่พัฒนาจะทำงานได้ดีกับ เครื่องคอมพิวเตอร์บนระบบปฎิบัติการวินโดวส์
  - เดฟซีพลัสพลัส (Dev C++) เป็นโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ภาษาซี (C) หรือซีฟลัสพลัส (C++) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายภายใต้อนุสัญญากะนู (GNU: GaneralPublic Licenae) ตัว แปรภาษานี้เป็นที่นิยมใช้เนื่องจากทำงานได้ยืดหยุ่นโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนา สามารถทำงานได้หลายระบบปฏิบัติการ สามารถครบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ ทำงานบนระบบปฏิบัติการอื่นๆ ได้ เช่น บนเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น 






    ในการสร้างชิ้นงานโดยใช้คอมพิวเตอร์นั้น อาจจะต้องใช้เครื่องมือที่เป็นโปรแกรมมากกว่า 1 โปรแกรม โดยเฉพาะงานที่เป็นสื่อมัลติมีเดียด้วยแล้ว ผู้สร้างสรรค์จะมีความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมที่หลากหลาย ทั้งโปรแกรมด้านกราฟิก ด้านเสียง ด้านภาพเคลื่อนไหว และอาจมจำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนฐานข้อมูล เป็นต้น การสร้างชิ้นงานโดยใช้คอมพิวเตอร์จึงต้องฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม ที่เหมาะกับชิ้นงาน มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์หรือโปรมแกรมประยุกต์ต่าง ๆ อีกทั้งยังต้องคำนึกแหล่งค้นคว้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในระหว่างการทำงาน หรืโครงงาน รวมทั้งบุคคลที่เชี่ยวชาญในซอฟต์แวร์ หรือบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับข้องกับสาขาวิชาที่ผู้สร้างชิ้นงานกำลัง ผลิต ก็จะเป็นปัจจัยที่จะช่วยในการสร้างชิ้นงานประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น



    การศึกษาผลกระทบของชิ้นงานที่สร้างขึ้น


     ใน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน ผู้สร้างชิ้นงานจะต้องมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเสมอซึ่งวัตถุประสงค์ของการ สร้างชิ้นงานนี้จะพบว่าวัตถุประสงค์หลัก  เพื่อแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งวัตถุประสงค์นี้จะเกินจากการที่ผู้สร้าง สรรค์ชิ้นงานได้พบกับปัญหา หรือเห็นปัญหาที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวัน ปัญหาการเรียนโรงเรียน ปัญหาของหน่วยงาน ปัญหาในชุมชน นำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างชิ้นงาน นอกจากการสร้างชิ้นงานมาเพื่อแก้ปัญหาแล้ว วัตถูประสงค์ในการสร้างชิ้นงานเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับผู้ใช้ชิ้นงาน หรือแนวทางการสร้างชิ้นงานจะก่อนการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ยังไม่พบหรือยังไม่มีในวงการในการด้านนั้น เป็นการสร้างเพื่อเพิ่มเติมจากสิ่งที่มีอยู่เดิม ดังเห็นได้จากการสร้างซอฟต์แวร์คู่ขนาดที่ทำงานได้เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ลิขสิทธิ์ให้ใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายกับซอฟต์แวร์ที่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายสิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทาง เลือกให้กับสังคมหรือชุมชนที่ใช้ซอฟต์แวร์ และประการสุดท้าย เป็นการสร้างชิ้นงานเพื่อความประสงค์ของผู้สร้างเอง แนวการสร้างชิ้นงานในประเด็นนี้จะไม่เกิดปัญหาที่อยู่รอบตัวหรือปัญหาของ สังคม แต่เป็นการสร้างชิ้นงานผู้สร้างสร้างเองเพื่อศึกษา อยากทดลอง อยากทำในสิ่งตนเองตั้งใจไว้ ในบางครั้งจะพบว่าผู้ที่ริเริ่มไม่ได้ตั้งใจด้วยซ้ำว่า แนวความคิดที่ริเริ่มจะกลายเป็นผลงานที่ถูกพัฒนาต่อยอดจนเป็นผลงานที่มีผู้ ใช้จำนวนมากซึ่งเป็นผลกระทบที่ผู้ผลิตไม่ได้ตั้งใจให้เกิด
         เนื่องจากชิ้นงานที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์มีลักษณะโดดเด่นกว่าผลงานในสาขา อื่นๆ ในด้านของการเผยแพร่ และการแพร่กระจาย โดยชิ้นงานที่ผลิตมักจะอยู่ในรูปซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมประยุกต์หรือซอฟต์แวร์ กับฮาร์ดแวร์ จึงทำให้สามารถเผยแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศเองและระบบอิน เทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงบุคคล หรื กลุ่มคนได้ครั้งละจำนวนมาก รวดเร็ว รอบโลก ชิ้นงาน ที่ผลิตจึงมีโอกาสกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้ใช้เสมอ ซึ่งผลกะทบจะมี2ทิศทาง ดังนี้
           1.   ผลกระทบทางด้านบวก เป็น ผลกระทบที่มีสร้างชิ้นงานเองได้คาดหวังให้เกิด ขึ้น หรือผู้ใช้นำไปใช้ในแนวทางที่สร้างสรรค์ในบางครั้งจะพบว่าชิ้นงานที่สร้าง ขึ้นสามารถสร้างประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้สร้างแล้ว แต่ผู้ใช้ยังสามารถนำชิ้นงานไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิ
       ผล กระทบทางสังคม   จะพบว่าซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถตอบสนองทางสังคม เช่น ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์   ฐานข้อมูลอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลของกรมการขนส่ง  สิ่งเหล่านี้เป็นการทำงานในเชิงบวกที่ผู้ใช้ในสังคมนำมาสร้างประโยชน์เอื้อ อำนวยความสะดวก  ก่อให้เกิดความสงบสุข ความมั่งคุงในสังคม
          ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม  ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตผลงานได้สร้างสรรค์เพื่อทดแทนวัสดุ เช่น การสร้างกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยลดปริมาณการตัดไม่เพื่อทำเยื่อกระดาษ การใช้ซอฟต์แวร์ตรวจสอบสภาพการจราจร ทำให้ผู้เดินทางที่ขับรถสามารถตัดสินใจเดินทางในเส้นที่สะดวก ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ประหยัดเวลา ลดมลภาวะทางอากาศ เป็นต้น
  2.ผลกระทบทางด้านลบ    เป็นผลกระทบที่ผลิตไม่อยากให้เกินซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจเป็นผลกระทบของการเขียนโปรแกรมที่สามารถแก้ไขได้ เช่น การเกิด บัก (bug) หรือข้อผิดพลาด แต่ในบางครั้งชิ้นงานที่ผลิตขึ้นถูกนำไปใช้งานในทางที่ไม่สร้างสรรค์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง
      การ เกิดผลกระทบทางสังคมในเชิงจริยธรรมรูปแบบใหม่จากชิ้นงานที่สร้างขึ้น เช่น การสร้างโปรแกรมฐานข้อมูลตรวจสอบการมาเรียนของนักเรียนการมาทำงานพนักงาน บริษัท พบว่านักเรียนและพนักงานบริษัทมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยฝากบัตรมากับเพื่อนนักเรียน เพื่อนพนักงานเพื่อลงเวลาการมาเรียนหรือมาทำงาน สิ่งเหล่านี้ได้สร้างช่องทางพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาถึงความน่า เชื่อถือของซอฟต์แวร์ การประมวลที่ผิดพลาด ไม่ตรงกับความจริง และก่อให้เกิดความล้มเหลวของชิ้นงานที่ผลิตขึ้นได้ หรือผลกระทบในรูปอาชญากรรม การใช้ความสามารถของโปรแกมเทลเน็ต
     
      ก่อ ให้เกิดความเครียดในสังคมมากขึ้น เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรแบบใดมักจะชอบทำอย่างนั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลง บุคคลที่รับต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงเกิดความวิตกกังกล จนกลายเป็นความเครียด กลัวว่า คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้ คนตกงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาทดแทนมนุษย์  ก่อ ให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลกทำให้ พฤติกรรมที่แสดงออก ด้านการแต่งกาย และการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป การมอมเมาเยาวชน ในรูปของเกมส์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ ก่อ ให้เกิดผลด้านศีลธรรม การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในระบบเครือข่ายมีผลก่อให้เกิดโลกไร้พรมแดน แต่เมื่อพิจารณาศีลธรรมของแต่ละประเทศพบว่ามีความแตกต่างกัน ประเทศต่างๆ ผู้คนอยู่ร่วมกันได้ด้วยจารีตประเพณี และศีลธรรมดีงามของประเทศนั้นๆ การแพร่ภาพหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีไปยังประเทศต่างๆ มีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในประเทศนั้นๆ ที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน การ มีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการสื่อสาร และการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทาง สังคมที่มีการพบปะสังสรรค์กันจะมีน้อยลง ผู้คนมักอยู่แต่ที่บ้านหรือที่ทำงานของตนเองมากขึ้น การ ละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยการเผยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่ สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วน บุคคล เช่นนี้ต้องมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง เกิด ช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีอยู่จำนวนมากกลับไม่มี โอกาสใช้ และผู้ที่ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรม บนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมย ข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลและไวรัส ก่อ ให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีผลเสียต่อสายตาซึ่งทำให้สายตา ผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศรีษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท

  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

           กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความ คุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้วทุกงาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์ หรือดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้น เป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์
             ทำซ้ำหรือดัดแปลง
             เผยแพร่ต่อสาธารณชน
             ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
(1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(7) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(8) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
(9) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน

บทกำหนดโทษ
          ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
       ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท ถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
        พรบ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการกำหนดให้ผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลเทียบเท่ากับข้อมูลในรูปแบบกระดาษ (Functional –equivalent Approach) ความเป็นกลางทางเทคโนโลยีหรือความเป็นกลางของสื่อ (Technology Neutrality/Media Neutrality) รวมไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา (Party Autonomy) โดยพรบ.ฉบับนี้จะเข้ามามีผลในการบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มี อยู่แล้ว มิได้เข้ามาแทนที่การบังคับใช้กฎหมายฉบับอื่น
ประเด็นที่สำคัญ
    - ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลผูกพันและบังคับใช้ทางกฏหมาย (มาตรา 7)

-
การเก็บรักษาเอกสาร ต้นฉบับต้องมีวิธีการที่
สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่ เปลี่ยนแปลง มีความครบถ้วน และสามารถนำมาอ้างอิงในภายหลังได้ (มาตรา 8,12)

- การ รับรองลายมือชื่อ จะต้องใช้วิธีการที่มีความเชื่อถือได้ โดยสามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อ นั้นยอมรับว่าเป็นของตน (มาตรา 9)

-
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35)

 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
                    เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและ การดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิด พลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมี ลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว
ลักษณะความผิด
1. การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์
                        - การเข้าถึงระบบ (มาตรา 5)
                        - การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ (มาตรา 6)
                        - การรบกวนระบบ (มาตรา 10)    
2. การกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
                        - การเข้าถึงข้อมูล (มาตรา 7)
                        - การดักข้อมูล (มาตรา 8)
                        - การรบกวนข้อมูล (มาตรา 9)
                        - สแปมเมล์ (มาตรา 11)
                        - การนำเข้า/เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 14)
                        - การเผยแพร่ภาพตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท (มาตรา 16)
ลักษณะความผิด (ต่อ)
3. การกระทำผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)
4. การใช้ชุดคำสั่งกระทำความผิด (มาตรา 13)
5. การกระทำความผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 15, มาตรา 26)
6. การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มี      มาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ   และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
โทษ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน
       หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ
มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ
            คอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
            ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ
            ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน
       สองหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ 

การกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง

มาตรา 12 กำหนดว่าถ้าเป็นการกระทำความผิดที่เป็นการ รบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 9 หรือ เป็นการรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 10
                   (1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่
โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสอบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
                    (2) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ
โทษ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตังแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
                        ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
การใช้ชุดคำสั่งในทางมิชอบ
มาตรา 13 ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้น
               โดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการ
                กระทำความผิดตามมาตรา 5   มาตรา 6
                มาตรา 7  มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10
                หรือ มาตรา 11
โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน
       สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ให้บริการก็มีความผิดได้

มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี
                การกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบ
                คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน
โทษ  ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14
มาตรา 26

 - ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ ไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน

โทษ  ผู้ให้บริการที่ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

ข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้บริการ
  อย่าบอก password ตนเองแก่บุคคลอื่น

     อย่านำ user ID และ password ของบุคคลอื่นมาใช้งานหรือเผยแพร่
     อย่าส่ง (send) หรือส่งต่อ (forward) ภาพ ข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
     อย่าให้บุคคลอื่นที่ไม่รู้จักมายืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์
     การติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายควรจะมีระบบป้องกันมิให้บุคคลอื่นแอบใช้งานโดยมิได้รับอนุญาต
ข้อแนะนำสำหรับผู้ให้บริการ
     จัดเก็บข้อมูลจราจรไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน
     ติดตามประกาศกระทรวงฯ เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ 
     ประเภทผู้ให้บริการ
     ชนิดของข้อมูลที่ต้องจัดเก็บ                                                                                       เวลาที่ต้องเริ่มเก็บ (เมื่อพ้น 30/180/360 วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
       เทียบเวลาประเทศไทยให้ตรงกับเครื่องให้บริการเวลา (Time Server)
      แหล่งที่มาhttp://siwaporn1.blogspot.com/2012/12/blog-post.html
   2.ผลกระทบของคอมพิวเตอร์ต่อมนุษย์
    

    ผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์ 

      ถ้าพูดถึงเรื่องผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์ ยุคที่เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับชีวิตมนุษย์มากขึ้น และการพัฒนาของคอมพิวเตอร์นั้น มีความรวดเร็วมาก และมีประสิทธิภาพเทียบเท่า หรือดีกว่าการทำงานของมนุษย์ ซึ่งเห็นได้ว่าในต่างประเทศใช้หุ่นยนต์มาทำงานแทนมนุษย์ ในอนาคตคาดว่ามนุษย์อาจตกงาน เพราะหุ่นยนต์ทำงานได้ดีกว่า ไม่มีเหนื่อย และไม่เสี่ยงอันตรายเหมือนกับการใช้มนุษย์ ถ้าแบ่งผลกระทบการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์ จะแบ่งได้ 2 อย่าง คือ ผลกระทบทางตรง ผลกระทบทางอ้อม

ผลกระทบทางตรง เริ่มในเรื่องอวัยวะของมนุษย์ สิ่งที่สำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ คือ ตา เมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ไปนานๆ หรือเพ่งจอมากๆจะทำให้รู้สึกว่าปวดตา อาจทำให้สายตามีปัญหา เช่น สายตาสั้น ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ หรือคนที่เล่นเกม ซึ่งเด็กนักเรียนนักศึกษาเล่นกันมาก บางครั้งการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ถ้าเล่นจนเกินขอบเขต เกินความพอดี อาจเป็นอย่างที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีนักศึกษาเล่นเกมจนช็อตตายคาร้านอินเตอร์เน็ต
การใช้คอมพิวเตอร์นานๆ เมื่อไหร่จะพักสายตา ตรงนี้อาจจะสังเกตจากตาของเราว่าเมื่อใช้ไปนานๆ จะเริ่มปวดตาควรจะหยุด โดยละสายตามองทางอื่น หรือลุกขึ้นไปเพื่อผ่อนคลายก่อน แล้วจึงลงมานั่งทำงานต่อ อย่าฝืนมากเกินไปอาจจะเป็นผลเสียกับตัวเอง อาจจะมองเห็นเป็นภาพเบลอๆ แต่เป็นอาการชั้วคราว สาเหตุก็เกิดจากรังสีออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ อาการที่เกิดขึ้นจากการมองจอภาพเป็นเวลานานๆ นี้เรียกว่า Computer Vision Syndrome (CVS)
การเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของสุขภาพ (Health Risks) รศ.นพ.กำจรตติยกวี ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศทางการแพทย์เพื่อประชาชนจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวว่าอาการที่เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าเครื่องนานๆ ทางการแพทย์เรียกว่า Repetitive Strain Injury หรือ RSI อาการนี้จะเกิดขึ้นจากการที่คนเรานั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น เอามือวางไว้บนคีย์บอร์ด สาเหตุที่ทำให้เกิด RSI นั้น ปกติเราจะวางมือแบบธรรมดา มือของคนเราจะอยู่ในระดับเส้นตรงขนานกับพื้น
สรุปได้ว่า RSI นั้น สามารถเกิดได้ทุกส่วนของรางกาย ตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่และสายตา หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็น แม้ปัจจุบันมีบริษัทที่ได้พยายามผลิตเครื่องป้องกันอันตรายจากคอมพิวเตอร์ผลต่อร่างกาย
เช่น ทำให้เมาส์มีขนานเหมาะมือ ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป นอกจากนี้ยังมีการคิดค้นเพื่อสร้างโต๊ะวางคอมพิวเตอร์และเก้าอี้นั่งพิมพ์ให้เหมาะสมกับร่างกาย
ในเมืองไทยยังไม่มีใครเป็น RSI และเกิดอาการเส้นเอ็นอักเสบจนถึงขั้น ต้องผ่าตัด แต่การผ่าตัดเส้นเอ็นที่พบส่วนใหญ่จะเกิดจากเรื่องของการเล่นกีฬามากกว่า สำหรับ RSI ที่เกิดในประเทศไทยยังไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่
ในอเมริกาอาการของโรค RSI เป็นอันดับหนึ่งในส่วนของโรคที่เกิดจากการทำงาน มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 300,000 คน อัตราการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 20% พนักงานต้องขาดงานโดยเฉลี่ย 30 วันทำงานต่อปี
แม้ขณะนี้ RSI จะยังไม่ใช่ปัญหาของสังคมไทยในอนาคตคาดว่าคนไทยจะมีเปอร์เซ็นต์จากอาการเจ็บป่วย เมื่อใช้คอมพิวเตอร์นานๆ มากขึ้นเพระมีการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นนั้นเองเครดิต-http://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/id/182/
   แหล่งที่มา.https://sites.google.com/site/lifezgaming/phlk-ra-thb-khxng-kar-chi-khxmphiwtexr-kab-mnusy
   -ผลกระทบทางด้านธุรกิจการค้า
   
ผลกระทบทางด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม

ทางด้านธุรกิจจะได้รับผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ก่อนด้านอื่น เพราะว่าทางธุรกิจต้องมีการแข่งขันกันมาก ความคล่องตัวในการตัดสินใจ ความคล่องตัวในการลงทุน ความพยายามลดค่าใช้จ่าย สิ่งเหล่านี้ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้ามามีอิทธิพลในวงการธุรกิจเร็วกว่าด้านอื่น แต่ในระยะแรกประสบปัญหาหลายประการ เช่น การต่อต้าน การไม่สามารถปรับระบบงานเดิมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมกับงาน ปัญหาเหล่านี้จะสร้างผลกระทบที่สำคัญต่องานต่างๆ ในวงธุรกิจโดยย่อ ดังนี้

งานด้านธุรการและสารบรรณ

งานด้านธุรการและสารบรรณ ประกอบด้วยงานเขียนข้อความประมาณร้อยละ ๑๕-๒๐ งานจัดแฟ้มเอกสารร้อยละ ๑๕-๒๐ งานค้นหาเอกสารร้อยละ ๑๕-๒๐ งานพิมพ์ดีดประมาณร้อยละ ๑๕-๒๐ สิ่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะสามารถเข้ามาช่วยงานได้มาก บุคคลซึ่งเคยทำงานนี้อยู่แต่เดิม จะรู้สึกไม่ยอม จะต่อต้านเครื่องมือใหม่ วิธีการใหม่ และไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ กลัวที่จะทำงานดังกล่าวไม่ได้ ยิ่งมีเครื่องมือทันสมัยเพียงไร ก็จะมีการต่อต้านมากขึ้นเพียงนั้น แม้ว่าเครื่องมือจะอำนวยความสะดวกให้มากมายเพียงใดก็ตาม
การตรวจแฟ้มประวัติพนักงานด้วยวิธีทำงานในรูปแบบเดิม มิได้อาศัยคอมพิวเตอร์
การตรวจแฟ้มประวัติพนักงานด้วยวิธีทำงานในรูปแบบเดิม มิได้อาศัยคอมพิวเตอร์
งานด้านการตรวจสอบภายใน

จะมีผลกระทบค่อนข้างมากในด้านการตรวจสอบบัญชี การตรวจสอบด้วยเครื่องมือคอมพิวเตอร์ จะประหยัดแรงงาน เวลา และกระดาษพิมพ์ เจ้าหน้าที่ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานจากการอ่านสมุดบัญชี มาเป็นการรู้จักใช้เครื่อง และชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ในการตรวจสอบ

งานด้านการทำบัญชี

งานทางด้านบัญชี ซึ่งเคยต้องลอกตัวเลขจากบัญชีประเภทหนึ่ง มากรอกลงบัญชีอีกประเภทหนึ่ง รวมทั้งงานที่จะต้องแยกประเภทบัญชี การคิดบัญชีต้นทุน การทำสรุป รายงาน งานเหล่านี้แทบว่าจะหมดไป ถ้าหน่วยงานนั้น ได้มีการวางระบบการดำเนินการการใช้คอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสม นักบัญชีแบบเดิมจะต้องเปลี่ยนเป็นนักบัญชี ที่มีหน้าที่ควบคุมตัวเลข ควบคุมระเบียบการเบิกจ่ายเงินเป็นขั้น เป็นตอน ควบคุมการกระทบยอดบัญชี และควบคุมนโยบายด้านการเงิน เป็นต้น

งานด้านการย้ายเงินเข้าบัญชี

การย้ายเงินเข้าบัญชีจากบริษัทหนึ่งไปเข้าบัญชีของอีกบริษัทหนึ่ง จากบัญชีธนาคารหนึ่งไปเข้าบัญชีอีกธนาคารหนึ่ง หรือบัญชีของธนาคาร ไปเข้าบัญชีของบริษัท หรือบัญชีของบริษัทไปเข้าบัญชีของธนาคาร เหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเข้ามามีส่วนช่วยในการดำเนินการ โดยที่มนุษย์ไม่ได้เห็นตัวเงินเลย เห็นแต่ตัวเลข ผู้ที่ทำหน้าที่เหล่านี้ ซึ่งเคยจะต้องตรวจสอบลายมือ ลายเซ็น ตรวจสอบบัญชี ก็ไม่ต้องทำเอง ให้คอมพิวเตอร์ทำแทน วิธีนี้จะลดเวลาในการดำเนินงาน ลดปริมาณกระดาษที่ใช้ แต่ผู้ที่ปฏิบัติงานเดิมจะลดความสำคัญของตนเองลง
การย้ายเงินเข้าบัญชีจากธนาคารหนึ่งไปยังอีกธนาคารหนึ่ง
การย้ายเงินเข้าบัญชีจากธนาคารหนึ่งไปยังอีกธนาคารหนึ่ง
งานด้านการคำนวณภาษี

ในการคำนวณภาษี เพื่อการหักภาษีในการจ่ายเงินเดือน การหักภาษีในการซื้อหรือขายสินค้า คอมพิวเตอร์จะสามารถช่วยงานได้ทั้งหมด เจ้าหน้าที่จึงทำงานในลักษณะควบคุมระบบ ติดตามการเสียภาษี ทำรายงาน และรายการการเสียภาษีเท่านั้น

งานด้านการผลิตสินค้า

ในการผลิตสินค้า และอุปกรณ์ของวงการธุรกิจ มีการนำผลการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ในรูปต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไมโครโปรเซสเซอร์ เข้ามาช่วยควบคุมอุปกรณ์ที่ทำงานในโรงงานมากขึ้นทุกที นอกจากนี้ ยังใช้ควบคุมการใช้ไฟฟ้า น้ำมัน เพื่อให้ดำเนินการได้อย่างประหยัดที่สุด เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานมากขึ้น แรงงานใช้น้อยลง อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับแรงงานมากขึ้น ในขณะเดียวกันผลกำไรขาดทุน คุณภาพในการผลิต ความสะดวกในการควบคุม และการบริหารของวงการธุรกิจนั้นๆ ยังทำให้จำเป็นต้องใช้เครื่องทำงานอัตโนมัติอยู่
การใช้คอมพิวเตอร์ในธุรกิจการซื้อขายหุ้น
การใช้คอมพิวเตอร์ในธุรกิจการซื้อขายหุ้น
งานด้านการขาย

ด้านการขาย จะมีการวิเคราะห์การขาย ในรูปแบบต่างๆ กัน ทำให้รู้สภาพและสถานะของการขาย เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายจะต้องติดตามงาน และรายงานผลมากขึ้น และในเวลาเดียวกัน ผู้จัดการฝ่ายขายสามารถใช้คอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ประสิทธิภาพ การดำเนินงาน ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายทุกคนได้ด้วย ดังนี้ จะมีผลดีต่อทางบริษัท แต่เวลาเดียวกัน ผู้ทำหน้าที่เป็นคนขายจะรู้สึกไม่สบายใจ เพราะถูกหัวหน้าคอยติดตามอยู่ตลอดเวลา ทำให้คนขายต้องหาทางปรับปรุงตัวเอง หาทางศึกษา และเปลี่ยนวิธีการของตนเองอยู่เสมอ จะต้องใช้เวลานานพอสมควร กว่าผู้ที่ทำหน้าที่ด้านขาย จะเข้าใจในปัญหาเหล่านี้
งานด้านผู้บริหาร

ผู้บริหารระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไป จำเป็นต้องใช้วิธีการตัดสินใจ โดยพึ่งข้อมูลมากขึ้น ในระบบเดิม อาจจะพิจารณาเพียงรายงานคร่าวๆ แต่เมื่อมีคอมพิวเตอร์มาใช้รายงานจะต้องมีตัวเลขประกอบการพิจารณาในรูปแบบต่างๆ กันมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อใช้ตอบคำถามแก่ผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป หรือตอบคำถามแก่กรรมการบริหาร ในการทำงานตามระบบเดิม อาจจะอ้างได้ว่า ยังหาตัวเลขไม่ได้ หรือหาตัวเลขไม่ทัน แต่เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้ ข้ออ้างเหล่านั้นจะใช้ไม่ได้ การนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ทำให้การบริหารงานเปลี่ยนไปในลักษณะที่จะต้องเน้นที่ประสิทธิภาพการหารายได้ และค่าใช้จ่ายที่เสียไปมากขึ้น
การนำจานแม่เหล็กบันทึกข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
การนำจานแม่เหล็กบันทึกข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
ผลกระทบทางด้านธุรกิจนี้ จะทำให้เกิดความจำเป็น ธุรกิจต่างๆ ต้องวางเป้าหมาย และทุกฝ่ายจะต้องหาทางทำงานให้ได้ตามเป้าหมาย โดยมีข้อมูลเป็นตัวประกอบการพิจารณาตลอดเวลา ทุกฝ่ายต้องวางแผนมากขึ้น แท้ที่จริงแล้วในระบบเดิมที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินการแบบนี้ แต่ว่า การประเมินผลทำได้ช้า หรือทำไม่ค่อยได้ด้วยวิธีการธรรมดา คนส่วนใหญ่จึงเห็นว่า ไม่จำเป็น หรือหากทำ ก็ได้ข้อมูลไม่ถูกต้อง จึงละเลยการกระทำเหล่านี้ไป แต่เมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน
ส่วนที่มีผลกระทบที่สำคัญ คือ คนทำงาน หรือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เดิมจะรู้สึกว่า ตนเองมีความสำคัญน้อยลง เพราะมีงานน้อยลง หรือไม่มีงานทำเลย ทำให้เกิดความกลัวที่จะถูกไล่ออกตามมา สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นความจริงนัก ถ้าผู้บริหารเข้าใจวิธีการแล้ว จะเห็นว่า คนที่มีความเข้าใจงานเดิมเหล่านี้ จะมีประโยชน์ต่องานทางคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง เพราะแท้ที่จริงแล้ว ในระบบคอมพิวเตอร์ ยังต้องการผู้รู้งานเดิมช่วยงานอยู่เป็นอันมาก เช่น พนักงานพิมพ์ดีดจะสามารถช่วยในการตัดสินใจที่จะออกจดหมาย หรือตอบจดหมาย โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ไม่ต้องมีคนมาบอกให้ทำ และยังสามารถทำได้ด้วยความถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาด หรือมีข้อบกพร่องเลย กลับทำให้ดูคล้ายๆ กับว่า เป็นพนักงานพิมพ์ดีดที่มีความสามารถสูง คนที่เคยทำหน้าที่ลงบัญชี โดยการเขียน ก็สามารถเปลี่ยนเป็นคนนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ และเวลาเดียวกันจะสามารถให้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบว่า ควรจะมีข้อผิดพลาดประการใดได้บ้าง ซึ่งจะสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที สิ่งเหล่านี้ ทำให้ทำงานได้ โดยไม่มีข้อผิดพลาด ใช้แรงงานน้อยลง จึงมองดูคล้ายกับว่า ตนเองเป็นนักลงบัญชีที่มีความสามารถ ดังนั้นพอจะสรุปได้ว่า การดำเนินการของงานด้านธุรกิจ จะได้รับผลกระทบ ให้คนต้องทำงานในลักษณะ ที่คอยควบคุมการดำเนิน การควบคุมการเคลื่อนที่ของข้อมูล ควบคุมการนำตัวเลขเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ควบคุมการประเมินผล ควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล และสถานที่ จะต้องใช้สมองในการคิด และตัดสินใจมากขึ้น เมื่อเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ กัน สามารถตัดสินใจ ในเรื่องที่แต่ละคนรับผิดชอบได้ดีขึ้น ผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องกระจายอำนาจ และไม่สามารถกระทำงานได้ด้วยคนเดียวอีกต่อไป ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันคือ จะมีอาชญากรแบบใหม่ที่จะใช้ช่องโหว่ ของการเปลี่ยนแปลงระบบเหล่านี้ ก่ออาชญากรรมที่ลึกซึ้ง ตรวจสอบจับตัวคนผิดได้ยาก จึงต้องสร้างระบบการรักษาความปลอดภัย ที่เข้มแข็งขึ้น ตามขั้นตอน ของการดำเนินการต่างๆ เป็นสาเหตุให้ต้องเพิ่มแรงงานด้านการบริการ ในลักษณะการรักษาความปลอดภัย ประเภทต่างๆ ขึ้นตามมาอีกด้วยแหล่งที่มา.http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=11&chap=8&page=t11-8-infodetail05.htmlจอคอมพิวเตอร์แสดงราคาหุ้น
จอคอมพิวเตอร์แสดงราคาหุ้น
-ผลกระทบทางด้านความบันเทิง
 ผลกระทบในทางบวก  

     หากย้อนยุคไปในอดีตตั้งแต่ครั้งการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขึ้นเมื่อปลายสงคราม โลกครั้งที่สอง คอมพิวเตอร์ในยุคแรกเน้นการออกแบบเพื่อเป็นเครื่องจักรช่วยคำนวณ เพื่อให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนทำได้ง่ายและรวดเร็ว ขึ้น คอมพิวเตอร์เครื่องแรกๆ ของโลกส่วนใหญ่สร้างในมหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณทำให้เกิดการค้นคว้าวิชาการเช่น การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การแก้สมการหลายชั้นที่มีตัวแปรจำนวนมาก การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการคำนวณทางสถิติ ช่วยทำให้การสำรวจสำมะโนประชากรทำได้เร็วขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณทำให้เกิดการพัฒนาซอฟต์แวร์ตัวแปลภาษาที่ เน้นการคำนวณเป็นหลัก เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาเบสิก การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณยังคงดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะงานคำนวณในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น การคำนวณมวลของอากาศที่เคลื่อนไหวบนผิวโลกทำให้เกิดการพยากรณ์อากาศล่วงหน้า ได้

     ในช่วงหลังจากปี พ.ศ. 2500 การดำเนินงานในวงการธุรกิจต้องการใช้เครื่องจักรช่วยมากขึ้น บริษัทไอบีเอ็มเป็นบริษัทหนึ่งที่สร้างคอมพิวเตอร์เพื่อนำออกมาจำหน่ายให้ กับหน่วยงานทางธุรกิจ คอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงเปลี่ยนมาเน้นในเรื่องการประมวลผลข้อมูล(data processing) การประมวลผลข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาทำให้เป็นสารสนเทศ มีการพัฒนาตัวแปลภาษาที่เหมาะสมกับงานประมวลผลข้อมูล ได้แก่ภาษาโคบอล ซึ่งจัดเป็นภาษาที่เหมาะกับการประยุกต์ใช้งานการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจและ ยังคงนิยมต่อมา 
     ยุคของการประมวลผลข้อมูลนี้ทำให้ธุรกิจใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น งานทางด้านธุรกิจส่วนใหญ่มุ่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลข้อมูลที่มี จำนวนมาก เช่น ช่วยคำนวณสถิติข้อมูลของบริษัท ข้อมูลบัญชี ข้อมูลสินค้าคงคลัง และวัตถุดิบ การติดตามและการเรียกเก็บหนี้สินต่างๆ คอมพิวเตอร์ยังมีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในวงการธุรกิจ 
     หลังจากที่บริษัทอินเทลได้สร้างไมโครโพรเซสเซอร์สำเร็จในปี พ.ศ. 2518 การใช้งานคอมพิวเตอร์ก็เข้ามามีบทบาทในธุรกิจขนาดเล็ก และในที่สุดก็มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ยุคของการประมวลผลก็ก้าวมาสู่ยุคงานสารสนเทศ มีการพิจารณาระบบข้อมูลในรูปแบบการใช้งานที่กว้างกว่าเดิม มีระบบการประมวลผลแบบเชื่อมตรงเรียกค้นข้อมูลแบบปฏิสัมพันธ์ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์พบว่าสารสนเทศที่ได้จากการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณ แยกแยะ จัดการกับข้อมูลมีประโยชน์อย่างยิ่งในเรื่องการวางแผน การจัดการ การควบคุมงานในหน่วยงานของตน ทำให้ผู้บริหารได้ประโยชน์จากการใช้ข้อมูลในการวางแผนแข่งขันกับหน่วยงาน อื่นได้ การพัฒนาระบบสารสนเทศจึงแพร่กระจายไปในองค์การเพื่อให้องค์การมีระบบการ จัดการที่ใช้ข้อมูลอย่างเต็มที่ 
     พ.ศ. 2530 พบว่าระบบสารสนเทศมีประโยชน์มาก แต่มีจุดอ่อนบางประการ เช่น สารสนเทศทั้งหลายที่ได้มาจากข้อมูลนั้น ยังไม่อาจช่วยผู้บริหารตัดสินใจได้โดยตรง จึงเกิดความต้องการให้ได้ระบบที่ช่วยเสริมการทำงานของผู้บริหาร ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร โดยมีลักษณะการรวบรวม การวิเคราะห์ การประมวลผล และนำไปใช้ ซึ่งเรียกว่าการประมวลผลความรอบรู้ ( knowledge processing ) 
     อย่างไรก็ดี แม้จะมีการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์ช่วยงานต่างๆ ได้มากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังต้องพัฒนาให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้นอีก พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ช่วยให้การทำงานของมนุษย์ดีขึ้น ทำให้มนุษย์สามารถนำความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ มารวมไว้เป็นหมวดหมู่ พัฒนาการเหล่านี้ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมอย่างมากมาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมในทางบวกหรือทางที่ดีนั้นมีดังนี้
     1) ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มนุษย์รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยกับงานที่มีอันตราย มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ทำให้ติดต่อถึงกันได้สะดวก มีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็ว สามารถติดต่อสื่อสารได้ในขณะเดินทางไปยังที่ต่างๆ โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
     2) ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น ระบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันเป็นระบบที่ต้องการผลิตสินค้าจำนวนมาก มีคุณภาพมาตรฐาน การผลิตในสมัยปัจจุบันใช้เครื่องจักรทำงานอย่างอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง สินค้าที่ได้มีคุณภาพดีและปริมาณพอเพียงกับความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันมีความพยายามที่จะสร้างหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีผลต่อการผลิตมาก
     3) ช่วยส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยให้มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยให้งานค้นคว้าวิจัยมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์ช่วยงานคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งแต่ก่อนยากที่จะทำได้ เช่นงานสำรวจทางด้านอวกาศ งานพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์และสารเคมีต่างๆ ทำให้ได้สูตรยารักษาโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ปัจจุบันงานค้นคว้าวิจัยทุกแขนงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณ ต่างๆ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ในการจำลองรูปแบบของสิ่งที่มองไม่เห็นตัว ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก สามารถค้นหารายงานวิจัยที่มีผู้เคยทำไว้แล้วและที่เก็บไว้ในห้องสมุดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยด้านต่างๆ มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่อย่างมาก
     4) ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้กิจการทางด้านการ แพทย์เจริญก้าวหน้าขึ้นอีกมาก ปัจจุบันเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ล้วนแล้วแต่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใน การดำเนินการ ช่วยในการแปลผล เรามีเครื่องมือตรวจหัวใจที่ทันสมัย มีเครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถตรวจดูอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้อย่างละเอียด มีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจค้นหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่ทันสมัย หรือแม้แต่การผ่าตัดก็มีเครื่องมือช่วยในการผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยมาก ยิ่งขึ้น มีเครื่องมือที่วัดและตรวจสอบสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างละเอียด ระบบการรักษาพยาบาลจากที่ห่างไกล เช่น คนไข้อยู่ที่จังหวัดชายแดนและขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง แพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถส่งคำถามมาปรึกษาหารือกับแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะได้ มีการรวบรวมความรู้ของแพทย์ผู้ชำนาญการจัดสร้างเป็นฐานความรอบรู้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเครื่องมือช่วยคนพิการต่างๆ เช่น การสร้างแขนเทียม ขาเทียม การสร้างเครื่องกระตุ้นหัวใจ สร้างเครื่องช่วยฟังเสียง หรือมีการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญต่างๆ รวมทั้งการผลิตยา และวัคซีนสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้าช่วยด้วย
     5) ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นที่ทำให้การทำงานต่างๆ รวดเร็ว มีความแม่นยำ และสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ได้มาก การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนบางอย่างกระทำได้ดี และรวดเร็ว งานบางอย่างถ้าให้มนุษย์ทำอาจต้องเสียเวลาในการคิดคำนวณตลอดชีวิต แต่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเสร็จในเวลาไม่กี่วินาที ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาจำลองเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อให้มนุษย์หาทางศึกษาหรือแก้ไขปัญหา เช่นการจำลองสภาวะของสิ่งแวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะ การจำลองการไหลของของเหลว การควบคุมระบบจราจร หรือแม้แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาจำลองในสภาพที่เหมือนจริง เช่น จำลองการเดินเรือ จำลองการขับเครื่องบิน การขับรถยนต์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เหมือนจริงได้ หากมีการผิดพลาดก็ไม่ทำให้เกิดอันตราย คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนรู้ของมนุษย์ได้ดี ปัจจุบันมีการนำบทเรียนมาไว้ในคอมพิวเตอร์ และให้เรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Assisted Instruction : CAI) คอมพิวเตอร์ยังเป็นเครื่องมือที่ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาสมัยใหม่ เชื่อมโยงติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ต สามารถเรียกค้นข้อมูลข่าวสารผ่านทางเครือข่าย สามารถเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์หรือเรียนจากที่ห่างไกลได้ คอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่ทำให้มนุษย์ได้รับข่าวสารมากขึ้นกว่าเดิม และเป็นหนทางที่ทำให้เกิดสติปัญญาอย่างแท้จริง
     6) เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง การใช้เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรม กิจการค้าขาย ธุรกิจต่างๆ กิจการทางด้านธนาคาร ช่วยส่งเสริมงานทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้กระแสเงินหมุนเวียนได้อย่างกว้างขวาง ผู้ผลิตในสายอุตสาหกรรมจะผลิตสินค้าได้มาก ลดต้นทุน ธุรกิจอาศัยการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน เกิดระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า อีดีไอ (Electronic Data Interchang : EDI)
     7) ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ช่วยย่อโลกให้เล็กลง สังคมโลกมีสภาพไร้พรมแดน มีการเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกันมากขึ้น เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ดี ทำให้ลดปัญหาในเรื่องความขัดแย้ง
     8) ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกครั้ง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกระจายข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของระบบประชาธิปไตย แม้แต่การเลือกตั้งก็มีการใช้คอมพิวเตอร์รวมผลคะแนน ใช้สื่อโทรทัศน์ วิทยุแจ้งผลการนับคะแนนที่ทำให้ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว
แหล่งที่มา.http://www.thaigoodview.com/node/40405
 ผลกระทบในทางลบ  
 
     นับตั้งแต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวัน การใช้เทคโนโลยีเป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีไปในด้านต่างๆ ซึ่งแน่นอนที่ทุกสิ่งย่อมมีทั้งคุณและโทษ ภาพยนตร์หลายเรื่องได้สะท้อนความคิดของการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในทาง ลบ ผลกระทบในทางลบเหล่านี้บางอย่างเป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้นอาจไม่ได้เกิด ขึ้นจริง แต่อย่างไรก็ตามย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้

     ผลกระทบในทางลบของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้
     1) ทำให้เกิดอาชญากรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหนทางในการก่ออาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนปล้น วางแผนโจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลขบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น การแก้ไขระดับคะแนนของนักศึกษา การแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตกรรมดังที่เห็นในภาพยนตร์
     2) ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมมีลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่า มนุษยสัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพากันมาก อย่างไรก็ดีได้มีงานวิจัยคัดค้านและแสดงความคิดเห็นที่ว่าเทคโนโลยีได้ช่วย ให้มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารถึงกันมากขึ้นและความสัมพันธ์ดีขึ้น
     3) ทำให้เกิดความวิตกกังวล ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวล ว่า คอมพิวเตอร์อาจทำให้เกิดการว่าจ้างงานน้อยลง มีการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้ในงานมากขึ้น มีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานอาจตกงาน หรือหน่วยงานอาจเลิกว่าจ้างได้ โดยความจริงแล้วความคิดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับบุคลากรบางกลุ่มเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลนั้นมีการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี หรือมีการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น
     4) ทำให้เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า ข้อมูลสินค้าและบริการต่างๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูล อันเนื่องมาจากเหตุอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้ข้อมูลหายหมด ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง
     5) ทำให้มีการพัฒนาอาวุธที่มีอำนาจทำลายสูง ประเทศที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสงครามและมีการสูญเสียมากขึ้น
     6) ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องสำคัญ ดังเช่นการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าวสารใน เรื่องภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาพอนาจาร หรือภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย การดำเนินการเช่นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้ดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงระบบจดหมาย เพื่อส่งจดหมายถึงผู้อื่นโดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จ จริยธรรมการใช้งานเครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปลูกฝังอย่างมาก
     7) ทำให้ข้อมูลหรือโปรแกรมถูกทำลายได้ง่าย ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนามาก ข้อมูลก็มีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วย เทคโนโลยีทำให้ข้อมูลถูกทำลายได้ง่าย อาจจะถูกทำลายด้วยไวรัสคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง ที่สามารถทำสำเนาตัวเองเข้าไปอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ สามารถแพร่ไปยังระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์บางชนิดทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลต่างๆ บางชนิดทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง ผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ และจุดประสงค์ของผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น ว่าต้องการให้โปรแกรมทำงานอย่างไร ทั้งนี้เราก็ควรจะปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสำนึกที่ดี ไม่ให้ทำลายข้อมูลผู้อื่น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ 
  แหล่งที่มา.http://www.thaigoodview.com/node/40406
-ผลกระทบทางด้านการศึกษา

ผลกระทบทางด้านการศึกษา

ระบบการศึกษาเป็นระบบแรกที่สร้างเทคโนโลยีในด้านคอมพิวเตอร์ขึ้น และเป็นสิ่งชักนำให้ส่งผลกระทบไปในงานด้านอื่นๆ อีกจำนวนมาก ในปัจจุบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอน เนื่องจาก การศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในระยะยาว การใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอน มีแนวโน้มที่จะขยายตัวไปถึงระดับมัธยม และประถมด้วย การใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษานี้ จะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างกว้างขวางรวดเร็ว ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจในเรื่องราวที่ศึกษาได้ดีขึ้น และยังช่วยให้ผู้สอนสามารถใช้เวลาในการวางแผน และพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในการศึกษาได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้สอนยังอาจใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสอน ที่จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงวิธีการสอน ให้เหมาะสมกับสภาวะของผู้เรียนได้อีกด้วย
การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย
การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ในภาพคือ อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกลง และมีผู้สร้างบทเรียน สำหรับใช้สอน โดยคอมพิวเตอร์มากขึ้น ในระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ผู้เรียนจะเรียน โดยใช้แป้นตัวอักษร และจอโทรทัศน์ ที่เชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้มีผู้เตรียมบทเรียนต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงภาพและข้อความบนจอโทรทัศน์ ข้อความนั้นอาจจะเป็นคำแนะนำ เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติ คำอธิบาย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ หรือเป็นคำถาม เพื่อให้ผู้เรียนตอบ เครื่องคอมพิวเตอร์จะบันทึกผลการเรียนของผู้เรียนว่า ได้เข้าใจในเรื่องต่างๆ ดีขึ้นประการใดบ้าง ผู้สอนสามารถจะติดตามผลการเรียนได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้การเรียนการสอนดีขึ้น ครูผู้สอนจำเป็นต้องหาทางปรับปรุงบทเรียนที่ใช้สอนของตนอยู่เสมอ ผู้เรียนจะต้องอ่านบทเรียนจากจอภาพ แทนการอ่านจากหน้ากระดาษ นอกจากนี้ ตำรา หรือบทเรียนจะเก็บในรูปของจานแม่เหล็ก หรือแถบวีดีทัศน์แทนหนังสือ ผู้เรียนสามารถหาอ่านได้ง่าย สมมุติว่า เราต้องการรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องต้นไม้ ถ้าเรื่องนี้มีเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์แล้ว คอมพิวเตอร์จะตรวจดูว่า มีเรื่องนี้ ณ ที่ใด และจะแสดงบนจอภาพให้เห็นได้ทันที ผู้เรียนทุ่นเวลาในการไปค้นหาได้มาก ผลกระทบเหล่านี้จะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป

ผลกระทบที่สำคัญทางด้านการศึกษาคือ การกลับมาอบรม และศึกษาใหม่ เนื่องจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว และกำลังทำงานอยู่ ต้องปรับปรุงตนให้เข้ากับระบบงานที่กำลังจะเริ่มใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องกลับเข้าอบรม และศึกษาใหม่ ถ้าการสอนเทคโนโลยีลึกซึ้งเกินไป ผู้เข้ารับการอบรมจะท้อแท้ และเกิดปฏิกิริยาต่อด้าน ไม่สามารถรับวิทยาการใหม่ได้ ผลก็คือ ประสิทธิภาพในการทำงานด้อยลง และอาจจะก่อปัญหาถึงระดับสูงได้โดยง่าย สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบกลับมายังวิธีการศึกษาว่า จะต้องหาทางพัฒนาวิธีการให้เข้าใจง่าย และเป็นที่ยอมรับได้ตั้งแต่แรก

ส่วนการเรียนการสอนโดยทั่วไป ยังมีลักษณะเหมือนเดิม คือ มีห้องเรียน มีครูสอน มีอุปกรณ์การสอนเช่นเดิม เช่น กระดานดำ เครื่องฉายสไลด์ สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนคือ การวางแผนบริหารระบบงานทางด้านการศึกษา ให้สะดวกต่อการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ แหล่งที่มา.http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=11&chap=8&page=t11-8-infodetail04.html
-ผลกระทบทางด้านการแพทย์

ผลกระทบด้านบวก
 เพิ่ม ความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความสะดวกสบาย เช่น การติดต่อผ่านธนาคารด้วยระบบธนาคารที่บ้าน (Home Banking) การทำงานที่บ้าน ติดต่อสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การบันเทิงพักผ่อนด้วยระบบมัลติมีเดีย เป็นต้น
 เป็น สังคมโลกแห่งการสื่อสารเกิดขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่ได้ ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง และที่เป็นเครือข่าย แบบไร้สาย ทำให้มนุษย์สามารถติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็ว
 มี ระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในฐานข้อมูลความรู้ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับ สาธารณสุขและการแพทย์ แพทย์ที่อยู่ในชนบทก็สามารถวินิจฉัยโรคจากฐานข้อมูลความรู้ของ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางการแพทย์ ในสถาบันการแพทย์ที่มีชื่อเสียงได้ทั่วโลก หรือใช้วิธีปรึกษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในระบบทางไกลได้ด้วย
 เทคโนโลยี สารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือคนพิการ ให้สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ได้ เพื่อให้คน พิการเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้พิการจึงไม่ถูกทอดทิ้งให้เป็นภาระของสังคม


รูปแสดงสื่อการเรียนรู้สำหรับคนพิการหรือผู้ด้อยโอกาส
 พัฒนา คุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการ เรียนรู้โดยใชคอมพิวเตอร์ ( Computer-Assisted Learning : CAL ) ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซากจำเจผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วย นอกจากนั้นยังมีบทบาท ต่อการนำมาใช้ในการสอนทางไกล (Distance Learning) เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาได้อีกด้วย
 การ ทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือช่วยลดเวลาในการทำงานให้น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น เช่น การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยคิดบัญชี การสร้างกราฟ แผนภูมิ ออกแบบงานลักษณะต่างๆ เป็นต้น
 ผู้ บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสินค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่และหลากหลายมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามต้องการ และช่องทางทางการค้าก็มีให้เลือกมากขึ้น เช่น การเลือกซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
แหล่งที่มา. https://sites.google.com/site/krunoptechno/phlk-ra-thb-khxng-thekh-noo/phlk-ra-thb-dan-bwk

ผลกระทบด้านลบ
 ก่อ ให้เกิดความเครียดในสังคมมากขึ้น เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรแบบใดมักจะชอบทำอย่างนั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลง บุคคลที่รับต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงเกิดความวิตกกังกล จนกลายเป็นความเครียด กลัวว่า คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้ คนตกงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาทดแทนมนุษย์
 ก่อ ให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลกทำให้ พฤติกรรมที่แสดงออก ด้านการแต่งกาย และการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป การมอมเมาเยาวชน ในรูปของเกมส์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชน เกิดการกลืนวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ
 ก่อ ให้เกิดผลด้านศีลธรรม การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในระบบเครือข่ายมีผลก่อให้เกิดโลกไร้พรมแดน แต่เมื่อพิจารณาศีลธรรมของแต่ละประเทศพบว่ามีความแตกต่างกัน ประเทศต่างๆ ผู้คนอยู่ร่วมกันได้ด้วยจารีตประเพณี และศีลธรรมดีงามของประเทศนั้นๆ การแพร่ภาพหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีไปยังประเทศต่างๆ มีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในประเทศนั้นๆ ที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน
 การ มีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการสื่อสาร และการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทาง สังคมที่มีการพบปะสังสรรค์กันจะมีน้อยลง ผู้คนมักอยู่แต่ที่บ้านหรือที่ทำงานของตนเองมากขึ้น
 การ ละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยการเผยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่ สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วน บุคคล เช่นนี้ต้องมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง
 เกิด ช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีอยู่จำนวนมากกลับไม่มี โอกาสใช้ และผู้ที่ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
 อาชญากรรม บนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมย ข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลและไวรัส
 ก่อ ให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีผลเสียต่อสายตาซึ่งทำให้สายตา ผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศรีษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท
แหล่งที่มา. https://sites.google.com/site/krunoptechno/phlk-ra-thb-khxng-thekh-noo/phlk-ra-thb-dan-lb
3.ปัจจัยสำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างชิ้นงาน

ปัจจัยสำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน



          จาก หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ผู้พัฒนาจะต้องวิเคราะห์ปัจจัยด้านข้อมูลและความสามารถของฮาร์ดแวร์หรือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างชิ้นงาน เพื่อให้เหมาะสมอยู่สภาพที่สามารถจัดหาและรองรับการสร้างชิ้นงานที่คิดค้น ขึ้น ดังนี้

        1.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์   ซึ่ง เป็นฮาร์ดแวร์หลักที่ใช้ในการทำงานเพื่อสร้างชิ้นงาน การสร้างชิ้นงานจึงต้องคำนึงถึงส่วนประกอบของอุปกรณ์ต่อพ่วงหรืออุปกรณ์ที่ เชื่อมต่อทั้งภายในและภายนอก

         1.1 การ์ดเสียง (Sound) เป็น อุปกรณ์ที่ใช้สนับสนุนในการสร้างชิ้นงานที่ต้องใช้เสียง เช่น การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอเกี่ยวกับเสียงหรือการแต่งเพลง งานโฆษณา งานนำเสนอภาพประกอบเพลง งานวีดีทัศน์ เกม เป็นต้น

         1.2 การ์ดจอ (VGA Card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สนับสนุนในการสร้างงานเกี่ยวกับภาพกราฟิก เช่น งานนำเสนอที่ใช้ภาพเคลื่อนไหว งานวีดีทัศน์ การสร้างแอนิเมชันทั้ง2มิติ และ 3 มิติการผลิตหนังสั้นซึ่งมีความจำเป็นในระดับหนึ่งของการผลิตผลงาน การ์ดจอจะทำให้การผลิตผลงานมีความรวดเร็วและงานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

         1.3 ไมโครโฟน (Microphone) เป็น อุปกรณ์นำเข้าที่เชื่อมต่อภายนอก มี่ความสำคัญต่อการสร้างชิ้นงานในกรณีที่งานนั้นต้องใช้การบันทึกเสียง เช่น การผลิตแอนิเมชัน การบันทึกบทสนทนาของตัวละคร บทบรรยายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

         1.4 ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลของเสียง ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่ต้องอัดผ่านคอมพิวเตอร์หรือเสียงดนตรี เสียงบรรยายต่างๆ

         1.5 เมาส์ปากกา (PenMouse)   เป็นอุปกรณ์หลักในการสร้างชื้นงานที่เกี่ยวกับงานกราฟิกประเภท 2 มิติ เช่น การสร้างหรือวาดรูปภาพประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การร่างภาพเพื่อผลิตแผ่นโปสเตอร์ ซึ่งจะทำให้สามารถร่างภาพ เขียนเส้น ระบายสีลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้สวยงาม สะดวกเหมือนกับการวาดลงในกระดาษจริง

        1.6 หน่วยความจำหลัก (RAM) การ เพิ่มหน่วยความจำหลักให้มีจำนวนมากเพียงพอต่อการรองรับการสร้างชิ้นงาน และเหมาะสมการรองรับของแผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้การประมวลผลทำได้รวดเร็วประหยัดเวลาในการทำงาน โดยเฉพาะการสร้างชิ้นงานที่ต้องใช้ความจำมากๆ เช่น การสร้างแอนิเมชัน 3 มิติ การสร้างชิ้นงานที่เป็นไฟล์วิดีโอ ภาพยนตร์ สิ่งเหล่านี้ต้องการหน่อยความจำในการประมวลผลเป็นอย่างยิ่ง

        1.7 เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็น อุปกรณ์ที่ใช้เพื่อสนองต่อชิ้นงานที่สร้างสรรค์เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น การสร้างโปสเตอร์เพื่อการรณรงค์ การออกแบบจุลสาร วารสารต่างๆ โดยใช้เพื่อตรวจสอบต้นฉบับส่งโรงพิมพ์ หรือาจจะใช้ในการสร้างชิ้นงานเลยก็ได้ หากการผลิตมีปริมาณไม่มากดังนั้นจึงต้องเลือกใช้เครื่องพิมพ์ให้เหมาะสมกับ ชนิดของงาน วัตถุประสงค์ของชิ้นงานและความประหยัดคุ้มค่าประกอบในการตัดสินใจ

      2. โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ เป็น องค์ประกอบที่สำคัญที่ต้องมีความสัมพันธ์กับชิ้นงานที่จะสร้างสรรค์ขึ้นและ สัมพันธ์กับอุปกรณ์เชื่อมต่อในคอมพิวเตอร์ โดยโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์มีทั้งซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จึงจะใช้บริการได้ เช่น Microsoft Office     Adobe Photoshop,Acrobat Reader และซอฟค์แวร์ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อมาใช้งานที่เรียกว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ (oss : Open  Source  Software)ฟรีแวร์(Freeware) และแชร์แวร์(Share ware) เช่น Dreamweaver,OpenOffice.org,Win FTP,e-leaming Solution,Digital Library,Google SketchUp เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์สารารถแบ่งตามลักษณะงานได้หลายประเภท ดังนี้

       2.1 การสร้างงานกราฟิก ใน การสร้างชิ้นงานที่ต้องมีการวาดร่างหรือตกแต่งตัดต่อรูปภาพหรือการขึ้นรูป ภาพต่างๆซึ่งโปรแกรมงานด้านกราฟิกที่ใช้ต้องคำนึกวัตถุประสงค์ของชิ้นงานที่ ออกแบบด้วยดังตัวอย่าง

      - อะโดบีโฟโตซ็อป (Adoba Photoshop) เป็น โปรแกรมกราฟิกประเภทบิตแมปใช้เพื่อการตัดต่อรูปภาพ การนำภาพถ่ายมาตกแต่งเป็นภาพใหม่ เหมาะสำหรับการสร้างชิ้นงานประเภทการออกแบบโปสเตอร์ การทำจุลสาร ปกหนังสือ เป็นต้น ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในอุตสาหกรรมโรงพิมพ์

       -  กิมป์ (Gimp) เป็นโปรแกรมกราฟิกประเภทบิตแมปเช่นเดี่ยวกับโปรแกรมอะบีโพโตซ็อปแต่โปรแกรมกิมป์ (Gimp) เป็นโปรแกรมที่เปิดโอกาสให้นำไปใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

        - อะโดบีอิลลัสเทรเตอร์ (Adode Illustator) เป็น โปรแกรมกราฟิกประเภทเวกเตอร์ที่สามารถสร้างงานกราฟิก การสร้างรูปร่าง ภาพจำลองต่างๆ และสร้างลวดลายเส้นที่แปลกสวยงาม เช่น การออกแบบปกหนังสือ ตกแต่งภาพ งานกราฟิกให้ได้องค์ประกอบที่สวยงาม เป็นต้น

          - อิงก์สแคป (Inkscap) เป็น โปรแกรมที่มีการทำงานคล้ายกับอะโดบีอิลลัสเทรเตอร์แต่โปรแกรมอิงก์สแคป เป็นโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

          - กูเกิลสเก็ตช์อัป (Google  SketchUp) เป็นโปรแกรมกราฟิกที่สามารถสร้างภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ที่สามารถสร้างรูปจำลอง(Model) เช่น ชิ้นงานออกแบบตกแต่งภายในงานออกแบบภายนอก ตลอดจนการสร้างฉากที่เป็นภาพนิ่ง หรือแม้แต่การสร้างภาพเคลื่อนไหวที่เป็น 3 มิติก็สามารถรองรับได้ระดับหนึ่ง โดยโปรแกรมกูเกิลสเก็ตช์อัปนี้สามารถใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือสามารถซื้อเพื่อใช้ในรุ่น(version) ที่มีความสามารถและเครื่องมือในการใช้งานแบบมืออาชีพมากขึ้นก็ได้
แหล่งที่มา.http://siwaporn1.blogspot.com/2012/12/blog-post.html
-อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
    อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

   1. จอภาพ (Monitor)

    เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด

    - จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube)  โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ   ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ 


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จอแบบ CRT

    การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้ มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron

    ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มี ความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย


    - จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ  จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที 


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จอแบบ LCD

    การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน


2. เคส (Case)

     เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น



อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เคส (case)


3. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
     เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Power Supply


4. คีย์บอร์ด (Keyboard)
     เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Keyboard


5. เมาส์ (Mouse)

     อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Mouse



6. เมนบอร์ด (Main board)
     แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วย กัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Mainboard



7. ซีพียู (CPU)

     ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้ งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

     1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้

     2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
CPU



8. การ์ดแสดงผล (Display Card)

     การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Display Card

     หลักกันทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร


9. แรม (RAM)

     RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็น หน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
SDRAM
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
DDR-RAM
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
RDRAM


     โดยหลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป โดยหน่วยความจำแรมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR-RAM, RDRAM

10. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

     เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน


     - IDE (Integrated Drive Electronics)
     เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Harddisk แบบ IDE


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
IDE Cable


     - SCSI (Small Computer System Interface)
เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่อ อุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Harddisk แบบ SCSI


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ SCSI controller



     - Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Harddisk แบบ Serial ATA


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Serial ATA Cable




11. CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW
     เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้ คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
CD-ROM


     การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็ก เตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น



12. ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)


     เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Floppy Disk Drive


     ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น 

แหล่งที่มา.http://computer.kapook.com/equpiment.php
-โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์
ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์




ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อ
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม
ชนิดของซอฟต์แวร์
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)


การ<wbr>แบ่ง<wbr>ชนิด<wbr>ของ<wbr>ซอฟต์แวร์<wbr>

ซอฟท์แวร์ระบบ
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย



  1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
  2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
  3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั่งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น


ซอฟท์แวร์ประยุกต์
การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟตืแวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน



จากหนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน ช 0247, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ
แหล่งที่มา.http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/
4.การศึกษาผลกระทบของชิ้นงานที่ส้างขึ้น
ผล งานด้านคอมพิวเตอร์ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงของโลกมนุษย์ให้ก้าว ไปในอนาคตอย่างก้าวกระโดด เทคโนโลยีการสำรวจอวกาศ การออกแบบสร้างเครื่องมืออุปกรณ์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์กิจกรรมด้านความ บันเทิง เช่น เพลง การแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ นำความสามารถของคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสร้างบรรยากาศการนำเสนอ ทำให้ประทับใจได้อย่างยอดเยี่ยม การดูแลรักษาทางการแพทย์ ความสามารถในการรักษาก็นำความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้วินิจฉัยและ ทำการรักษาได้อย่างแม่นยำ เช่น การผ่าตัดเซลล์สมองขนาดเล็ก โดยอาศัยการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ในการผ่าตัดก็ทำได้เป็นอย่างดี มีความปลอดภัยสูง จนทำให้งานที่มนุษย์สามารถทำได้ยากหรือไม่สามารถทำได้กลายเป็นเรื่องง่าย จากความสามารถในการทำงานของคอมพิวเตอร์ในหลายๆ ด้าน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมมนุษย์หลายประการ
-ผลกระทบทางด้านบวก
  1.  ผลกระทบทางด้านบวก เป็น ผลกระทบที่มีสร้างชิ้นงานเองได้คาดหวังให้เกิด ขึ้น หรือผู้ใช้นำไปใช้ในแนวทางที่สร้างสรรค์ในบางครั้งจะพบว่าชิ้นงานที่สร้าง ขึ้นสามารถสร้างประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้สร้างแล้ว แต่ผู้ใช้ยังสามารถนำชิ้นงานไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิ
-ผลกระทบทางด้านลบ
  2.ผลกระทบทางด้านลบ    เป็นผลกระทบที่ผลิตไม่อยากให้เกินซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจเป็นผลกระทบของการเขียนโปรแกรมที่สามารถแก้ไขได้ เช่น การเกิด บัก (bug) หรือข้อผิดพลาด แต่ในบางครั้งชิ้นงานที่ผลิตขึ้นถูกนำไปใช้งานในทางที่ไม่สร้างสรรค์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง
      การ เกิดผลกระทบทางสังคมในเชิงจริยธรรมรูปแบบใหม่จากชิ้นงานที่สร้างขึ้น เช่น การสร้างโปรแกรมฐานข้อมูลตรวจสอบการมาเรียนของนักเรียนการมาทำงานพนักงาน บริษัท พบว่านักเรียนและพนักงานบริษัทมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยฝากบัตรมากับเพื่อนนักเรียน เพื่อนพนักงานเพื่อลงเวลาการมาเรียนหรือมาทำงาน สิ่งเหล่านี้ได้สร้างช่องทางพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาถึงความน่า เชื่อถือของซอฟต์แวร์ การประมวลที่ผิดพลาด ไม่ตรงกับความจริง และก่อให้เกิดความล้มเหลวของชิ้นงานที่ผลิตขึ้นได้ หรือผลกระทบในรูปอาชญากรรม การใช้ความสามารถของโปรแกมเทลเน็ต
5.กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์
 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

           กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความ คุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้วทุกงาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์ หรือดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้น เป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์
             ทำซ้ำหรือดัดแปลง
             เผยแพร่ต่อสาธารณชน
             ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
(1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(7) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(8) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
(9) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน

บทกำหนดโทษ
          ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
       ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท ถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
        พรบ.ฉบับนี้มุ่งเน้นการกำหนดให้ผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลเทียบเท่ากับข้อมูลในรูปแบบกระดาษ (Functional –equivalent Approach) ความเป็นกลางทางเทคโนโลยีหรือความเป็นกลางของสื่อ (Technology Neutrality/Media Neutrality) รวมไปถึงความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา (Party Autonomy) โดยพรบ.ฉบับนี้จะเข้ามามีผลในการบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎหมายฉบับอื่นที่มี อยู่แล้ว มิได้เข้ามาแทนที่การบังคับใช้กฎหมายฉบับอื่น
ประเด็นที่สำคัญ
    - ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลผูกพันและบังคับใช้ทางกฏหมาย (มาตรา 7)

-
การเก็บรักษาเอกสาร ต้นฉบับต้องมีวิธีการที่
สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่ เปลี่ยนแปลง มีความครบถ้วน และสามารถนำมาอ้างอิงในภายหลังได้ (มาตรา 8,12)

- การ รับรองลายมือชื่อ จะต้องใช้วิธีการที่มีความเชื่อถือได้ โดยสามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อ นั้นยอมรับว่าเป็นของตน (มาตรา 9)

-
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35)
-พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
                    เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและ การดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิด พลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมี ลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว
ลักษณะความผิด
1. การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์
                        - การเข้าถึงระบบ (มาตรา 5)
                        - การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ (มาตรา 6)
                        - การรบกวนระบบ (มาตรา 10)    
2. การกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
                        - การเข้าถึงข้อมูล (มาตรา 7)
                        - การดักข้อมูล (มาตรา 8)
                        - การรบกวนข้อมูล (มาตรา 9)
                        - สแปมเมล์ (มาตรา 11)
                        - การนำเข้า/เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 14)
                        - การเผยแพร่ภาพตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท (มาตรา 16)
ลักษณะความผิด (ต่อ)
3. การกระทำผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12)
4. การใช้ชุดคำสั่งกระทำความผิด (มาตรา 13)
5. การกระทำความผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 15, มาตรา 26)
6. การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มี      มาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ   และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
โทษ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน
       หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ
มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ
            คอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
            ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ
            ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน
       สองหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ 

การกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง

มาตรา 12 กำหนดว่าถ้าเป็นการกระทำความผิดที่เป็นการ รบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 9 หรือ เป็นการรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 10
                   (1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่
โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสอบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
                    (2) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ
โทษ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตังแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
                        ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
การใช้ชุดคำสั่งในทางมิชอบ
มาตรา 13 ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้น
               โดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการ
                กระทำความผิดตามมาตรา 5   มาตรา 6
                มาตรา 7  มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10
                หรือ มาตรา 11
โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน
       สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-พระราชบัญญัติลิขธิ์ พ.ศ.2537
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

           กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความ คุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้วทุกงาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์ หรือดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้น เป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิตอล บทความบนเว็บ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์
             ทำซ้ำหรือดัดแปลง
             เผยแพร่ต่อสาธารณชน
             ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
(1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(7) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(8) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
(9) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน

บทกำหนดโทษ
          ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
       ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท ถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น