หน่วยการเรียนรู้ที่1 การติดต่อสารทางอินเตอร์เน็ต

การติต่อสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต
 ตัวชี้วัด
1.ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต(ง 3.1 ม.4-6/13)
2.บอกข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
 ผังสาระการเรียนรู้
1.ความหมายของอินเทอร์เน็ต

ความหมายของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียวหรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอลที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

ลักษณะ ของระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้นสามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัวและไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือเลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace


อินเทอร์เน็ต (Internet)เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดและปัจจุบันเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกเว็บไซตซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปของสื่อประสม (multimedia) จำนวนเว็บไซต์มีอัตราการเพิ่มที่รวดเร็วนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์แนวโน้มของอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวต์เว็บ (world Wide Web) ในอนาคตไว้ดังนี้ (Shelly Gary,1997)
- หน่วยงานธุรกิจจะใช้เว็บสำหรับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
- ภายในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า เว็บจะมีความเร็วถึง 100-1,000 เท่าเมื่อเทียบกับความเร็วที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ความสามารถของเว็บเบราเซอร์จะถูกรวมเข้าในซอฟต์แวร์ประยุกต์แทบทุกประเภท
- การใช้เว็บจะถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทุกระดับ
- ความสามารถของโปรแกรมเพื่อการค้นหาข้อมูล (Web search) จะมีความฉลาดมากขึ้น
จาก ตัวอย่างแนวโน้มของอินเทอร์เน็ตข้างต้นจะเห็นได้ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตจะ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันการทำธุรกิจต่าง ๆ จะมีการนำอินเทอร์เน็ตเช้ามาประยุกต์ใช้ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร หรือการทำธุรกิจและบริการ
ความหมายของอินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้อธิบายความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer networks) ซึ่ง หมายถึงกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสื่อสารด้วย ฮาร์ดแวร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครือข่ายขึ้นไปที่เชื่อมต่อกัน จะเรียกว่า internetwork หรือ internet (สังเกตว่าจะใช้ i ตัวเล็ก) แต่ในภาษาอังกฤษคำว่า the Internet

(ตัว I ใหญ่)จะ หมายถึงกลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันและ อนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและการบริการในรูปแบบของสาธารณะ (public access)
Credit :




2.ประวัติความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

     อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
     ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละ ชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
     ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
     ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อ ศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines : Mosaic 1993, IE 1995, Netscape 1994, Opera 1996, Macintosh IE 1996)
     ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
     สำหรับการใช้งาน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มต้นการใช้งานในภาครัฐ โดยมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นจุดแรก ประมาณ พ.ศ. 2530 จากนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC จัดสรรเงินทุน งบประมาณ เพื่อการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยง มหาวิทยาลัยทั่วประเทศทั้งหมด เข้าด้วยกัน สำหรับ ในเชิงพาณิชย์นั้น เมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติการ จัดตั้งให้บริษัท KSC เป็นผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP รายแรกของประเทศไทย เพื่อให้บริการการเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป ทั้งในรูปแบบของ
แหล่งข้อมูล : http://www.tlcthai.com/club/view_topic.php?club=CoM_ScIeNcE&club_id=1620&table_id=1&cate_id=1076&post_id=7315
3.พื้นฐานการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต
 การ สื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นเป็นการรับ-ส่งข้อมูลหรือที่เรียกว่า การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อและต้องการสื่อสารข้อมูลกับเครื่อง คอมพิวเตอร์อื่นๆในเครือข่าย อาจจะมีฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันและแปลความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกันซึ่งเรียกว่า โพรโทคอล (Protocol)
                โพรโทคอล คือ ระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังปลายทางได้อย่างถูก ต้อง โดยโพรโทคอลนั้น มีหลายชนิด เช่น โพรโทคอล IPX/SPX โพรโทคอล NetBEUI และโพรโทคอล Apple Talk ซึ่ง ออกแบบมาเพื่อใช้งานต่างกัน ดังนั้น การสื่อสารระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึง ต้องใช้ข้อตกลงโพรโทคอลเช่นเดียวกันซึ่งโพรโทคอลที่นิยมใช้ในการสื่อสารทาง อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นโพรโทคอลทีซีไอพี      (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)เป็นหลัก
                 จุดเด่นของโพรโทคอล ทีซีพีไอพี (TCP/IP) คือเมื่อการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปการณ์ใดๆ เข้าสู่ระบบเครือข่ายที่เป็นทีซีพีไอพี (TCP/IP) นั้น คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ติดต่อสื่อสารร่วมกันจะต้องมีหมายเลข ที่ใช้ในระบบเครือข่ายกำกับเสมอ เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูลต้นทางและนำข้อมูลไปยังเครือข่ายเครื่องปลาย ทางที่ถูกต้อง ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารจะต้องมีการระบุหมายเลขขอเครื่องต่างๆที่ไม่ ซ้ำกันไม่เช่นนั้นข้อมูลก็อาจจะไม่ถึงที่หมายปลายทางได้ หมายเลขของเครื่องหรืออุปกรณ์นี้เรียกว่า ไอพี (IP) โดย หมายเลขกำกับที่เป็นหมายไอพี จะเป็นเลขฐาน 2 ขนาด 32 บิต เลขแต่ละชุดจะถูกคั่นด้วยจุด ดังนั้น เลขแต่ละชุดจึงสามารถมีค่าตั้งแต่ 0-255
                จาก หมายเลขไอพี ขนาด 32 บิต ที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นไอพีเวอร์ชัน 4 สามารถใช้อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ตได้มากถึงสี่พัน ล้านเครื่องโดยประมาณซึ่งเป็นจำนวนที่มากหมายมหาศาลจากในอดีต แต่ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น จึงทำให้หมายเลขไอพีที่ใช้ในปัจจุบันเริ่มไม่เพียงพอเนื่องจากการขยายตัวของ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุกรณ์เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว จึงได้มีการพัฒนาเป็นไอพีเวอร์ชัน 6 ซึ่งกำหนดโดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชัน 4 และมาตรฐานไอพีเวอร์ชัน 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิต ในการระบุหมายเลขไอพีแหล่งข้อมูลhttp://writer.dek-d.com/casuna/story/viewlongc.php?id=1105820&chapter=3
4.ระบบชื่อโดเมน(Domain name System) 

ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System) หรือ ดีเอ็นเอส (DNS)  เป็นระบบการตั้งชื่อให้กับ "ทรัพยากรเครือข่าย” แต่ที่พบโดยทั่วไปคือการตั้งชื่อโฮสต์เพื่อใช้แทนไอพีแอดเดรส ดีเอ็นเอสเป็นระบบชื่อที่มีฐานข้อมูลแบบกระจาย โดยไม่มีหน่วยงานหรือสถาบันใดควบคุมหรือมีฐานข้อมูลเดี่ยวครอบคลุมทั้งอินเทอร์เน็ต แต่ละเครือข่ายในอินเทอร์เน็ตจะมีดีเอ็นเอสเซอร์ฟเวอร์เก็บรักษาฐานข้อมูลและบริหารข้อมูลอย่างอิสระ เพื่อให้ไคลเอ็นต์ขอบริการสอบถามข้อมูลตามแบบโปรโตคอลที่กำหนด ดีเอ็นเอสจึงเป็นทั้งระบบการตั้งชื่อและโปรโตคอลรวมอยู่ด้วยกัน
การติดต่อกับผู้ใช้งานประจำเครื่องใดๆ เช่นการส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลอาจใช้ไอพีแอดเดรสระบุถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางได้เช่น somchai@176.16.0.1 หรือใช้เบราเซอร์เปิดอ่านเว็บเพจโดยใช้ http://192.0.34.65 แต่การใช้ไอพีแอดเดรสดังตัวอย่างที่กล่าวมานั้นไม่อำนวยสะดวกต่อการจดจำ ในอินเทอร์เน็ตจึงใช้วิธีตั้งชื่อให้กับเครื่องเพื่อให้ผู้ใช้จดจำได้ง่ายกว่าตัวอย่างเช่นอีเมลแอดเดรสข้างต้นอาจเขียนแทนด้วย somchai@ku.ac.th หรือการเปิดอ่านเว็บเพจโดยใช้ http://www.isoc.org
เมื่อใช้ชื่อแทนไอพีแอดเดรสสำหรับเรียกใช้บริการหนึ่งๆ โปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับบริการนั้นจะใช้กลไกของระบบเพื่อแปลงชื่อไปเป็นไอพีแอดเดรส และนำไอพีแอดเดรสนั้นติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางต่อไป
การใช้งานในยุคต้น
ในยุคแรกเริ่มของการใช้ชื่อทดแทนแอดเดรส ระบบฐานข้อมูลซึ่งเก็บชื่อเครื่องที่สมนัยกับไอพีแอดเดรสเป็นฐานข้อมูลเดี่ยว ฐานข้อมูลนี้ดูแลโดยศูนย์สารสนเทศเครือข่ายสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Research Institute's Network Information Center หรือ SRI-NIC) เครือข่ายใดที่ต้องการใช้ฐานข้อมูลจะต้องใช้โปรโตคอลถ่ายโอนแฟ้ม หรือ เอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocol) เพื่อนำรายชื่อและแอดเดรสไปใช้งาน ฐานข้อมูลกลางจะปรับปรุงใหม่อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้แต่ละเครือข่ายถ่ายโอน ข้อมูลล่าสุดไปใช้ รูปแบบเช่นนี้เป็นวิธีปฏิบัติที่ไม่เป็นปัญหาในยุคต้นเนื่องจากจำนวนเครือ ข่ายและคอมพิวเตอร์จำกัดอยู่ในหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษา แต่เมื่อจำนวนเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น กระบวนการถ่ายโอนเริ่มพบปัญหาอุปสรรคได้แก่
  • การปรับปรุงฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ไม่ตอบสนองกับอัตราการเพิ่มของคอมพิวเตอร์ได้อย่างทันท่วงที
  • ฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่มากขึ้น การถ่ายโอนใช้เวลาและใช้ช่องสัญญาณมากทำให้กระทบต่อการใช้งานอื่น
  • ฐานข้อมูลเดิมเก็บชื่อเป็นระดับเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาการจัดการเมื่อมีผู้ขอตั้งชื่อเหมือนกัน
ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวคิดในการปรับปรุงระบบให้บริการชื่อเครื่องใหม่ ระบบการแปลงชื่อปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบอัตโนมัติที่ใช้วิธีการกระจายฐานข้อมูล มีโปรโตคอลสำหรับเชื่อมต่อฐานข้อมูลนั้นและปรับปรุงข้อมูลโดยอัตโนมัติ รูปแบบการตั้งชื่อมีโครงสร้างแบบลำดับชั้นป้องกันการตั้งชื่อซ้ำซ้อน ระบบดังกล่าวนี้อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของโปรโตคอล ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name System) หรือเรียกว่า ระบบชื่อโดเมน
ระบบชื่อโดเมนเป็นบริการที่มีความสำคัญอย่างมากในอินเทอร์เน็ต หากระบบชื่อโดเมนไม่สามารถให้บริการได้อาจกล่าวได้ว่าบริการอื่นในอินเทอร์เน็ตจะหยุดชะงักลง ระบบชื่อโดเมนมีฐานข้อมูลแบบกระจายโดยไม่มีหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดควบคุมฐานข้อมูลเดี่ยวทั้งหมด แต่ละเครือข่ายจะมีเซิร์ฟเวอร์เก็บรักษาฐานข้อมูลและบริหารข้อมูลอย่างอิสระ แต่ละเซิร์ฟเวอร์จะสื่อสารกันด้วยโปรโตคอลดีเอ็นเอสและให้ไคลเอ็นต์ในอินเทอร์เน็ตขอบริการสอบถามข้อมูล ดีเอ็นเอสจึงเป็นทั้งระบบการตั้งชื่อและโปรโตคอลรวมอยู่ด้วยกัน
รูปแบบการเขียน
การเขียนชื่อคอมพิวเตอร์ประจำโดเมนใดๆจะเริ่มต้นจากชื่อเครื่องตามด้วยชื่อ โดเมนย่อยที่คั่นด้วยจุดและปิดท้ายด้วยจุดซึ่งแสดงถึงจุดบนสุดหรือเรียกว่า ราก  (root)
เครื่องหมายจุดเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ระบุว่าชื่อได้สิ้นสุดโดยไม่มีชื่อต่อ ท้ายอีก และเรียกชื่อชื่อนั้นว่าเป็นชื่อสัมบูรณ์ (absolute name) ทั้งนี้เพื่อป้องกันความสับสนกับชื่อที่เขียนแบบสัมพัทธ์ ตัวอย่างเช่นชื่อ www.moe.go.th. มีความหมายดังต่อไปนี้
  • www           ชื่อเครื่อง (host name)
  • moe             ชื่อโดเมนกระทรวงศึกษาธิการ
  • go               ชื่อโดเมนในหมวดหน่วยงานราชการ
  • th                ชื่อโดเมนสัญชาติไทย
  • .                  สัญลักษณ์แทนราก
รูปแบบการเขียนชื่อคอมพิวเตอร์ที่ระบุทั้งชื่อเครื่องและชื่อโดเมนที่สังกัด เต็มรูปแบบโดยปิดท้ายด้วยเครื่องหมายจุดเป็นรูปแบบการเขียนที่สมบูรณ์ และเรียกชื่อที่เขียนในลักษณะนี้ว่า FQDN (Fully Qualified Domain Name)
ประโยชน์จากการใช้ชื่อตามโครงสร้างแบบนี้คือทำให้ชื่อในโดเมนหนึ่งจะมีได้ เพียงชื่อเดียวโดยไม่ซ้ำซ้อนกันไม่ว่าอินเทอร์เน็ตจะมีขนาดใหญ่เพียงใดหรือ มีจำนวนโดเมนย่อยเท่าใด เพราะเครื่องที่อยู่ต่างโดเมนถึงแม้จะมีชื่อเครื่องหรือชื่อโดเมนย่อยเหมือน กัน หากแต่การสังกัดอยู่ในชื่อโดเมนระดับบนที่ต่างกันย่อมมี FQDN ที่แตกต่างกันและถือว่ามีชื่อต่างกัน ตัวอย่างเช่น www.name.co.th ถือว่ามีชื่อโดเมนต่างจาก www.name.com ในอีกแง่มุมหนึ่งแล้วประโยชน์ของชื่อโดเมนแบบโครงสร้างคือช่วยให้สามารถตั้ง ชื่อเครื่องได้หลากหลายในหมวดชื่อโดเมนต่างๆ
ระบบ ชื่อโดเมนในอินเทอร์เน็ตมีการจัดแบ่งตามโครงสร้างลำดับชั้น (Hierarchical) และใช้ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed) ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายช่วยให้บริการชื่อโดเมนใน องค์กรใดๆที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบชื่อโดเมนไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาสำเนา ข้อมูลชื่อโดเมนที่มีอยู่ทั้งหมด หากแต่ระบบสามารถเชื่อมถึงกันทางเครือข่ายเพื่อสืบค้นและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งใช้ฐานข้อมูลร่วมกันโดยอัตโนมัติ โครงสร้างตามลำดับชั้นของระบบชื่อโดเมนเปรียบเทียบได้กับการแบ่งองค์กรเช่น ภายในบริษัทอาจแบ่งออกเป็นแผนกย่อย แต่ละแผนกอาจแบ่งย่อยเป็นฝ่าย หรืออาจเปรียบเทียบกับการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ออกเป็นประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล เป็นต้น
อินเทอร์เน็ตดีเอ็นเอสมีโครงสร้างตามลำดับชั้นแบบโครงสร้างต้นไม้กลับหัวดัง รูปที่ 1 โครงสร้างอยู่ภายใต้ต้นไม้รากเดี่ยวและแตกกิ่งก้านมาเป็นลำดับ ส่วนปลายสุดเป็นจุดที่ไม่สามารถแตกกิ่งออกไปได้อีกจะเป็น ชื่อเครื่อง ตัวอย่างเช่น tpt.nectec.or.th หมายถึงเครื่อง tpt ของโดเมน nectec.or.th หรือ cc.usu.edu คือเครื่อง cc ของโดเมน usu.edu
โครงสร้างต้นไม้ทั้งโครงสร้างเรียกโดยทั่วไปว่า โดเมนเนมสเปซ (domain name space) หรือเรียกสั้นๆว่า เนมสเปซ หรือหากต้องการกล่าวเจาะจงถึงอินเทอร์เน็ตก็เรียกว่า อินเทอร์เน็ตเนมสเปซ หากพิจารณารูปที่ 1 อินเทอร์เน็ตเนมสเปซมี 3 กลุ่มใหญ่ ความหมายของแต่ละกลุ่มจะกล่าวโดยละเอียดภายหลัง
รูปที่ 1 โครงสร้างลำดับชั้นของดีเอ็นเอส
ชื่อโดเมน
แต่ละโหนดในเนมสเปซมีชื่อกำกับเพื่อใช้เรียกยกเว้น ราก (root)  ซึ่งอยู่บนสุดไม่ต้องมีชื่อกำกับ โหนดหนึ่งๆอาจแตกออกเป็นโหนดย่อยระดับล่างลงไปได้หลายชั้น ชื่อโดเมน (domain name) คือชื่อที่กำกับประจำโหนดและเรียกชื่อโดยไล่ลำดับจากโหนดนั้นตามเส้นทางขึ้นไปยังราก   ในโดเมนหนึ่งหนึ่งอาจมี โดเมนย่อย (sub domain) ลงไปได้หลายระดับชั้น เช่น ac.th หรือ or.th เรียกได้ว่าเป็นโดเมนย่อยของโดเมน .th หรือหากพิจารณาในระดับองค์กรเช่นตัวอย่างในรูปที่ 2 แสดงถึงโดเมนย่อยของ ku.ac.th ซึ่งได้แก่ agr.ku.ac.th, eng.ku.ac.th และ sci.ku.ac.th รวมทั้งโดเมนย่อยของ exam.com ได้แก่ engr.exam.com และ sales.exam.com
รูปที่ 2 โดเมนย่อย
จำนวนโดเมนย่อยหรือระดับชั้นในโดเมนหนึ่งๆขึ้นอยู่กับผู้ดูแลระบบจะกำหนด จำนวนระดับชั้นของชื่อโดเมนไม่มีความสัมพันธ์กับไอพีแอดเดรสแต่อย่างใด ชื่อโดเมนทางซ้ายจะบ่งบอกชื่อเครื่องที่เจาะจงมากขึ้น  ชื่อโดเมนทางขวาจึงบ่งถึงโดเมนที่ใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ลักษณะนี้ต่างจากไอพีแอดเดรสที่ตัวเลขทางขวาบ่งบอกโฮสต์ที่เฉพาะเจาะจง มากกว่าทางซ้าย ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นชื่อโดเมนที่มีจำนวนโดเมนย่อยแตกต่างกัน
  • www.ee.eng.chula.ac.th       เครื่อง www ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาฯ
  • www.tu-muenchen.de          เครื่อง www ที่มหาวิทยาลัยมิวนิค ประเทศเยอรมัน
  • ftp.mci.com                         เครื่อง ftp ของบริษัท MCI
  • hp.com                               เครื่อง hp ของบริษัทฮิวเล็ต-แพคการ์ต
โดเมนสัมบูรณ์และโดเมนสัมพัทธ์
ชื่อโดเมนที่เขียนตามเส้นทางจากโหนดหนึ่งๆไปสิ้นสุดที่ราก เรียกว่า ชื่อโดเมนสัมบูรณ์ (Absolute domain name) ชื่อโดเมนที่เขียนเพียงบางส่วนเรียกว่า ชื่อโดเมนสัมพัทธ์   (Relative domain name)
ชื่อโดเมนสัมบูรณ์โดยปกติแล้วจะปิดท้ายด้วยจุดเพื่อแสดงว่าสิ้นสุดที่ราก และเพื่อให้แยกแยะความแตกต่างจากโดเมนสัมพัทธ์ได้ เช่น tpt.nectec.or.th. แต่ในทางปฏิบัติมักละเครื่องหมายจุดไว้เพราะชื่อโดเมนมักแสดงถึงโดเมน สัมบูรณ์อยู่ในตัวเอง บางโปรแกรมประยุกต์เช่นโปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้จุดปิดท้ายโดเมน แม้ว่าจะใช้ชื่อนั้นในฐานะของโดเมนสัมบูรณ์ก็ตาม
ดีเอ็นเอสมีชื่อโดเมนสัมพัทธ์เพื่อความสะดวกในการอ้างอิง ดีเอ็นเอสถือว่าชื่อโดเมนที่ไม่ลงท้ายด้วยจุดคือโดเมนสัมพัทธ์และจะสร้าง ชื่อโดเมนสัมบูรณ์ให้ เช่นผู้ใช้อาจพิมพ์เพียง tpt และให้ดีเอ็นเอสเติมชื่อโดเมน nectec.or.th. ต่อท้าย ก่อนดำเนินการเช่นนี้ได้ดีเอ็นเอสจำเป็นต้องทราบถึงชื่อโดเมนประจำเครือข่าย ก่อน วิธีการกำหนดชื่อโดเมนประจำเครือข่ายจะขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ ตัวอย่างเช่นในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์กำหนดชื่อโดเมนประจำเครือข่ายและข้อมูล อื่นไว้ในแฟ้ม /etc/resolv.conf
โดเมนระดับบนสุด (Top-Level Domains) หรือเขียนย่อว่า TLDs หมายถึงชื่อโดเมนที่ระบุถึงกลุ่มโดเมนระดับบน กลุ่มโดเมนเหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้สังกัดใด โดเมนระดับบนสุดในปัจจุบันจัดแบ่งออกเป็นสามประเภทใหญ่ (ดูรูปที่ 1) คือ
  • โดเมนทั่วไป (generic domain) เป็นชื่อโดเมนที่จัดตามกลุ่มองค์กร
  • โดเมนรหัสประเทศ (country code domain)  ชื่อโดเมนจากรหัสประเทศ
  • โดเมนอาร์พา ชื่อโดเมนสำหรับใช้แปลงไอพีแอดเดรสไปหาชื่อเครื่อง
โดเมนทั่วไป
โดเมนประเภทนี้เป็นชื่อโดเมนระดับบนสุดและมักเรียกว่าโดเมนระดับบนสุดแบบทั่วไป (Generic Top Level Domains : gTLDs) ชื่อโดเมนประเภทนี้เป็นกลุ่มโดเมนขององค์กร ซึ่งในระยะแรกเริ่มมี 7 หมวดได้แก่ .com, .edu, .gov, .int, .mil, .net และ .org ความหมายและตัวอย่างของแต่ละชื่อโดเมนแสดงได้ดังตารางที่ 1
โดเมนทั้ง 7 หมวดนี้มีขอบเขตการใช้งานแตกต่างกัน โดยโดเมน .gov และ .mil จำกัดการใช้อยู่เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากเป็นประเทศต้นกำเนิดของอิน เทอร์เน็ต l ส่วนชื่อโดเมนอื่นอนุญาตให้ใช้โดยไม่จำกัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวด   .com, .net และ .org  มีผู้นิยมจดทะเบียนอย่างแพร่หลายทั่วโลก สำหรับการจดทะเบียนชื่อโดเมน .edu ส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา [1] ส่วนชื่อโดเมน .int จดทะเบียนได้เฉพาะหน่วยงานภายใต้สนธิสัญญาหรือมีพันธกิจนานาชาติเท่านั้น
ตารางที่ 1 โดเมนระดับบนสุดแบบทั่วไปดั้งเดิมในอินเทอร์เน็ต
โดเมน
กลุ่ม
ตัวอย่าง
.com
องค์กรธุรกิจการค้า (Commercial organizations)
sun.com, microsoft.com
.edu
สถาบันการศึกษา [2] (Educational organizations)
mit.edu, standford.edu
.gov
หน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐ (Government organizations)
nasa.gov, doc.gov
.int
องค์กรนานาชาติ (International organizations)
nato.int, sadc.int
.mil
หน่วยงานทางทหารของสหรัฐ (Military organizations)
army.mil, navy.mil
.net
หน่วยงานเครือข่าย (Networking organizations)
nyser.net, sura.net
.org
องค์กรจัดตั้ง (Organizations) เช่นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร หรือหน่วยงานที่ไม่เข้ากลุ่มอื่น
mitre.org, acm.org
จาก ความต้องการใช้ชื่อโดเมนที่มีเพิ่มมากขึ้น เมื่อเดือนกันยายน 2543 ไอแคนซึ่งเป็นองค์กรบริหารระบบชื่อโดเมนในอินเทอร์เน็ตได้ประกาศใช้ชื่อโด เมนระดับบนสุดแบบทั่วไปใหม่อีก 7 หมวด ได้แก่ .aero, .biz, .coop, .info, .museum,  .name และ .pro  รายละเอียดการใช้แต่ละชื่อโดเมนแสดงไว้ในตารางที่ 2 
ตารางที่  2 ชื่อโดเมนระดับบนสุดใหม่ที่ไอแคนประกาศเพิ่ม
โดเมน
กลุ่ม
ตัวอย่าง
.aero
การอากาศยาน
ชื่อโดเมนเฉพาะองค์กรด้านการขนส่งทางอากาศยาน โดยสมาคมการขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ หรือ Societe Internationale de Telecommunications Aeronautiques (SITA) เป็นผู้บริหารนโยบาย
.biz
องค์กรธุรกิจ
ชื่อโดเมนสำหรับการธุรกิจ แต่ต่างจาก .com ในแง่ที่ผู้จดทะเบียนต้องประกอบการธุรกิจจดทะเบียนเท่านั้น โดเมนนี้จึงไม่อนุญาตให้จดทะเบียนโดยบุคคลหรือองค์กรที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจ
.coop
สหกรณ์
ชื่อโดเมนเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการสหกรณ์ โดยสหพันธ์สหกรณ์นานาชาติ หรือ International Cooperative Alliance (ICA) เป็นผู้บริหารนโยบาย
.info
ข้อมูลข่าวสาร
ชื่อโดเมนสำหรับจดทะเบียนทั่วไป ถึงแม้ว่าชื่อโดเมนจะสื่อถึง บริการข้อมูลข่าวสาร แต่ในทางปฏิบัติแล้วจะเปิดให้จดทะเบียนโดยไม่มีข้อจำกัด ทั้งนี้เพื่อเป็นการแข่งขันกับโดเมนในกลุ่ม .com, .net และ .org
.museum
พิพิธภัณฑ์
ชื่อโดเมนสำหรับพิพิธภัณฑ์ การจดทะเบียนจะอนุญาตเฉพาะพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของสภาพิพิธภัณฑ์นานาชาติ หรือ International Council of Museums (ICOM)
.name
บุคคล

ชื่อโดเมนสำหรับบุคคลทั่วไป การจดทะเบียนจะต้องจดชื่อระดับที่สามในรูปแบบ firstname.lastname ตัวอย่างเช่น john.smith.name การจดทะเบียนจะไม่มีการครอบครองชื่อโดเมนระดับที่สอง และให้บริการจดทะเบียนตามลำดับการร้องขอ
.pro
ผู้ประกอบ
วิชาชีพ
ชื่อโดเมนผู้ประกอบวิชาชีพ (professionals) เช่น แพทย์ วิศวกร ทนายความ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคว่าผู้จดทะเบียนอยู่ในสายวิชาชีพ นั้นอย่างแท้จริง นโยบายการบริหารชื่อโดเมนจะดำเนินการโดยสมาคมหรือสหพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับ วิชาชีพ
โดเมนรหัสประเทศ
ชื่อโดเมนในกลุ่มนี้จะใช้รหัสประเทศที่ประกอบด้วยอักขระสองตัวตามมาตรฐาน ISO 3166-1 เช่น .jp, .br, .au หรือ .ca เป็นต้น ชื่อโดเมนประเภทนี้จึงเรียกว่า ชื่อโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (Country Code Top Level Domains) หรือเขียนโดยย่อว่า ccTLDs  ในปัจจุบันมี ccTLDs รวมทั้งสิ้น 244 ชื่อ ในจำนวนนี้มีเพียงสหราชอาณาจักรที่มิได้ใช้ชื่อย่อตามมาตรฐาน ISO 3166-1 กล่าวคือในมาตรฐาน ISO 3166-1 ใช้ gb แต่ชื่อโดเมนที่ใช้คือ .uk [3] ตารางที่ 3 แสดงตัวอย่างชื่อโดเมนระดับบนสุดประจำประเทศ
ตารางที่ 3 ตัวอย่างชื่อโดเมนประจำประเทศ
โดเมน
ชื่อประเทศ
โดเมน
ชื่อประเทศ
.at
ออสเตรีย
.es
สเปน
.au
ออสเตรเลีย
.fr
ฝรั่งเศส
.ca
แคนาดา
.jp
ญี่ปุ่น
.ch
สวิตเซอร์แลนด์
.kr
เกาหลี
.de
เยอรมัน
.uk
สหราชอาณาจักร
ชื่อโดเมนหนึ่งๆไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์กับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของคอมพิวเตอร์ ชื่อโดเมนระดับบนสุดเช่น .th ถึงแม้จะบ่งบอกถึงประเทศไทย แต่เครื่องที่ใช้ชื่อโดเมน .th อาจตั้งอยู่ในประเทศใดๆก็ได้ นอกจากนี้เครื่องหนึ่งๆยังสามารถจดทะเบียนได้มากกว่าหนึ่งชื่อ ชื่อโดเมนจึงบอกเพียงว่าเครื่องนั้นจดทะเบียนในสังกัดของชื่อโดเมนที่ระบุ เท่านั้น
โดเมนอาร์พา
โปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมต้องการตรวจสอบว่าไอพีที่ใช้งานมีชื่อใดหรือผู้ ใช้อาจต้องการทราบชื่อโฮสต์จากไอพีแอดเดรสที่มีอยู่ การแปลงไอพีแอดเดรสกลับไปเป็นชื่อจึงเป็นอีกบริการหนึ่งที่ดีเอ็นเอสต้องจัด เตรียมไว้
ในเนม สเปซที่ได้ศึกษามาตั้งแต่ต้น เราทราบว่าแต่ละโหนดมีชื่อกำกับเพื่อใช้ค้นหาไอพีแอดเดรสหรือใช้ชื่อเป็น ดรรชนีค้นหาไอพีแอดเดรส แต่หากต้องสืบค้นชื่อในเนมสเปซโดยไม่มีดรรชนีย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะจะต้องเริ่มค้นจากรากเข้าไปในทุกจุดจนกว่าจะพบชื่อที่ตรงกับไอพีแอดเด รสที่ต้องการ วิธีช่วยค้นจึงต้องจำเป็นต้องจัดให้มีดรรชนีไอพีแอดเดรสในทำนองเดียวกับ ดรรชนีโดเมน วิธีการนี้ทำได้โดยการปรับแปลงไอพีแอดเดรสที่มีอยู่ทั้งหมดให้เป็นเสมือน ชื่อโดเมนตามลำดับชั้นและวางตำแหน่งของไอพีแอดเดรสนี้ให้อยู่ภายใต้โดเมนที่ จัดขึ้นมาโดยเฉพาะซึ่งได้แก่โดเมน .in-addr.arpa
เนื่องจากไอพีแอดเดรสแบ่งออกเป็น 4 หลัก แต่ละหลักมีได้ 256 ค่า จาก 0 ถึง 255 โดเมนที่อยู่ภายใต้โดเมน .in-addr.arpa จึงจัดให้มีได้ 256 โดเมนย่อยจาก 0 ถึง 255  โดเมนย่อยระดับแรกจะสมนัยกับอ็อกเท็ต [4] แรกของไอพีแอดเดรส แต่ละโดเมนที่เป็นตัวเลขต่างก็มีโดเมนย่อยลงไปอีก 256 โดเมนย่อยและสมนัยกับอ็อกเท็ตที่สองของไอพีแอดเดรส จนกระทั่งถึงโดเมนย่อยสุดท้ายที่สมนัยกับอ็อกเท็ตที่สี่ของไอพีแอดเดรสและมี ตัวชี้ไปยังชื่อโดเมนที่ต้องการ
ชื่อโด เมนจากซ้ายไปขวาแสดงความเจาะจงมากไปสู่ความเจาะจงน้อย ซึ่งกลับทิศทางกับไอพีแอดเดรสที่เขียนแสดงความเจาะจงจากน้อยไปมาก การเขียนโดเมนของไอพีแอดเดรสจึงสลับลำดับกันเพื่อให้เข้ากับหลักการของชื่อ โดเมน เช่น 158.108.2.71 เป็นไอพีแอดเดรสของเครื่อง nontri.ku.ac.th จะมีชื่อโดเมนประจำคือ 71.2.108.158.in-addr.arpa การสืบค้นชื่อจากแอดเดรส 158.108.2.71 จะต้องเริ่มจาก .arpa, .in-addr และ .158, .108, .2 และ .71 ตามลำดับ แอดเดรสลักษณะนี้จึงเรียกว่า แอดเดรสผกผัน [5] (Reverse address) ซึ่งสื่อถึงแอดเดรสที่เขียนกลับทิศกับไอพีแอดเดรสตามแบบปกติ (Forward address) โครงสร้างชื่อโดเมน .in-addr.arpa มีลักษณะดังรูปที่ 3
โครงสร้างต้นไม้กลับหัวที่แสดงถึงระบบชื่อโดเมนเช่นในรูปที่ 3 เป็นเพียงรูปเชิงนามธรรมที่อธิบายถึงภาพโดยรวมของดีเอ็นเอสในอินเทอร์เน็ต เท่านั้น ตามที่กล่าวไว้แล้วว่าไม่มีหน่วยงานใดที่มีฐานข้อมูลคลุมทั้งโครงสร้าง หากแต่ใช้การ มอบอำนาจการดูแลโดเมน (domain delegation)
ความ หมายของการมอบอำนาจการดูแลโดเมนคือ ผู้ดูแลโดเมนระดับบนไม่จัดการโดเมนระดับล่างโดยตรง หากแต่ให้ผู้ดูแลโดเมนระดับล่างมีสิทธิ์ขาดในการดำเนินการทุกอย่างในโดเมน ระดับล่างนั้น ผู้ดูแลโดเมนย่อยอาจเพิ่มชื่อเครื่องในฐานข้อมูลหรือสร้างโดเมนย่อยได้ตาม ต้องการ ในโดเมนย่อยหนึ่งๆหากมีโดเมนย่อยลงไปอีกก็อาจจะใช้วิธีมอบอำนาจเพื่อลดภาระ การดูแลได้ในทำนองเดียวกัน ลักษณะเช่นนี้อาจเปรียบเทียบกับระบบงานในบริษัทที่ผู้จัดการฝ่ายอาจมอบหมาย งานให้หัวหน้าแผนกรับผิดชอบงานเป็นส่วนๆ
ในโดเมนหนึ่งๆจะมีการมอบอำนาจการดูแลหรือไม่นั้นเป็นนโยบายของผู้บริหารโด เมนโดยตรง บางโดเมนอาจมีการสร้างโดเมนย่อยแต่ไม่มีการมอบอำนาจใดๆเลย หรืออาจมีการมอบอำนาจเฉพาะบางโดเมนย่อยเท่านั้น วิธีสร้างและมอบอำนาจดูแลโดเมนย่อยในดีเอ็นเอสมีกรรมวิธีเทคนิคเฉพาะซึ่ง อยู่นอกเหนือขอบเขตของรายงานฉบับนี้ ในที่นี้จะอธิบายเพียงหลักการมอบอำนาจซึ่งเกี่ยวพันกับความเข้าใจพื้นฐานใน เรื่องโดเมนและโซนที่จะกล่าวในหัวข้อถัดไป
โดเมนและโซน
ความหมายของ โซน (zone) คือโดเมนย่อยในดีเอ็นเอสที่มีการมอบอำนาจหน้าที่ให้มีผู้ดูแลเฉพาะ ภายในโซนอาจแบ่งให้มีโซนย่อยออกไปอีกได้ตามคณะหรือหน่วยงาน แต่ละโซนจะมีเนมเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลประจำโซน
เมื่อผู้ดูแลระบบได้รับมอบอำนาจจัดการโซน ผู้ดูแลระบบจะติดตั้งเนมเซิร์ฟเวอร์ประจำโซนและสร้างฐานข้อมูลเพื่อเก็บชื่อ เครื่องกับไอพีแอดเดรสในโซนด้วยตนเอง การจัดการโดยผู้ดูแลระบบคือความหมายของการได้รับมอบอำนาจ เนมเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลในโซนใดๆจะมี อำนาจหน้าที่ (authority) ในโซนนั้น ตัวอย่างของการได้รับมอบอำนาจดูแลโดเมนระดับบนสุดมีดังเช่น .com, .net และ .org ดูแลโดยบริษัทเวริไซน์   .mil ดูแลโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ และโดเมนระดับประเทศจะดูแลโดยผู้ได้รับมอบอำนาจให้เป็นนายทะเบียนชื่อโดเมน ของประเทศนั้นๆ เป็นต้น
เนมเซิร์ฟเวอร์
ผู้ดูแลโซนจะติดตั้งมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ (master name server) และ สเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์ (slave name server) ประจำโซน [6] มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์และสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์ต้องเป็นเครื่องต่างเครื่องกัน มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์เป็นเนมเซิร์ฟเวอร์ที่อ่านข้อมูลประจำโซนจากแฟ้ม ข้อมูลที่เก็บในระบบข้อมูล (เช่นฮาร์ดดิสค์) โซนๆหนึ่งจะมีมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว ส่วนสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์จะสำเนาข้อมูลมาจากมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์มาเก็บไว้ โดยถ่ายโอนผ่านเครือข่าย สเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์มีได้หลายเครื่องเพื่อทำหน้าที่เป็นเนมเซิร์ฟเวอร์สำรอง เมื่อมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถให้บริการได้ การจดทะเบียนชื่อโดเมนจึงต้องระบุชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์อย่างน้อยสองชื่อ โดยที่ชื่อแรกคือชื่อมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ และอีกชื่อหนึ่งคือสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์
มาสเตอร์ เนมเซิร์ฟเวอร์จะบรรจุข้อมูลประจำโซน ผู้ดูแลดีเอ็นเอสจะเพิ่มหรือลบชื่อโฮสต์หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่มาสเตอร์ เนมเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์จะถ่ายโอนข้อมูลจากมาสเตอร์ เนมเซิร์ฟเวอร์มาโดยอัตโนมัติเพื่อให้ข้อมูลตรงกัน การถ่ายโอนนี้เรียกว่า การถ่ายโอนโซน (zone transfer)
กระบวนการทำงานของดีเอ็นเอสประกอบด้วย รีโซลเวอร์ (resolver) ซึ่งเป็นโปรแกรมในเครื่องไคลเอ็นต์ที่ขอบริการดีเอ็นเอสที่กำหนดว่าเครื่องนั้นอยู่ในโดเมนใด และต้องติดต่อกับเนมเซิร์ฟเวอร์ใด
กระบวนการเรโซลูชัน
เนมเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้เพียงให้บริการข้อมูลในโซนที่อยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ เท่านั้น หากแต่ต้องให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นทั่วทั้งเนมสเปซให้กับเนมเซิร์ฟเวอร์ อื่นที่ขอบริการ ตัวอย่างเช่น เนมเซิร์ฟเวอร์ในสังกัด ku.ac.th อาจขอบริการถามหาชื่อโฮสต์ในสังกัด nectec.or.th โดยอาศัยเนมเซิร์ฟเวอร์ของ nectec.or.th กระบวนการสืบค้นชื่อโดยเนมเซิร์ฟเวอร์นี้เรียกว่า เนมเรโซลูชัน (name resolution) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เรโซลูชัน (resolution)
  เรโซลูชันของดีเอ็นเอสมีหลักการทำงานแบบไคลเอ็นต์เซิร์ฟเวอร์ รีโซลเวอร์ทำหน้าที่เป็นไคลเอ็นต์และเนมเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เป็น เซิร์ฟเวอร์ ดังรูปที่ 4 ทั้งรีโซลเวอร์และเนมเซิร์ฟเวอร์จะเก็บรักษาข้อมูลที่สืบค้นได้ไว้ในแคช เนมเซิร์ฟเวอร์จะสืบค้นข้อมูลในแคชก่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หากพบก็จะใช้ข้อมูลในแคชตอบกลับไป ปกติแล้วเนมเซิร์ฟเวอร์จะเก็บข้อมูลในแคชเพียงระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงลบทิ้งไป เพราะข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
รูทเนมเซิร์ฟเวอร์
เนมเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องต่างมีข้อมูลเฉพาะโซนที่ดูแลอยู่เท่านั้น หากรีโซลเวอร์ร้องขอการสอบถามข้อมูลโซนตนเอง เนมเซิร์ฟเวอร์จะช่วยค้นข้อมูลนอกโซนของตนเองให้
อินเทอร์เน็ตจัดให้มี รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ (root name server) เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นการหาข้อมูลในเนมสเปซ เนมเซิร์ฟเวอร์สามารถสืบค้นข้อมูลทุกจุดของเนมสเปซโดยติดต่อกับรูทเนมเซิร์ฟ เวอร์ รูทเนมเซิร์ฟเวอร์มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถให้บริการได้แล้วกระบวนการเรโซลูชันทั้ง อินเทอร์เน็ตจะหยุดชะงัก อินเทอร์เน็ตจึงจัดให้มีรูทเนมเซิร์ฟเวอร์กระจายตัวในต่างพื้นที่กันจำนวน 13 รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ได้แก่ a.root-servers.net, b.root-servers.net, c.root-servers.net, … , m.root-servers.net  ดังตารางที่ 4 ทั้งนี้ a.root-servers.net ทำหน้าที่เป็นรูทเนมเซิร์ฟเวอร์หลักและที่เหลืออีก 12 ตัวเป็นรูทเนมเซิร์ฟเวอร์รองที่จะทำสำเนาข้อมูลจาก a.root-servers.net เป็นระยะๆ
ตารางที่ 4 รูทเนมเซิร์ฟเวอร์
ชื่อ
ไอพีแอดเดรส
a.root-servers.net
198.41.0.4
b.root-servers.net
128.9.0.107
c.root-servers.net
192.230.4.12
d.root-servers.net
128.8.10.90
e.root-servers.net
192.203.230.10
f.root-servers.net.
192.5.5.241
g.root-servers.net
192.112.36.4
h.root-servers.net
128.63.2.53
i.root-servers.net
192.36.148.17
j.root-servers.net
192.58.128.30
k.root-servers.net
193.0.14.129
l.root-servers.net
198.32.64.12
m.root-servers.net
202.12.27.33
ที่มา  : ftp://ftp.rs.internic.net/domain/named.root
รูปที่ 5 แสดงที่ตั้งของรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ทั้ง 13 เครื่อง โดยที่ 10 เครื่องกระจายตัวในอยู่ในสหรัฐอเมริกา อีก 3 เครื่องอยู่ในลอนดอน สต็อกโฮล์ม และโตเกียว รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ทั้ง 13 เครื่องมิได้รับภาระการถามหาชื่อโดยตรงให้กับไคลเอ็นต์ทุกครั้ง หากแต่เป็นจุดทางเข้าระดับบนสุดโดยมีเนมเซิร์ฟเวอร์ระดับที่สองของผู้ให้ บริการอินเทอร์เน็ตและองค์กรต่างๆและเนมเซิร์ฟเวอร์สำรองอีกจำนวนมาก ขณะที่เนมเซิร์ฟเวอร์ระดับถัดไปคือเนมเซิร์ฟเวอร์ ccTLDs นั้นเมื่อไคลเอ็นต์ถามหาไอพีแอดเดรสจากชื่อโดเมน ไคลเอ็นต์จะติดต่อกับเนมเซิร์ฟเวอร์ประจำโดเมนนั้นเพื่อสืบค้นข้อมูล หากเนมเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถหาชื่อได้ก็จะติดต่อกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ และรูทเนมเซิร์ฟเวอร์จะส่งรายชื่อของเนมเซิร์ฟเวอร์ที่มีอำนาจหน้าที่ต่อไป
ในระยะ แรกนั้นรูทเนมเซิร์ฟเวอร์จะเก็บฐานข้อมูลของโดเมน gTLDs บางโดเมนได้แก่ .com, .net., และ .org แต่เพื่อให้ระบบชื่อโดเมนมีเสถียรภาพและสามารถขยายภาระงานได้ จึงมีการจัดตั้งเนมเซิร์ฟเวอร์อีกหนึ่งชุดภายใต้ชื่อโดเมน gtld-servers.net  และย้ายข้อมูลในหมวด .com, .net., และ .org ออกจากรูทเนมเซิร์ฟเวอร์มาไว้ในเนมเซิร์ฟเวอร์ชุดใหม่ และใช้ชื่อเทียบเคียงกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์คือ a.gtld-servers.net ถึง m.gtld-servers.net  รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ในปัจจุบันจึงดูแลเพียงฐานข้อมูลกลุ่ม ccTLDs และบางหมวดของ gTLDs ได้แก่ .edu  และบางส่วนของ in-addr.arpa
ที่มา  : http://caffeine.ieee.org/spectrum/dec01/departments/websf1.html
รูปที่ 5 รูทเนมเซิร์ฟเวอร์และตำแหน่งที่ตั้ง
ตัวอย่างการทำงานของรีโซลเวอร์
เพื่อ ให้เห็นขั้นตอนการทำงานของดีเอ็นเอสที่สัมพันธ์กับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ ขอให้พิจารณารูปที่ 6  ซึ่งแสดงกระบวนการเรโซลูชันทีละขั้นตอน ในที่นี้สมมติให้ไคลเอ็นต์ pc.name.co.th ต้องการหาไอพีแอดเดรสของ www.name.com โดยที่ ns.name.co.th คือเนมเซิร์ฟเวอร์ของ name.co.th ขั้นตอนที่เกิดขึ้นจะเป็นดังต่อไปนี้
  1. ไคลเอ็นต์ pc.name.co.th สอบถามหาไอพีแอดเดรสของ www.name.com โดยส่งคำถามให้ ns.name.co.th ตามขั้นตอนที่
  2. ในตัวอย่างนี้ ns.name.co.th ไม่มีไอพีแอดเดรสของ www.name.com อยู่ในแคช จึงต้องติดต่อกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ตามขั้นที่ เพื่อถามหาแอดเดรสของ www.name.com
  3. เมื่อรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ได้รับคำถาม แต่ไม่สามารถตอบได้โดยตรงเนื่องจากรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้เก็บไอพีแอดเดรสของ www.name.com   หน้าที่ของรูทเนมเซิร์ฟเวอร์คือส่งรายชื่อเนมเซอร์เวอร์ที่ดูแลฐานข้อมูลโดเมน .com กลับมาให้ ns.name.co.th ตามขั้นที่   การตอบกลับในลักษณะนี้เรียกว่าเป็นการตอบแบบอ้างอิง (Referal answer) คำตอบที่ส่งไปมักเป็นเนมเซิร์ฟเวอร์ระดับรอง ซึ่งในที่นี้คือเนมเซิร์ฟเวอร์ในชุด gtld-servers.net
  4. รายชื่อ เนมเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับอาจมีหลายชื่อ ซึ่ง ns.name.co.th จะต้องหาคำตอบต่อไป โดยเลือกชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับเพียงหนึ่งชื่อเพื่อถามแอดเดรสของ www.name.com ใหม่อีกครั้ง ในที่นี้ให้ ns.name.co.th เลือกและส่งคำถามไปยัง f.gtld-servers.net ตามขั้นที่
  5. f.gtld-servers.net ตอบกลับโดยรายชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ของโดเมน name.com ซึ่งในที่นี้คือ twinkle.generation.net และ sparkle.generation.net กลับไปตามขั้นที่
  6. ns.name.co.th เลือกติดต่อกับ twinkle.generation.net เพื่อสอบถามไอพีของ www.name.com ดังขั้นที่
  7. เนื่องจาก twinkle.generation.net เก็บฐานข้อมูลของโดเมน name.com ดังนั้นจึงสามารถตอบไอพีแอดเดรสของ www.name.com  กลับมาตามขั้นที่ ซึ่งค่าที่ได้คือ  205.205.119.75
  8. ขั้นที่ เมื่อ ns.name.co.th ได้รับไอพีแอดเดรสของ www.name.com ก็จะส่งไอพีแอดเดรสที่ได้นี้ไปให้ pc.name.co.th
จากกระ บวนการเรโซลูชันข้างต้นจะสังเกตเห็นว่าเนมเซิร์ฟเวอร์ในโซนหนึ่งๆทำหน้าที่ เป็นผู้ช่วยหาข้อมูลในโซนอื่นๆตามที่ไคลเอ็นต์ในโซนนั้นร้องขอ lการสอบถามข้อมูลของ แต่ละครั้งอาจไม่ได้รับคำตอบโดยตรง หากแต่ได้ชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ซึ่ง “อยู่ใกล้” คำตอบมากยิ่งขึ้น ทีละขั้นจนกระทั่งได้ชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลที่ต้องการและให้คำตอบ ในที่สุด

[1]  มีสถาบันการศึกษานอกสหรัฐอเมริกาได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนด้วย ตัวอย่างเช่นในประเทศไทยมีการจดทะเบียนชื่อโดเมน chula.edu และ chiangmai.edu เป็นต้น
[2] สถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนชื่อโดโมน .edu จะต้องเป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูงระดับมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตร 4 ปีหรือวิทยาลัยที่มีหลักสูตร 2 ปี ส่วนโรงเรียนประถมหรือมัธยมในสหรัฐอเมริกาไม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนภาย ใต้ .edu  โรงเรียนเหล่านี้จึงต้องจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้โดเมนประจำประเทศของสหรัฐ อเมริกาคือ .us นโยบายการจดทะเบียนชื่อโดเมน .edu สามารถดูได้จากเว็บเพจของ EDUCAUSE (http://www.educause.edu/edudomain/faq.asp)
[3] ไออานาได้กำหนดให้ใช้ .uk สำหรับสหราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 2528 ตามรูปแบบที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครือข่าย JANET ซึ่งเป็นเครือข่ายยุคแรกเริ่มของสหราชอาณาจักร (ดู http://www.icann.org/general/ps-report-22mar00.htm) ต่อมาจึงได้กำหนดหลักการให้ใช้ชื่อโดเมนระดับบนสุดสำหรับตามรหัส ISO 3166-1
[4] อ็อกเท็ต (octet) เป็นศัพท์ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่าย มีความหมายถึงตัวเลขจำนวน 8 บิต หรือใช้ในความหมายเดียวกับคำว่าไบต์
[5] แอดเดรสผกผันของไอพีรุ่นหกจะอยู่ภายใต้โดเมน ip6.int และใช้หลักการเฉพาะทางเทคนิคสำหรับการแปลงแอดเดรสผกผันซึ่งอยู่นอกเหนือบท ความฉบับนี้
[6] "มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์" และ “สเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์” เป็นชื่อที่เรียกตามศัพท์เทคนิคที่กำหนดใน "BIND" ซึ่งเป็นโปรแกรมเนมเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้อย่างแพร่หลาย แต่เดิมจะใช้ชื่อว่า “Primary name server” และ “Secondary name server” ตามลำดับhttp://www.cpe.ku.ac.th/~nguan/articles/Internet/DNS.html
5.บริการต่างๆในอินเทอร์เน็ต



บริการต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต
1. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics mail)
2. เครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web)
3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol)
4. การทำงานข้ามเครื่อง (TelNet)
5. การสนทนาบนเครือข่าย(IRC : Internet Relay Chat)
6. กลุ่มข่าวที่สนใจ (UseNet)
7. การค้นหาข้อมูลและไฟล์ข้อมูล(Gopher/Archie)
1. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics mail)
เป็นบริการที่ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์โดยที่ผู้ส่งจะใช้บัญชีอินเทอร์เน็ต (E-mail Adrress) ส่งข้อมูลประเภทข้อความ รูปภาพ หรือเสียง ผ่านจอคอมพิวเตอรื ไปยังบัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้รับ หากผู้รับไม่อยู่ที่จอคอมพิวเตอร์จดหมายนี้จะถูกเก็บไว้ในตู้ โดยที่ผู้รับจะรับเวลาใดหรือตอบกลับเวลาใดก็ได้
ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ/ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลกได้ ซึ่งสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
2. เครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web)
เป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลในแบบสื่อประสม(Multimedia) คือจะเป็นข้อมูลที่มีทั้งข้อความ ภาพ และเสียงประกอบกัน ซึ่งเป็นบริการที่แพร่หลาย ขยายตัวเร็วที่สุดบนอินเทอร์เน็ต
โปรแกรมที่เป็นประตูเข้าสู่โลก World Wide Web ในปัจจุบันมีหลายรายแต่ที่ได้รับความนิยม คือ Nestcape Communicator) และ Internet Explorer โดยที่ผู้ใช้บริการต้องระบุ URL (Uniform Resource Locator) เป็นที่อยูของเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น www.nu.ac.th
nu หมายถึง มหาวิทยาลัยนเรศวร
ac หมายถึง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
th หมายถึง ประเทศไทย
3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol)
เป็นบริการที่ใช้ในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ต้องการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในระบบ การสั่งไฟล์นี้อาจเป็นการส่งผ่านเครื่องใด ๆ ในระบบมาไว้ยังเครื่องของเรา ซึ่งเรียกว่า ดาวน์โหลด(Download) หรือส่งผ่านจากเครื่องเราไปยังเครื่องอื่นๆ ในระบบ เรียกว่า การอัพโหลด(Upload)
4. การทำงานข้ามเครื่อง (TelNet)
บริการที่ผู้ใช้บริการต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่อง อื่นๆ ตั้งอยู่ไกลออกไปเพื่อเข้าใช้งานเครื่องอื่น ๆ ได้ทั่วโลกเหมือนกับเราไปที่เครื่องนั้นเอง จะต้องมีชื่ออยู่ในสารบบที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ โดยจะใช้ระบุชื่อ และรหัสผ่าน ถ้าระบุได้ถูกต้องก็จะสามารถเข้าไปใช้งานได้ทันที
5. การสนทนาบนเครือข่าย(IRC : Internet Relay Chat)
ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกันทางตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ คุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คน ในลักษณะของการ Chat เช่น โปรแกรม Microsoft Chat ,Pirch และ ICQ เป็นต้น ยังมีโปรแกรมที่พัฒนาให้สามารถพูดโต้ตอบกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียว กับทางโทรศัพท์ เช่น โปรแกรม Cooltalk เป็นต้น
6. กลุ่มข่าวที่สนใจ (UseNet)
เป็นบริการที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและข่าวสารของกลุ่มสนทนาแลก เปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สนใจตรงกัน หรือคล้าย ๆ กัน ได้ส่งข่าวติดต่อกันและแลกเปลี่ยนแนวคิด
7. การค้นหาข้อมูลและไฟล์ข้อมูล(Gopher/Archie)
เป็นบริการสืบค้นข้อมูล โกเฟอร์(Gopher) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลเพียงค้นหาทีละหัวข้อ แต่ละหัวข้อจะมีเมนูย่อย ๆ ให้เลือก อาร์ชี(Archie) ผู้ใช้บริการทราบเพียงรายละเอียดบางอย่างก็จะแสดงรายชื่อออกมาให้ผู้ใช้ทราบ ว่าอยู่ที่ใดบ้าง
แหล่งที่มา.http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-6495.html
6.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เนต
 
การเชื่อมต่ออินเทอร์เนตสามารถเชื่อมต่อได้สองลักษณะด้วยกันได้แก่ 
ส่วนใหญ่การเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็ม (Remote Access) จะเป็นการเชื่อมต่อมาจากทางบ้าน และการเชื่อมต่อแบบ LAN จะเป็นการเชื่อมต่อภายในองค์กร โดยจะขอกล่าวถึงการเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็มก่อน ดังนี้
การเชื่อมต่อโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)
การเชื่อมต่ออินเทอร์แบบนี้สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีได้แก่
1.การขออนุญาตและเสียค่าบริการให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ต Internet Service Provider (ISP)
หรือที่สถาบันที่ท่านศึกษา หรือหน่วยงานที่ท่านทำงานอยู่
โดยสิ่งที่ได้คือ ชื่อผู้ใช้ (Internet Account ) และรหัสผ่าน (Password)

                          
2.สายโทรศัพท์
3.โมเด็ม อาจจะเป็น Internal Modem หรือ External Modemเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสื่อสารข้อมูล (Communication Program)
          
ขั้นตอน
1. เข้ามาที่ เริ่ม Start => Setting => Dial-Up Networking  ตามลำดับ ดังภาพ
2.จะได้กรอบ Dial-Up Networking ให้ดับเบิลคลิกที่ Make New Connect  ดังภาพ
3.ที่กรอบ Make New Connect นี้ ในช่อง Type a name for the computer you are dialing ให้ตั้งชื่อหน่วยงานหรือ ISP ที่ต้องการต่อเชื่อมอินเทอร์เนต แล้วคลิกปุ่ม Next
4.จากนั้นกำหนดหมายโทรศัพท์ที่หน่วยงานกำหนดให้สามารถต่อเชื่อมอินเทอร์เนตได้
ในช่อง Area code กำหนดรหัสทางไกล และช่อง Telephone กำหนดหมายเลขโทรศัพท์
แล้วกดปุ่ม Next
5.มาถึงตอนนี้ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์หมุนโมเด็ม ให้คลิกปุ่ม Finish
6.ท่านก็จะได้ Icon เพื่อการหมุนโมเด็มเพื่อติดต่ออินเทอร์เนต ดังภาพ
7. มาถึงตอนนี้ก็จะเป็นหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เนต โดยการดับเบิลคลิกที่ Icon NU University ดังกล่าว
ในช่อง User name ให้ท่านใส่ User name ที่ได้รับจากหน่วยงานหรือ ISP
ในช่อง Password ให้ใส่ Password ที่ได้รับเช่นกัน
เรียบร้อยให้คลิกปุ่ม Connect
8.จากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะทำการหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เนต
หากสามารถเชื่อมต่อได้ ท่านก็สามารถใช้บริการอินเทอร์เนตได้
9. เป็นไปได้ในบางครั้งคู่สายอาจจะไม่ว่าง เนื่องจากมีผู้ใช้อินเทอร์เนตมาก
เราก็จำเป็นต้องหมุนใหม่ โดยการคลิกที่ปุ่ม Connect อีกครั้ง
เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)
หากท่านไม่สามารถใช้บริการได้ก็ขอให้ติดต่อกับผู้ให้บริการ System Admin ได้โดยตรง
ต่อไปจะได้กล่าวถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตในระบบ LAN
แหล่งที่มา. http://www.thaiwbi.com/course/Internet_Connect/
7.การใช้บริการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตด้วยจดหมายอิเล็กทอนิกส์
   ความสามารถของอินเทอร์เน็ตมีมากมาย   โดย เฉพาะการบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ  การบริการด้าน จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail การส่งอีเมลไปยังผู้รับที่อยู่ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะ เหมือนการส่งจดหมายทางไปรษณีย์  ถ้าต้องการจะส่งจดหมายไปหาใครก็ตาม สิ่งที่เราต้องทราบคือ ที่อยู่ของผู้รับจดหมายนั้น แต่ไม่ใช้ที่อยู่ตามบ้านเลขที่ที่เราอยู่ตามทะเบียนบ้าน ที่อยู่ในที่นี้หมายถึงที่อยู่ทางอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้แต่ละคนที่เรียกว่า อีเมลแอดเดรส(E-mail Address) นั้นเอง                                                                                                                                                                                                                    
         อีเมล (E-mail) หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) เป็นอีกรูปแบบของการบริการที่นิยมมากรองมาจากเวิลด์ ไวด์ เว็บ ในอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน การส่งจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ จะแตกต่างจากการส่งจดหมายทางไปรษณีย์คือ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สะดวก รวดเร็ว การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะส่งได้ทั้งข้อความรูปภาพเสียงไฟล์วิดีโอแม้กระทั่งการส่งการ์ดในโอกาสต่างๆ
         การรับส่งอีเมลผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะประกอบด้วย3ส่วนหลักคือ
         1.เมลเซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) คือเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของผู้ให้บริการด้านอีเมลสำหลับเก็บอีเมล
         2.เมลไคลเอนท์ (Mail Client) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของผู้ใช้บริการที่เป็นตัวเรียกอีเมลมาจากเซิร์ฟเวอร์
         3.โปรโตคอมสำหรับส่งเมลคือระเบียบวิธีที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลด้านอีเมลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjpQGp92aL75BxxCjRyzslChNIRlCauVowkBxdLSD3oKKxAGaJLEMQ1quOuxRjzDtllW50rZEdwt0i3qeFrYxmVYV8HNz3vjNPp8glFJkcIqEymQuf_00HrjacAPzJdD-0lAiVaqiS9Kjmv/s1600/058.gif
โปรโตคอลสำหรับรับส่งอีเมล
         โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลด้านอีเมลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตประกอบด้วย
SMTP
         SMTP (SimpleMessageTransdferProtocol) ทำหน้าที่ส่งอีเมลจากเมลเซิร์ฟเวอร์ของผู้ส่งไปยังเมลเซิร์ฟของผู้รับ จากกรณีตัวอย่างในการส่งและรับอีเมลระหว่างคุณกุลราพี(kulrapee@chaiyo.com) และคุณเพลงพิณ (pamgpin@hotmail.com) ดังนี้
         1.คุณกุลรพี ต้องการส่งอีเมล โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการส่งที่เรียกว่า เมลไคลเอนท์ เมื่อเขียนจดหมายพร้อมที่จุส่ง ต้องกำหนดชื่อผู้ส่งจดหมาย และชื่อผู้รับจดหมาย เมื่อได้ทำการคลิกเลือก ส่งจดหมาย ก็คือการสั่งให้เมลไคลเอนท์ทำการส่งจดหมายให้
         2.เมลไคเอนท์ขอคุณกุลรพี จะทำการสร้างทางเชื่อมต่อแบบ TCP กับเมลเซิฟเวอร์ ที่เราได้ขอเป็นสมาชิกอยู่ คือ mail.chaiyo.com เมื่อเมลเซิร์ฟเวอร์ได้รับจดหมายก็จะจัดเก็บไว้ในคิวเพื่อทำการส่งต่อไป
         3.เมลเซิร์ฟเวอร์ของคุณกุลรพี (mail.chaiyo.com)ก็จะสร้างเชื่อมต่อแบบ TCPกับเมลเซิร์ฟเวอร์ของคุณเพลงพิณ(mail.chaiyo.com)และจะทำการส่งข้อความในอีเมลระหว่างเมลเซิร์ฟเวอร์
         4.เมื่อเมลเซิร์ฟเวอร์ของคุณเพลงพิณ ได้รับอีเมลแล้วก็จะนำอีเมลนั้นจัดเก็บไว้ในเมลบ๊อกซ์(mail Box)ของคุณเพลงพิณเพื่อรอการเปิดอ่านต่อไป
         5.เมื่อคุณเพลงพิณ ต้องการอ่านอีเมลก็จะทำการสั่งให้เมลไคลเอนท์ของตนเองทำการดึงอีเมลที่อยู่ในเมลบ็อกซ์มาอ่าน
Pop
         กระบวน การส่งเมลจะสิ้นสุดเมื่อผู้ส่งสั่งให้เมลไคลเอนท์ส่งข้อมูลไปถึงเมลเซิร์ฟ เวอร์ชองผู้รับและอีกเมลนั้นจะถูกจัดเก็บไว้ในเมล์บ๊อกซ์ของรับที่เครื่องเม ลเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้น เมื่อเราของสมัครเป็นสมาชิกของเมลเซิร์ฟเวอร์ใดแล้ว เราจะได้พื้นที่ของเมลเซิร์ฟเพื่อเป็นเมลบ๊อกซ์ ของเราเมื่อต้องการอ่านจดหมายที่อยู่ในเมลบ๊อกซ์ จะต้องทำการล๊อกอินเข้าไป ดังนั้น เจ้าของเมลบ๊อกซ์เท่านั้นจึงจะสามารถอ่านจดหมายในกล่องเมลบ๊อกซ์ได้ การอ่านจดหมายก็จะใช้โปรแกรมอ่านข้อความ และเมลไคลเอนท์ จะต้องใช้โปรโตคอล เช่น pop,Imap เพื่อดึงอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์มากเก็บไว้ที่เครื่องไคลเอนท์ผู้ใช้ เพื่ออ่านอีเมลที่มีผู้ส่งมาถึงต่อไป
         Pop (Post Office portocol) คือ โปรโตคอลที่ใช้สำหรับอ่านเมลในเมล์บ๊อกซ์ ซึ่งปัจจุบันใช้pop เวอร์ชั่น 3 (pop3) การทำงานเริ่มจากไคลเอนท์สร้างการเชื่อมต่อแบบ TCP  กับเมลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งในระหว่างการเชื่อมต่อจะมีขั้นตอนในการเชื่อมต่ออยู่ 3 ระยะ คือ
         ระยะที่ 1 เมื่อไคลเอนท์สร้างการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟ เมื่อผู้ใช้บริการต้องการที่จะรับส่งอีเมลก็ต้องทำการล๊อกอิน คือ ชื่อผู้ใช้(Username)และรหัสผ่าน(password)เพื่อตรวจสอบสิทธ์ของการใช้งานในเมลบ๊อกซ์
         ระยะที่ 2 เป็นระยะของการดาวน์โหลดอีเมลจากเครื่องเมลเวอร์และระยะนี้ไคลเอนท์สามารถกำหนดการลบเมลออกจากเมลบ๊อกซ์
         ระยะที่ 3 เป็นระยะสุดท้ายในการสิ้นสุดการเชื่อมต่อ เมลเซิร์ฟเวอร์จะทำการลบอีเมลที่ผู้ใช้ต้องการ และสิ้นสุดการเชื่อมต่อ
         ซึ่ง pop3 นี้ผู้ใช้จะไม่สามารถจัดการเมลบ๊อกซ์ของตนเองได้ โดยสามารถทำได้เพียงการดาวน์โหลดเมล และลบเมลที่ไม่ต้องการเท่านั้น ถ้าจำนวนของจดหมายที่เข้ามาในเมลบ๊อกซ์มีจำนวนมากขึ้น จะทำให้การค้นหาเมลทำได้อยาก ผู้ใช้จะไม่สามารถสร้างโฟลเดอร์เพื่อใช้ในการจัดการข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์ได้
IMAP
         IMAP (Internet Message Access Protocol) คือโปรโตคอลที่ใช้ในการจัดการเมลบ๊อกซ์ซึ่งนำมาใช้แก้ปัญหาของ pop3 โดยโปรโตคอล IMAP  จะอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถจัดการเมลบ๊อกซ์ที่เซิร์ฟเวอร์ได้ และยังสามารถย้ายเมลจากโฟลเดอร์หนึ่งไปยังอีกโฟลเดอร์หนึ่งได้ และนอกจากนี้ยังได้จัดเก็บรายละเอียดของสถานะของเมลว่าได้ เช่น ดาวน์โหลดเฉพาะส่วนหัวข้ออีเมล หรือถ้าเป็นอีเมลที่มีไฟล์แนบ (Attachment)มาด้วย ผู้ใช้อาจกำหนดให้ดาวน์โหลดเฉพาะข้อความเท่านั้น ส่วนไฟล์ที่แนบอาจจะเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ก่อน
         ในการเชื่อมต่อแต่ครั้งของโตคอล IMAP เซิร์ฟเวอร์จะมีอยู่ 4 สถานะ ได้แก่ (จตุชัย แพงจันทร์ และคณะ 2547 : 228)
         1. Non-Authenticated State สถานะเริ่มเมื่อมีการสร้างการเชื่อมต่อในตอนแรกโดยในขั้นตอนนี้ไคลเอนท์ต้องชื่อล๊อกอิน และรหัสผ่าน เพื่อตรวจสอบสอบการใช้งานได้เท่านั้น
         2. Authenticated Stale :  เมื่อเซิร์ฟตรวจสอบผู้ใช้ผ่านแล้ว ขั้นตอนต่อไปผู้ใช้ต้องส่ง ข้อมูลว่าต้องการอ่าน หรือจัดการเมลที่อยู่ในโฟลเดอร์ใด
         3. Selected State :เมื่อเลือกโฟลเดอร์แล้วผู้ใช้ถึงมีสิทธ์จัดการเมลได้ เช่น ดาวน์โหลดย้ายโฟลเดอร์ ลบเมล หรือดาวน์โหลดบางส่วนเมล เป็นต้น
         4. Logout State  สถานะนี้เริ่มเมื่อผู้ใช้สิ้นสุดการเชื่อมต่อ หรือเซิร์ฟเวอร์ยกเลิกก็ได้
รูปแบบของอีเมล และอีเมลแอดเดรส
         ชื่อผู้ใช้ (Username) คือ ชื่ออะไรก็ได้ที่ผู้ขอใช้บริการอีเมลได้ตั้งขึ้น โดยจะต้อง                                             
         @  คือ อ่านว่า “แอท”  เป็นสัญลักษณ์ที่คั่นระหว่างชื่อและที่อยู่ขออีเมลแอดเดรส
         ที่อยู่ คือ  ชื่อเมนแนมของเว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล เช่น  hotmail.com Yahoo.com chaiyo.com ฯลฯ
ประเภทของอีเมล
         อีเมลได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการสื่อสารของใครยุคปัจจุบัน สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพราะ สะดวก ประหยัด และรวดเร็ว ดังนั้น การให้บริการอีเมลจึงมีหลายรูปแบบ ดังนี้
         1. อีเมลจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คือ อีเมลที่ได้มาเมื่อเราสมัครเป็นสมาชิกของผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)โดยการซื้อชั่งโมงการอินเทอร์เน็ตเป็นบริการเพิ่มเติมให้แก่ลูกค้า และเป็นบริการที่จะสามารถติดต่อกับสมาชิกได้อย่างรวดเร็วสำหรับการใช้บริการอีเมลรูปแบบนี้มักจะเกิดปัญหาคือ เมื่อเราเปลี่ยนการขอให้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเป็นบริษัทอื่น และขอปิดบัญชีการใช้บริการจากบริษัทเดิม อีเมลที่ได้จดทะเบียนไว้กับบริษัทเดิมจะถูกยกเลิกทันที หรือ เมื่อระยะเวลาในการให้บริการอินเทอร์เน็ตหมดลงอีกเมลก็จะหมดอายุการใช้งานด้วย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีเมลแอดรบ่อยครั้ง เหมือนกับคนที่ย้ายบ้านบบ่อย ๆ ถ้าไม่ใช้แจ้งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ให้กับผู้ที่ติดต่อด้วยจะทำให้การติดต่อไม่สามารถทำได้ เมื่อมีผู้ส่งจดหมายมาดารที่อยู่เดิมจะทำให้ไม่ได้รับจดหมาย และจดหมายจะถูกตีกลับไปยังผู้ส่งเช่นเดียวกับระบบการสื่อสารโดยผ่านทางไปรษณีย์
         2. อีเมลจากองค์กร เช่น บริษัท สถาบันการศึกษา หน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ซึ่งจะเป็นอีเมลที่ให้บริการเฉพาะกลุ่มบุคคลที่เป็นสมาชิกอยู่ภายใต้องค์กร นั้น ๆ เช่น Kulrapee@nvc-korat.ar.thโดยที่อยู่ Nvc-korat.ac.th  คือ  ชื่อโดเมนเนมของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมาซึ่งสมาชิกคือ บุคลากรภายในวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา เท่านั้น
         3. อีเมลฟรี คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการรับส่งจดหมายบนเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ตโดยไม่จำกัดกลุ่มบุคคล ซึ่งใครที่ต้องการใช้บริการก็สามารถที่จะเข้ามาลงทะเบียนเป็นสมาชิกเพื่อขออีเมลแอดเดรสได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เมื่อได้รับการลงทะเบียนเป็นสมาชิกของอีเมลนั้นแล้วก็จะได้รับพื้นที่ของเมล์บ๊อกซ์เพื่อจัดเก็บจดหมาย ซึ่งมีเว็บไซต์มากมายที่ให้บริการอีเมลฟรีแก่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg5bEv2Y7EI3p10gYY8U4QGX7fLQce7D1vYn8i0CMRimPEAmv0IyHTuDoeT-OcsoQUsxp0A32anDEAH3wk4Ruy5QELLXtJc-lZpA-NKdwPkYKA0Q0LUNvyqvkjmwfn6brRsOO7DbywEXdlf/s1600/1271.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiyIOkkYML36TZMtuYnhSx0KtHdxLuk6ehMnRwLSUr_Y_MtleXXP7D86vEfV88FYiGRyfB4ZLSeHgg-pR4_apcvIDkwGQk0cp50i3djUF1dmCLDABRQod-CNIZq59jx56k1Ea5R38FogTw0/s1600/1272.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhjQznAnrOJCSczTGPH7DqzFMvezXI_k_q7XOwnzEMUhmmco5Xoe9Y29IWy89urOefqiiZeTJiPvqZbCuoAlx395nRGKjoni1829lZD3QgOtrlI_Z93vC2Le32PseePBjAGKOfrZTjrIV1R/s1600/1273.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg14ixe-_WwUtS0LuSZCHelRuLfnZ4bQi8b9VS1JTSFPtjHFvPjtwqMaexrStsuhdTX712_59Qq8XK2HNX7s2MyxZBoMSFqJlG7Sfi_yxecD_p5AlbgJ4t_vWykHZraq08K8SqLmnfKfDg4/s1600/1274.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjxE5ykzAj5cI3XtZTaDuY8NCzj6sb5OCXu3vxsrCS3T9LEs8nABwTTzaMvWTMy7rf_DUZTzTcM6r0EMbEQP8xXdZnFk9cL2Macyzd_qS1LGy2UHWjy4F68OMJ1y71-aRuuyK5l9of0anYG/s1600/1275.jpg
         การใช้บริการอีเมลสามารถติดต่อสื่อสารได้กับทุกคนทั่วโลก นกจากการสื่อสารผ่านทางข้อความแล้ว ยังสามารถแนบไฟล์ข้อมูลอื่น ๆ ไปได้ด้วย เช่น รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวการ์ดอวยพร หรือ ไฟล์วีดีโอทำให้ประหยัดเพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ รวดเร็ว และการส่งอีเมลสามารถส่งจดหมายฉบับเดียวกันไปยังบุคลได้หลาย ๆ คน ในเวลาเดียวกัน
ขั้นตอนการขอใช้บริการอีเมล
         มีเว็บไซต์หลาย ๆ เว็บไซต์ที่เปิดบริการเมลเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้บริการด้านอีเมลแก่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป ซึ่งเป็นอีเมลฟรี โดยให้ผู้ใช้เลือกใช้บริการได้ แต่ละคนสามารถที่จะมีอีเมลแอดเดรสของตนเองได้เกินกว่า 1 อีเมลแอดเดรส โดยมีขั้นตอนในการสมัครขอใช้บริการอีเมลฟรีจากwww.yahoo.com ซึ่งสามารถสมัครได้ ดังต่อไปนี้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhiEdgrL9dDzpprmeDU2EybPqT8Kq-j0m6XwMuCD6dEpa4Kgtp4QH9R9IKB4OekEKHEYEPnFv8RZv4Gj9ng85OV10fc6dtU-BDwQfKaYTay81BfdF3vCx1BETwXTqT5pX-iE9VmPQRj6UWj/s1600/128-1.jpg
         1. พิมพ์ www.yahoo.com กด  Enter  เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ของ www.yahoo.com
         2. คลิกเลือกที่เมนู  Web
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi-EKzhJ3T-5jYASHXNFuBAOnX7p-8bPgqkpNs1TkP4GvPr_4TxuSEBTx3by4RpFHObHzxZWHBvjAc-4dxjt5f-ldHfj_Bwa2J8ES98iT5PpC3m1uRjAUzMPwuu2iAV003vPhQIa2yxwCMd/s1600/129-1.jpg
         3. คลิกเลือก Sign Up Now  จะแสดงรูปแบบการใช้บริการอีเมลที่เว็บไซต์นี้มีให้บริการโดยมีทั้งเป็นบริการอีเมลฟรี และเป็นบริการอีเมลที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
         4. คลิกเลือก Sign Up Yahoo! Mail เพื่อขอใช้บริการอีเมลฟรี
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiM0kFMPDZXRRkM0UMkkmYrkg8ucbXoWHt5EKVMSu5np2UmZbcnmJE1SZbfnJbwZiysofIlJLUC9gG1p8KRBxaoIuJOO5nDFCpRkOWrO9lBPlUAbs-FYt8VonIhXSOiBCVzKyoghylA248u/s1600/130-1+%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2587.jpg
         5. กรอรายละเอียดของผู้ขอใช้บริการเพื่อลงทะเบียนสมาชิก โดยแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังมีรายละเอียด ดังนี้
ส่วนที่ 1. Create Your! ID
         1. First Name               : ชื่อ
         2. Last Name               : นามสกุล
         3. Perferred content      : เลือก Yahoo! U.S.
         4. Gender                    : เพศ
         5. Yahoo! ID                : ชื่อผู้ใช้บริการ (Username)
         สมาชิกหรือยัง ถ้ามีแล้วไซต์จะแสดงชื่ออื่นมาให้เลือก โดยจะเลือก โดยจะนำมาจากชื่อและนามสกุลผู้ขอใช้บริการ  หรือให้ตั้งชื่อใหม่ เช่น
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhcK6UEJaz8FEBVGf91j6oBSWbdwMHHSqgDYIjcm05X3xJNz1IOllCRnU30VD5Rs3ku9UsKixUrjaNkgJEw1gXt_dLHqZg8dFIGs_NP46xwHptFzG5QI5Moa9hdylU0KKk8b42HDuV2Kg7c/s1600/131-1.jpg
         แต่ถ้าเป็นชื่อที่ยังไม่ซ้ำกับผู้ใดจะปรากฏหน้าต่าง ดังนี้
         7. Password                :  กำหนดรหัสผ่านต้องไม่ต่ำกว่า 6 ตัว
         8. Re-type Password    :  ป้อนรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเป็นการยืนยัน
ส่วนที่ 2 If You Forget Password…
         9. Security question     :  ให้เลือกคำถามเพื่อใช้ในกรณีที่เราลืมรหัสผ่าน
         10. Your answer          :  คำตอบสำหรับคำถามที่เราได้เลือกไว้ โดยจะต้องไม่ต่ำกว่า 4  ตัวอักษร
         11. Birthday                :  วัน เดือน ปีเกิด
         12. ZIP/Postal code     :  รหัสไปรษณีย์
         13. Country                :  ประเทศ
         14. Alternate E-mail    :  อีเมลอื่นๆ เช่น kulrapee@thaimail.com
                
ส่วนที่ 3 Customizing Yahoo!
         15.  Industry                :  อาชีพ
         16. Title                       :   ตำแหน่ง
ส่วนที่ 4 Verify Your Registration
         17. Enter the code shown  :  ให้พิมพ์ตัวเลขหรือตัวอักษรที่แสดงไว้ในกรอบ
                                            สี่เหลี่ยมด้านล่างเป็นการตรวจสอบการลงทะเบียน
ส่วนที่ 5 Terms of Service
         จะแสดงข้อตกลงในการลงทะเบียนเป็นสมาชิก โดยถ้าเลือก
         I Agree                           :    ยอมรับข้อตกลง และจะได้รับการลงทะเบียนเป็นสมาชิก
         I Do Not Agree                :  ถ้าไม่ยอมรับข้อตกลงก็จะถูกยกเลิกการ
                                                 ลงทะเบียนเป็นสมาชิก เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อย
                                                 แล้วจะแสดงการตอบรับ ดังนี้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh4YKpfer7ftMDRCsm9FIWegqg_sm1I6Kw2A66paXe2PFKoBbD6Um5AYrPs_K6wTZNlmyaERLioXnu9Bnr1YhY_2hHFRBFOqk1k4aC05IpfALspzeLFiGpZlRT9-PW-3wjotQzGwf_BGiqD/s1600/132-1.jpg
         หลังจากได้รับการตอบรับจากเว็บไซต์แล้ว ก็จะทำให้เราสามารถมีอีเมลแอดเดรสเป็นของตนเอง เพื่อใช้ในการสื่อสารทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
การเขียนและการส่งจดหมาย
         ขั้นตอนการเขียนและการส่งจดหมายสามารถทำได้ ดังต่อไปนี้
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiro40CHucrda-5jZrCRjK_sY1N2eZ1WHn8mUL1UfYpIZZUpb7I9pHX9FP4wm4acTAFsP95oD1cLFsywaUfsTM-3Z-SO6M0HiXfjP4tRKa7SIg6fYL6xnDAwXvvdK7raKLafK3dGn_dtNT9/s1600/133-1.jpg
         1. ทำการ Log in เพื่อเปิดเมลบ๊อกซ์ขึ้นมาใช้งาน โดยต้องกำหนด ดังนี้
                  Yahoo! ID   :  ชื่อผู้ใช้บริการ (Username)
                  Password    :  รหัสผ่านที่ได้กำหนดไว้
         Remember my ID on this computer :  เมื่อคลิกเลือกแล้วจะทำให้ในครั้งต่อไป หลังจาก
กำหนด Yahoo! ID แล้วจะไม่ต้องป้อนรหัสผ่านในการ Log in อีก เพราะได้จำรหัสผ่านไว้ให้
         2. Sign in  :  คลิกที่ Sign in เพื่อทำการตรวจสอบ Yahoo! ID และ Password เมื่อถูกต้องแล้วจึงจะสามารถเข้าไปใช้งานภายใน Yahoo! Mail ได้
         3. หลังจากตรวจสอบ Yahoo! ID และ Password ถูกต้องแล้วจะปรากฏหน้าจอ ดังนี้ 
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjNwwAQLexGXt-h6ksaaBWK5owZ_8z6n0WS5gvuzFMX_A1d8Fis4VEi1ws35TwymYlntZn2vCwcPncnPZgIEUSzrABHTGUFG8ixeRYhQtNMKrLSvZUOuho3QzVlzHGOUhFt4mKmlXPt3thk/s1600/134-1.jpg
         4. ถ้าต้องการตรวจสอบจดหมายที่เข้ามาในเมลบ็อกซ์ ให้คลิกที่  Check Mail
         5. ถ้าต้องการที่จะเขียนจดหมายให้คลิกที่ Compose
                      
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgtUE2eHBH254NM11ifNOVUrTC7hRYhA3c9nttKBlA0f49qAnOaQwFWv2DUlVwZmnKtehyw-2wSJHBFp7wQmug0teY-qDuCIduj2DlSp0_S5rG0va_qZweQVcoBpNbJj3lUreK8PHbfqIJj/s1600/134-2.jpg
         องค์ประกอบของจดหมายจะประกอบด้วย 3 ส่วนดังต่อไปนี้
  ส่วนของหัวเรื่อง ประกอบด้วย
         1. To                  :  อีเมลแอดเดรสของผู้รับจดหมาย เช่น kulrapee@thaimil.com
         2. Subject           : หัวเรื่องของจดหมาย
         3. Attach Files     : การแนบไฟล์ชนิดต่างๆ ไปกับจดหมาย เช่น ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgjCmLLTEO_p5Uu6Krl30KOK3HwUMLK9R1YsBRXepbkpSGTFi0YtJRINz5j0YDAT4tLRtqNyvnpot-5iMD7HOeuR055RC_qCp9lfffhV1bpUIVOissUY06orKLMhj4gYZbBMjQaoeRwNd-q/s1600/135-1.jpg

 เมื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการแนบได้แล้ว
               Attach Files   : สั่งให้นำไฟล์ที่เลือกไปแนบกับจดหมายที่ต้องการส่ง
               Cancel          :  ยกเลิกการแนบไฟล์
ส่วนที่ใช้สำหรับการเขียนจดหมาย
               จะคล้ายกับกระดาษเปล่า แต่จะสามารถเลือกรูปแบบของการเขียนจดหมายได้หลากหลายมากกว่าการเขียนจดหมายลงบนกระดาษเปล่าทั่วไป  ซึ่งจะช่วยทำให้จดหมายดูน่าสนใจยิ่งขึ้น
         หมายเลข  1. Spell Check               ตรวจสอบคำผิด
         หมายเลข  2. Cut                           การตัดข้อความ
         หมายเลข  3. Copy                         การคัดลอกข้อความ
         หมายเลข  4. Paste                         การวางข้อความ
         หมายเลข  5. Font Face                   รูปแบบตัวอักษร
         หมายเลข  6. Font Size                    ขนาดของตัวอักษร
         หมายเลข  7. Bold                           ตัวอักษรแบบตัวหนา
         หมายเลข  8. Italic                          ตัวอักษรแบบตัวเอียง
         หมายเลข  9. Underline                    การเขียนเส้นใต้ข้อความ
         หมายเลข  10. Text Color                 กำหนดสีของตัวอักษร
         หมายเลข  11. Highlight Color           สีสำหรับการเน้นข้อความ หรือตัวอักษร
         หมายเลข  12. Insert Emotion           สัญลักษณ์แสดงอารมณ์และความรู้สึกแบบต่างๆ
         หมายเลข  13. Create Hyperlink        การสร้างการเชื่อมโยง (Link)
         หมายเลข  14. Align Text                 การจัดรูปแบบการพิมพ์ เช่น กึ่งกลาง ชิดซ้าย ชิดขวา
         หมายเลข  15. List                            การเลือกหัวข้อแบ่งออกเป็น
                  Numbered List :                     หัวข้อเป็นรูปแบบของตัวเลข
                  Bulleted List     :                    หัวข้อเป็นรูปแบบของสัญลักษณ์
         หมายเลข  16. Decrease Indent         การลดย่อหน้า
         หมายเลข  17. Increase Indent          การเพิ่มย่อหน้า
         หมายเลข  18. Apply Stationery         การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการใช้อีเมล
คำสั่งสำหรับการส่งจดหมาย
ส่วนที่ 1 คำสั่งที่ใช้สำหรับการส่งจดหมาย
         Send : คำสั่งเพื่อให้เมลไคลเอนท์ทำการส่งจดหมาย
         Save as draft : บันทึกจดหมายเป็นสำเนาเก็บไว้เพื่อสามารถตรวจสอบจดหมายภายหลังได้
         Cancel : ยกเลิกการส่งจดหมาย
ส่วนที่ 2 Use my signature
         เปรียบเสมือนกับการเขียนจดหมายด้วยกระดาษพร้อมทั้งเซ็นลายมือชื่อกำกับในจดหมายด้วย เพื่อป้องกันการปลอมแปลงจดหมาย
         เมื่อได้จัดส่งจดหมายให้เรียบร้อยแล้ว yahoo! Mail จะแจ้งให้ผู้ขอให้บริการทราบทันที เพื่อจะได้ทราบว่าจดหมายที่ถูกส่งไปนั้นได้ถึงมือผู้รับแล้ว หรือมีปัญหาในการส่งจดหมายเกิดขึ้น
         เมื่อจดหมายที่ส่งไปแล้วไม่สามารถที่จะส่งไปถึงมือผู้รับได้ เช่น กรณีที่ที่อยู่ของผู้รับไม่ถูกต้อง จะแจ้งการตีกลับของจดหมายมายังผู้ส่ง
องค์ประกอบภายในกล่องจดหมาย
         เมนูหลัก ประกอบด้วย 4 เมนู ดังต่อไปนี้
1. Inbox  : กล่องจดหมายเข้า
         จะแสดงจดหมายที่มีอยู่ในกล่องจดหมายทั้งหมด โดยจะจัดเรียงตามวันที่ของจดหมายที่เข้ามา
2. Sent    : กล่องจดหมายออก
         จะแสดงจดหมายที่ได้เขียนและส่งออกไปยังผู้รับ โดยจะจัดเรียงตามลำดับของการส่งจดหมายออกก่อนหลัง
3. Draft   : กล่องเก็บสำเนาจดหมาย
         ในบางครั้งเมื่อส่งจดหมายออกไปแล้วจ้องการที่จะเก็บจดหมายไว้เพื่ออ่าน หรือเพื่อดูว่าได้ส่งจดหมายไปยังใครบ้าง หรือเมื่อต้องการที่จะส่งจดหมายฉบับเดิมอีกก็จะไม่ต้องเสียเวลาในการเขียนจดหมายใหม่ สามารถนำจดหมายที่อยู่ในกล่องเก็บสำเนาจดหมายมาใช้ส่งต่อไปยังผู้รับได้เลย เช่นเดียวกับวิธีของงานธุรการด้านเอกสารที่เมื่อได้ทำหนังสือของหน่วยงานส่งออกไปยังหน่วยงานอื่นๆ แล้ว จำเป็นที่จะต้องเก็บสำเนาไว้เพื่อที่จะสามารถกลับมาตรวจอบการส่งจดหมาย หรือเพื่อที่จะสามารถค้นหาเอกสารที่ได้ทำการส่งไปแล้วในภายหลังได้
4. Trash   : ถังขยะ
         เมื่อเราได้อ่านจดหมายจากกล่องจดหมายเข้าเรียบร้อยแล้ว ก็ควรจะลบจดหมายฉบับนั้นออก เพราการสมัครอีเมล์ฟรีนั้น เมล์เซิร์ฟเวอร์จะให้พื้นที่ในการจัดเก็บจดหมายจำนวนไม่มากนัก เช่น 10 MB, 5 MB, 2 MB เป็นต้น ดังนั้น ถ้าภายในกล่องจดหมายเรา
เก็บจดหมายไว้มาก จะทำให้พื้นที่ของกล่องจดหมายเต็มแล้วจะไม่สามารถ รับจดหมายอื่นๆ ที่จะเข้ามาใหม่ได้อีกเพราะกล่องรับจดหมายเต็มแล้ว
Addresses
         Addresses คือ การบันทึกอีเมล์แอดเดรสของบุคคลต่างๆ ไว้ในเมล์บ็อกซ์เช่นเดียวกับการบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ของเพื่อนไว้ในเครื่องโทรศัพท์มือถือ เพื่อสะดวกในการสื่อสารกันในครั้งต่อไป ซึ่งเราจะไม่ต้องพิมพ์อีเมล์แอดเดรสของบุคคลคนนั้นอีก เพียงแต่เปิดดูเมนูแอดเดรสขึ้นมาแล้วจะสามารถเลือกที่อยู่ของบุคคลที่ต้องการเขียนจดหมายไปถึงได้ทันที
         เมื่อเราส่งจดหมาย จะสามารถกำหนดให้บันทึกอีเมล์แอดเดรสที่ได้ส่งจดหมายออกไปนั้นเก็บไว้ใน Addresses ได้ทันที เพียงแต่คลิก Add to Addresses Book
         โดยสามารถกำหนดได้ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
         1. เมื่อกำหนดให้ส่งจดหมายจากเมล์ไคลเอนท์เรียบร้อยแล้ว จะแสดงชื่อของอีเมล์แอดเดรสที่ได้ทำการส่งจดหมายไปให้ เพื่อแจ้งผลของการส่งว่าได้สามารถจัดส่งจดหมายจากเมล์ไคลเอนท์ของผู้ส่งไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์ของผู้รับเรียบร้อยแล้ว
         2. ถ้าต้องการบันทึกอีเมล์แอดเดรสที่ได้ทำการจัดส่งจดหมายเรียบร้อยแล้ว จะมีเมนูคำสั่งให้เลือกอยู่ด้านล่างว่า  "Add to Addresses Book" ให้ทำการคลิกได้เรื่อง
         3. จะปรากฏหน้าต่างสำหรับให้กำหนดรายละเอียดของเจ้าของอีเมล์ที่ต้องการบันทึกไว้ ดังนี้
         First Name   : ชื่อ
         Last Name    : นามสกุล
         Nickname     : ชื่อเล่น
         4. จะปรากฏหน้าต่างแสดงรายละเอียดของอีเมล์ที่ได้ทำการบันทึกไว้เรียบร้อยแล้ว
         5. โดยจะมีปุ่มคำสั่งให้สามารถเลือกการทำงานได้ ดังต่อไปนี้
         Delete : ลบอีเมล์แอดเดรสที่ได้ทำการบันทึกแล้ว
         Send Mail : เมื่อต้องการส่งจดหมาย โดยเลือกที่อยู่จากอีเมล์ที่ได้บันทึกไว้
         Move to Category... : จัดกลุ่มของอีเมล์แอดเดรส
         6. การจัดกลุ่มของอีเมล์แอดเดรส เมื่อคลิกที่ Move to Category...
         เลือกที่ [New Category] และกำหนดชื่อของโฟลเดอร์ที่ต้องการจัดเก็บอีเมล์แอดเดรสพร้อมทั้งเลือกชื่อเจ้าของอีเมล์ที่ได้บันทึกรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว เพื่อนำไปจัดเก็บในโฟลเดอร์ที่ได้กำหนดขึ้นจาก Selected Contacts :
         เมื่อกำหนดทั้งโฟลเดอร์ที่ต้องการจัดเก็บอีเมล์แอดเดรส และเลือกชื่อเจ้าอีเมล์ที่ต้องการจัดเก็บแล้ว ให้คลิกเลือกที่ Move Contacts เพื่อทำการบันทึกต่อไป
         ถ้ากำหนดทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ต้องการจัดเก็บ ให้คลิกที่ Cancel เพื่อยกเลิกการทำงาน
Calendar
         Calendar คือ ปฏิทินสำหรับบันทึกตารางการปฏิบัติงาน โดยจัดแบ่งเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ปี และเรียงตามเหตุการณ์ เพื่อช่วยให้สะดวกในการค้นหา
Notepad
         Notepad เปรียบเสมือนสมุดบันทึกช่วยจำ โดยให้พิมพ์ข้อความต่างๆ ที่ต้องการบันทึกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ และสามารถที่จะเปิดออกมาอ่านเมื่อใดก็ได้ โดยกำหนดการบันทึกได้ ดังต่อไปนี้
                       
         1. เลือกเมนู Notepad
         2. พิมพ์ข้อความที่ต้องการบันทึกในช่อง Notes
         3. ถ้ายังไม่มีโฟลเดอร์ที่ต้องการจัดเก็บเลือกที่ Save and Add Another จะปรากฏข้อความเพื่อให้กำหนดชื่อของโฟลเดอร์ใหม่
         4. ถ้าได้กำหนดโฟลเดอร์ไว้แล้วจะสามารถเลือกชื่อโฟลเดอร์ที่ต้องการจัดเก็บจากช่องFolder ได้ทันที
         5. แสดงรายการที่ได้บันทึกไว้ใน Notepad
         6. ถ้าต้องการเพิ่มบันทึกข้อความ ให้คลิกที่ Add Note
         7. ถ้าต้องการเมโฟลเดอร์ ให้เลือกที่ Add Folder
         8. เมื่อต้องการที่จะอ่านบันทึกเรื่องใด ให้คลิกที่เรื่องนั้น จะปรากฏเนื้อหาของข้อความทั้งหมดออกมา
         9. แต่ถ้าต้องการลบบันทึกข้อความเรื่องใด ให้คลิกเลือกที่ช่องด้านหน้าข้อความนั้น จะปรากฏเครื่องหมาย สี่เหลี่ยมข้างในมีเครื่องหมายถูก แล้วให้คลิกที่ Delete จะทำการลบบันทึกข้อความที่เลือกนั้นทันที
การอ่านจดหมาย
         ภายในกล่องจดหมายเข้า จะแสดงจดหมายที่อยู่ภายใต้กล่องเก็บจดหมายนี้ เมื่อเราคลิกที่Inbox จะปรากฏรายการของจดหมายที่มีอยู่ ถ้าต้องการที่จะอ่านจดหมายฉบับใด ให้คลิกที่ตัวจดหมายนั้น แล้วจะแสดงรายละเอียดของเนื้อหาในจดหมายพร้อมทั้งจะมีหัวจดหมายเพื่อให้เราทราบถึงที่มาของจดหมายได้ ดังนี้
         Date      : วันที่ได้รับจดหมาย
         From      : ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งจดหมาย
         Subject   : หัวเรื่องของจดหมาย
         To          : ที่อยู่ของผู้รับ
การตอบจดหมายกลับ
         เมื่ออ่านจดหมายแล้วต้องการที่จะส่งจดหมายเพื่อตอบกลับไปยังผู้ส่ง สามารถเลือก Reply เราจะไม่ต้องพิมพ์ชื่อผู้รับอีก เพราอีเมล์จะนำชื่อของผู้ส่ง มาชื่อผู้รับ พร้อมทั้งชื่อเรื่องก็จะเป็นชื่อเรื่องเดิม ทำให้ผู้รับจดหมายสามารถเข้าใจเนื้อหาของจดหมายได้ดียิ่งขึ้น โดยกำหนดการส่งได้ ดังนี้
         1. Reply To Sender          : ตอบจดหมายกลับไปยังผู้ส่ง
         2. Reply To Everyone      : ตอบกลับทุกคน
         เมื่อตอบจดหมายเรียบร้อยแล้ว สามารถที่จะเลือก
         1. Send เพื่อส่งจดหมาย
         2. Save as a Draft เพื่อบันทึกจดหมายไว้ที่กล่องเก็บสำเนาจดหมาย
         3. Cancel ยกเลิกการส่งจดหมาย
การส่งต่อจดหมาย
     
         การส่งต่อจดหมาย หมายความว่า เมื่อเราส่งจดหมายฉบับนี้ไปยังบุคคลอื่นๆ อีก คล้ายกับระบบจดหมายเวียนที่สามารถส่งต่อไปยังบุคคลอื่นๆ ได้อีกเป็นจำนวนมาก โดยไม่ต้องเสียงเวลาที่จะเขียนจดหมายทีละฉบับเพื่อส่งให้แต่ละคน จะเป็นการช่วยลดเวลาในการเขียนจดหมาย และยังสามารถทำเป็นสำเนาเพื่อส่งต่อไปยังบุคคลอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยวิธีการส่งต่อจดหมายสามารถทำได้ ดังนี้
         เมื่อคลิกเลือกจดหมายขึ้นมาอ่านแล้ว จะทำการส่งต่อไปให้เพื่อนคคนอื่นอีก ให้เลือกที่Forward จะปรากฏเมนูให้เลือก ดังนี้
         1. As Inline Test     : จะปรากฏเนื้อหาเดิมของจดหมายที่เราได้รับแสดงออกมาเพียงแต่พิมพ์ที่อยู่ของผู้รับลงไปเราก็สามารถทำการส่งต่อจดหมายไปยังผู้อื่นได้ โดยที่มีเนื้อหาของจดหมายเหมือนเดิม และสามารถเพิ่มเติมข้อความใหม่ได้
         2. As Attachment   : เป็นการทำจดหมายที่ต้องการส่งต่อไปยังบุคคลอื่น ให้เป็นการแนบไฟล์ข้อมูล เช่น เมื่อเราได้รับข่าวสารที่สำคัญมาทางอีเมล์ แล้วต้องการส่งต่อไปให้เพื่อน สามารถที่จะทำไฟล์นั้นให้เป็นการแนบไฟล์เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลได้
การลบจดหมาย
         เมื่อได้อ่านจดหมายแล้ว แบะถ้าไม่ต้องการเก็บจดหมายฉบับนี้ไว้อ่านอีก เราก็จะทำการลบจดหมายฉบับนั้นทิ้ง เพราะการใช้งานในอีเมลนั้นเราจะได้รับเนื้อที่จากเมลเซิร์ฟเวอร์ในการเก็บจดหมายจำหน่วยจำกัด ขึ้นอยู่กับแต่ละเมลเซิร์ฟเวอร์จะกำหนด ดังนั้น ถ้าเราเก็บจดหมายทุกฉบับไว้ก็จะทำให้ตู้เก็บจดหมายของเราเต็มได้ หรือจำนวนจดหมายที่มากเกินไปเมื่อเราต้องการที่จะอ่านจดหมายฉบับเก่าอาจต้องใช้เวลานานในการค้นหาจดหมายฉบับนั้น ดังนั้น เราจึงต้องทำการลบจดหมายที่ไม่ต้องการทิ้งไปจากกล่องเก็บจดหมายของเรา
         ซึ่งวิธีในการลบจดหมายทิ้งสามารถทำได้ ดังนี้
         1. คลิกไปที่กล่องจดหมายเข้า (Inbox) เพื่อให้รายการของจดหมายที่อยู่ในกล่องจดหมายทั้งหมดออกมา
         2. เมื่อต้องการลบจดหมายฉบับใด ให้คลิกที่กรอบสื่เหลี่ยมที่อยู่หน้าจดหมายแต่ละฉบับจะเกิดสัญลักษณ์ ü
         3. ให้คลิกเลือกปุ่มคำสั่ง Delete เพื่อสั่งให้ลบจดหมายออกจากกล่องจดหมาย
         4. จะแสดงข้อความเพื่อให้ยืนยันความต้องการที่จะลบจดหมายจากกล่องเก็บจดหมายเมื่อต้องการที่จะลบจดหมายฉบับนั้นจริง ให้คลิกเลือกที่ปุ่ม Delete แต่ถ้ายังไม่ต้องการลบจดหมายออก ให้คลิกที่ปุ่ม Don’t Delete แล้วจดหมายจะไม่ถูกลบออกจากกล่องเก็บจดหมาย
         เพียงทำตามขั้นตอนดังกล่าวแล้ว จะทำให้เราสามารถลบจดหมายที่ไม่ต้องการออกจากกล่องเก็บจดหมายได้ แต่การลบจดหมายนั้น จดหมายที่ถูกทำการลบออกไปแล้วจะยังไม่ถูกลบออกไปจากหน่วยความจำอย่างแท้จริง แต่จะถูกนำไปทิ้งไว้ที่ขยะ (Trash) เช่นเดียวกับการลบไฟล์ต่างๆ ของMicrosoft Windows ที่จะนำไฟล์ที่ถูกลบไปเก็บไว้ที่ Recycle Bin ซึ่งจะสามารถกู้จดหมายที่ถูกลบไปแล้วกลับคืนมาได้
การกู้จดหมายกลับคืน
         การกู้จดหมายกลับคืนสามารถทำได้ ดังต่อไปนี้
         1. คลิกที่ Trash
         2. คลิกเลือกจดหมายที่ต้องการกู้กลับคืน
         3. คลิกที่ Move เพื่อกำหนดสถานที่ที่จะนำจดหมายจากถังขยะ (Trash) ไปเก็บไว้
                  1. [New Folder] ให้สร้างโฟลเดอร์ใหม่ที่ต้องการจะเก็บจดหมาย หรือ
                  2. Inbox ให้นำจดหมายไปเก็บไว้ในกล่องจดหมายเข้า หรือ ถ้าได้มีการสร้างโฟลเดอร์ไว้แล้ว จะแสดงชื่อของโฟลเดอร์นั้นออกมากแสดงเพื่อให้เราเลือก
         4. แต่ถ้าต้องการลบจดหมายฉบับนี้ออกจากถังขยะ (Trash) ก็เพียงแต่คลิกเลือกจดหมายแล้วให้คลิกที่ Delete จะเป็นการลบจดหมายออกจากถังขยะ (Trash) ทันที และจะไม่สามารถกู้จดหมายกลับคืนได้อีกต่อไป
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiEGrqPoxwRR8D1sR59kSonT2euyUtf54l7gWwKSU9luj7cEQG5fKM3JS3vK3AUCk6KuasR1NlhrgPZkHoz74UeRc6cPSWe1Lr2Tcx5QBz2UlFroLUUo_ReXIwrgjFlDZiwB1eqhz6_bx19/s1600/160-2.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgRnfctzm7GpEKfEslGwT26ODpjeJ-Eeu7HANwwWIRVZXPPSnnGm_NEJclN9OmsjjKOTTdd5AuMoMBT_Z7MZvgJMep46vlTFfJDDiky9YD-J-mkiN7_yeSwe4B-PATietOsfgcMDWFvZ2gv/s1600/160-3.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhJQQibW9HWtMKZ3qyKGGA1MhG5vWA9KtXH1PdtOo6SdpF9Et_uf9DDqkpVkGj79bwG6KHQryQxth3h33PBLlbcwZsQJOY3MWYhBN06Jrdn7SrQGdxuCbdq4jlnUSVGkwDjBSZ9aqAxCkQ7/s1600/160-.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjmj39fc__2c6FKzzYSx4c1i8eFiMfzV8U8xuYXPa4beusZeqkZMaOwAP9wjZmb-nocTOGRcZh1bUvwe7fquOe0n29_uNsxQPbton-LzWfoDGstRSAAaAB-Ge3Tj68O8jwcw-ZHwMrwTdHE/s1600/160-4.jpg
http://somrutai4.blogspot.com/2012/11/6.html
8.การใช้บริการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตแบบเครือข่ายสังคม(social network)
 นยุคที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว รูปแบบการสื่อสารได้มีวิวัฒนาการจากการใช้นกพิราบสื่อสาร ไปเป็นการใช้โทรเลข โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และเข้าสู่ยุคของอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบในติดต่อสื่อสารมาแล้ว 2 ยุคนั่นคือ 


        ยุคเว็บ 1.0 ยุค ของการสนทนาแบบจุดต่อจุด (Point-to-point) เป็นการสื่อสารระหว่างผู้สร้างเว็บ (Webmaster) กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการบนเว็บนั้นๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) ที่ผู้ใช้เว็บไม่สามารถตอบโต้ หรือแก้ไขข้อมูลต่างๆ ได้ ซึ่งรูปแบบหรือเนื้อหาที่สื่อสารถึงกันนั้นจะมีลักษณะเป็นการรับ-ส่งอีเมล์ (E-Mail), เข้าแชตรูม (Chat Room), ดาวน์โหลดภาพและเสียง หรือไม่ก็ใช้การค้นหาผ่านเว็บ Search Engine เพื่อหาข้อมูลหรือรายงาน รวมทั้งการใช้ Web board เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เช่น Instant Messaging Program หรือ IM อาทิ MSN, Yahoo Messenger, Google Talk, Chat และ ICQ

        ในขณะที่ ยุคเว็บ 2.0 เป็นการ สื่อสารระหว่างผู้สร้างเว็บกับผู้ที่ใช้เว็บแบบตอบโต้กันไปมาได้ เรียกว่า การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) ซึ่งเนื้อหาบนเว็บนั้นนอกจากผู้สร้างเว็บจะเป็นคนนำเสนอข้อมูลแล้ว ผู้ที่เข้ามาอ่านก็สามารถสร้างเนื้อหาหรือตอบโต้กันเองได้และมีการสื่อสาร กันเป็นจำนวนมากจาก 1 ไปเป็น 2 3 จนกลายเป็นสังคมเครือข่าย (Social Networking) ซึ่งลักษณะของการสื่อสารกันนั้นจะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน การแบ่งปันสิ่งที่ตนเองมีในลักษณะของการร่วมกันผลิตเนื้อหาและข้อมูลภายใน เว็บ การร่วมกันสร้างสรรค์ (Co-Creation) ขยาย (Extend) และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (Connect) ระหว่างผู้ใช้ด้วยกัน อีกทั้ง ยังมุ่งเน้นให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและเป็นรูปแบบที่มีความเฉพาะ ตัวของแต่ละบุคคล เช่น Wikipedia, Weblog, Facebook, Hi5, YouTube, Myspace, Twitter เป็นต้น และหากจะพิจารณาความแตกต่างของ เว็บ 1.0 และ 2.0 สามารถสรุปได้ดังนี้


        ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมการสื่อสารแบบออนไลน์ได้สะท้อนให้เห็นถึง ความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวของแนวโน้มการสื่อสารที่สำคัญใน 2 ด้าน ได้แก่

         1. รูปแบบการสื่อสาร (Communication Platform) ที่ ค่อยๆ เปลี่ยนจากการสนทนาแบบจุดต่อจุด (Point-to-point) และแบบสองทาง (Two-way) ไปสู่การสื่อสารระหว่างผู้ใช้หลายคน (Many-to-many) มากขึ้น และมีการใช้ลิงก์, วิดีโอ, ภาพถ่าย และเนื้อหามัลติมีเดียมากขึ้น โดยการขับเคลื่อนของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Net Generation ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้รูปแบบการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไป คนกลุ่มนี้ชื่นชอบการแลกเปลี่ยนเนื้อหา การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และเติบโตมาพร้อมกับแนวคิด “ความฉลาดของฝูงชน” (Wisdom of Crowds) อาทิ การทำหน้าที่ให้คะแนน จัดอันดับผู้ใช้คนอื่นๆ รวมถึงจัดอันดับสินค้าและบริการ เป็นต้น สังคมออนไลน์จึงกลายเป็นช่องทางการสื่อสารหลักสำหรับคนกลุ่มนี้ ซึ่งในอนาคตอาจเข้ามาแทนที่อีเมล หรือโทรศัพท์

         2. การควบคุมการสื่อสาร (Communication Control) การ เปลี่ยนบทบาทของผู้ให้บริการโทรคมนาคมจากที่เคยเป็นผู้ควบคุม และออกแบบแพลตฟอร์มแบบปิด (Web 1.0) ไปสู่ผู้ให้บริการบนแพลตฟอร์มเปิดบนอินเทอร์เน็ต (Web 2.0) ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ดีขึ้นและมีราคาถูกลง รวมถึงการใช้บรอดแบนด์ และเครือข่ายไร้สาย (Wireless) เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้แพลตฟอร์มแบบเปิดอย่าง เว็บไซต์สังคมออนไลน์ กลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับบริการสื่อสาร และผู้บริโภคก็ตอบสนองต่อแนวโน้มนี้อย่างกว้างขวาง

แนวโน้มและพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต
         ในปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลผ่านบอร์ดแบนด์ (Broadband) หรือ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Hi-Speed Internet) เป็นปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นใน อัตราที่สูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2552 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 16.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 13.4 ล้านคน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากมุมมองของการเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตเทียบกับจำนวน ประชากรทั้งประเทศกลับพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตต่อประชากรอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อ เทียบกับประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น สาเหตุสำคัญที่สัดส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยยังค่อนข้างน้อย เพราะโครงข่ายอินเทอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเฉพาะโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของผู้สมัครใช้งานอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ทั้งแบบใช้สายและไร้ สายก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่แนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบธรรมดาในระบบความถี่แคบ (Narrowband) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up) กลับเริ่มมีปริมาณการใช้งานลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 นอกจากนั้น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมอย่างเห็นได้ชัด และมีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง คือการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) ซึ่งได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี 3G เพื่อให้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือสามารถรองรับการให้บริการภาพและเสียง และการรับส่งข้อมูลต่างๆ ผ่านเทคโนโลยี  WAP, GPRS, EDGE และ Bluetooth เป็นต้น

         จากรายงาน The Wave 3 Report ของ Universal McCann (
www.universalmccann.com) ที่ได้สำรวจพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของคนทั่วโลกปี 2008 พบว่า คนส่วนใหญ่ 82.9% นิยมดู Clip VDO, 72.8% นิยามอ่าน Webblog, 63.2% นิยมเว็บไซต์แชร์รูปภาพ, 57.3% Update Profile บนเว็บ Social network, 45.8% การแสดงความคิดเห็น หรือ Comment, 38.7% เริ่มเขียนและมี Webblog เป็นของตัวเอง, 38.5% Upload VDO และแชร์บนเว็บไซต์ และ 33.7% เคยใช้ RSS feeds

         ด้านรายงาน 20 อันดับของ Social Media ปี 2008 ที่จัดทำโดย ComScore (
www.comscore.com) ผู้นำในการรวบรวมสถิติในโลกดิจิตอลพบว่า Blogger ยังคงความเป็นผู้นำด้วยยอดผู้เข้าใช้ว่า 222 ล้านรายทั่วโลก ตามมาด้วย Facebook มีจำนวนผู้ใช้ 200 ล้านราย ส่วนอันดับต่อมาคือ MySpace ด้วยยอดผู้ใช้ 126 ล้านราย Wordpress 114 ล้านราย Windows Live Spaces 87 ล้านราย ส่วนอันดับ 6-10 ได้แก่ Yahoo Geocities 69 ล้านราย Flickr 64 ล้านราย Hi5 58 ล้านราย Orkut 46 ล้านราย และ Six Apart 46 ล้านราย และพบว่า จำนวนผู้ใช้ twitter มีการเติบโตขึ้น 95% หรือประมาณ 51.6 ล้านราย

         สำหรับประเทศไทยผู้ที่เข้าใช้ twitter ยังมีจำนวนไม่มากนักเพียง 300,000 ราย และส่วนใหญ่เป็น Generation Y และ Generation D (Digital) ซึ่ง Alexa (
www.alexa.com) ระบุว่า คนไทยให้ความนิยม twitter ติดอันดับที่ 27 ของโลก ดังนั้น จะเห็นว่า พฤติกรรมบนโลกออนไลน์นั้นได้ก้าวเข้าสู่เว็บ 2.0 อย่างเต็มตัว

         ด้วยข้อมูลอ้างอิงข้างต้น ทำให้เห็นว่า แนวโน้มของการบริโภคสื่ออินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะโลกของสังคมเครือข่าย (Social Networking) ทั้งการอัพโหลดข้อมูล การแชร์รูปภาพ การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บบล็อก ต่างก็กำลังเข้าสู่กระแสของสังคม ความนิยมมิได้เกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่อายุ 15-30 ปี ที่เรียกกันว่า Generation Y, Z หรือ D ที่เป็นนักเรียน นักศึกษาเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงกลุ่มคนวัยทำงาน ทั้งระดับพนักงาน ผู้บริหาร นักวิชาการ นักวิชาชีพ รวมถึง นักการเมือง ศิลปิน ดารา และคนสูงอายุที่หันมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์ผ่านสังคม เครือข่ายนี้อย่างมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น การสังคมเครือข่ายยังสามารถเข้าถึงได้ไม่จำกัดเวลา (Time) และพื้นที่ (Space) เพราะทุกที่ ทุกเวลาสามารถทำการติดต่อสื่อสารได้หากสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ที่สำคัญโลกของการสื่อสารออนไลน์ก็ได้ย้ายเข้ามาสู่โทรศัพท์มือถือที่สามารถ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และมีแอบพลิเคชั่น รวมทั้งแพลตฟอร์มต่างๆ ให้สามารถใช้สื่อสารได้ เช่น เว็บไซต์ 
www.shozo.com หรือ www.qik.com ที่อัพโหลดรูปถ่ายไปยังเว็บไซต์โฟโต้แชร์ริ่ง อย่าง www.flickr.com โทรศัพท์ มือถือจึงได้กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ทำให้เป็นการเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงโลกของสังคมเครือข่าย และยังเป็นการเพิ่มปริมาณของคนในสังคมออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะ กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มคนที่คลั่งไคล้ความเป็นดิจิตอลที่อยู่ในยุคที่เรียกว่า Generation D: Digital ที่เป็นผู้รับนวัตกรรมดังกล่าวนี้เข้ามาใช้ ได้เข้ามามีอิทธิพลในการขับเคลื่อนสังคมเครือข่ายให้มีพลังมากยิ่งขึ้น

Social Networking คืออะไร
         จากแนวโน้มของการของการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีอัตราเร่งที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับอัตราการเติบโตของธุรกิจด้านบอร์ดแบนด์และธุรกิจด้านการตลาด โทรศัพท์มือถือออนไลน์ (Mobile Online Marketing) ที่มีความรุนแรงมากขึ้นนั้น พฤติกรรมบนโลกออนไลน์ จึงเริ่มก้าวเข้าสู่ความเป็นสังคมเครือข่าย (Social Networking หรือ บ้างก็เรียกว่า Social Media) กันมากขึ้น ดังนั้น เราควรที่จะเรียนรู้ว่า สังคมเครือข่าย หรือ Social Networking Social Networking หรือ Social Media คือ สังคม หรือการรวมตัวกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มคนรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏตัวบน โลกออนไลน์หรือทางอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า ชุมชนออนไลน์ (Community Online) ซึ่งมีลักษณะเป็นสังคมเสมือน (Virtual Community) สังคมประเภทนี้จะเป็นการให้ผู้คนสามารถทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความคิด แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยมีการขยายตัวผ่านการติดต่อสื่อสารกันอย่างเป็นเครือข่าย (Network) เช่น เว็บไซต์ Hi5, Facebook, Myspace, YouTube, Twitter เป็นต้น

         จากสถิติการใช้ Social Networking ข้างต้น ทำให้เห็นว่า กลุ่มผู้ที่ใช้งานไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มวัยรุ่นอีกต่อไป แม้ว่า เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมานั้น โลกของ Social Networking อาจมุ่งไปที่กลุ่มนักเรียน นักศึกษา หรือกลุ่มวัยรุ่น แต่เมื่อรูปแบบของแพลตฟอร์มที่มีการพัฒนาให้มีความหลากหลายมากขึ้น การใช้งานจึงการกระจายไปยังกลุ่มวัยอื่น ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีการใช้ประโยชน์จาก Social Networking ที่แตกต่างกัน คือ

         • กลุ่ม Generation Z มีอายุอยู่ระหว่าง 6-10 ปี คือ กลุ่มที่มีอายุที่น้อยที่สุด ซึ่งเกิดและเติบโตมาพร้อมกับยุคเทคโนโลยี Digital และ web 2.0 เป็นพวกที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เด็กกลุ่มนี้จะมีความต้องการใช้เทคโนโลยีสูงมาก เพราะนอกจากจะเป็นผู้ใช้แล้ว ยังเป็นผู้สร้าง หรือดัดแปลงเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองได้ด้วย ชอบความเป็นอิสระ ความเป็นส่วนตัว นิยมที่จะใช้ Social Networking เพื่อเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ด้วยตนเองผ่านเกมส์ออนไลน์ เช่น Ragnarok, Lunia, Mario

         • กลุ่ม Generation Y และ Generation D (Digital) มีอายุระหว่าง 15-30 ปี คือ กลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา และกลุ่มวัยเริ่มทำงาน (First Jobber) กลุ่มนี้เติบโตมาพร้อมๆ กับการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร (IT) สมัยใหม่ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลถึงชีวิตของพวกเขา ที่เห็นชัดเจนก็คือโทรศัพท์มือถือ Analog กับ Web 1.0 ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการสื่อสารแบบไร้สาย ดังนั้น คนรุ่นนี้จึงนิยมการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด ชอบความทันสมัยของเทคโนโลยีดิจิตอล จะใช้เพื่อความบันเทิงและการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มเพื่อน เช่น เล่นเกมส์ Download เพลง ภาพ หรือวีดีโอต่างๆ  อย่าง Hi5, Facebook, YouTube คนกลุ่มนี้จึงเป็นกำลังสำคัญในการสร้างรากฐานให้แก่สังคมในปัจจุบัน ซึ่งต่อไปในอีก10-20 ปีข้างหน้า พวกเขาก็จะก้าวขึ้นไปรับผิดชอบดูแลสิ่งที่ตนสร้างขึ้นมา แทน Generation X

         • กลุ่ม Generation X มีอายุระหว่าง 30-45 ปี คือ กลุ่มคนวัยทำงาน นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ นักการเมือง นักสื่อสารมวลชน เป็นกลุ่มที่รับเทคโนโลยีแบบผู้ใช้ (User + Consumer) เป็นส่วนมาก จะใช้ประโยชน์ในการสืบค้นหาข้อมูลข่าวสาร ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าโดยการใช้เป็นเครื่องมือทางการสื่อสารการตลาด การค้นหาความรู้ การอ่านข่าวสารประจำวัน เช่น Wikipedia, Google Earth, Twitter, Webblog, Website ของสำนักข่าวต่างๆ นอกเหนือไปจากการใช้งานที่แตกต่างกันตามช่วงวัยแล้ว รูปแบบของการใช้ประโยชน์จาก Social Networking ก็ได้ขยายไปยังกิจกรรมต่างๆ เช่น

         • ด้านการสื่อสาร (Communication) โดยเฉพาะถูกนำมาใช้เป็นช่องทางในการนำเสนอข่าวสารผ่าน Website ของสำนักข่าว อย่าง ผู้จัดการออนไลน์ (Manager.co.th) เนชั่นชาแนล (Nationchannel.com) หรือที่อยู่ในรูปแบบของ Webblog อย่าง oknation.net ที่มีผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวเป็น Blogger หรือกรณีของนักข่าวพลเมือง (Citizen Journalist) ที่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถเป็นนักข่าวได้ เพียงมีมือถือ หรือกล้องถ่ายรูปดิจิตอลก็สามารถ upload ข้อมูลข่าวสารไปยัง Webbolg ต่างๆ ได้ โดยไม่มีการปิดกั้น

         • ด้านการศึกษา (Education) ถูกนำมาใช้ในการสืบค้น ความรู้ ข้อเท็จจริง ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ที่มักเรียกว่า สารานุกรมออนไลน์ ซึ่งสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ อย่าง Wikipedia หรือ Google Earth

         • ด้าน การตลาด (Marketing) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่นำ Social Networking มาใช้ประโยชน์ในการสร้างแบรนด์ ได้อย่างชัดเจน เพราะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าถึง สร้างความสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคได้ดีและวัดผลได้ทันที เช่น การโฆษณาออนไลน์ (Online Advertising) การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ผ่านเว็บไซต์ของ Starbucks  (mystarbucksidea.force.com) ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ลูกค้าเข้ามาแสดงและบอกถึงไอเดียต่างๆ ที่ลูกค้ามีต่อ Brand และเมนูของ Starbucks หรือการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ของบริษัทที่นิยมใช้ Webblog ในการแจ้งรายการส่งเสริมการการขาย หรือการใช้ Twitter เช่น @WeLoveFuji, @naiin ที่เชิญชวนให้ลูกค้าเข้าร่วมกิจกรรมผ่าน นอกจากนั้น ในปัจจุบันสื่อดังกล่าวยังถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่เรียก ว่า Marketing Influencer ที่อาศัย Bloggers ใน Twitters ที่มีจำนวนผู้ติดตาม (followers) มาก  มาเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการนำเสนอสินค้าหรือแนะนำสินค้า เป็นต้น

         • ด้าน บันเทิง (Entertainment) เป็นอีกส่วนหนึ่งที่นิยมหันมาใช้ประโยชน์จาก Social Networking เช่น การชมภาพยนตร์ การฟังเพลง การสร้างแฟนคลับ ผ่าน Facebook หรือ Hi5 หรือการให้ Download เพลง มิวสิควีดีโอ คอนเสิร์ต หรือแม้กระทั่งรูปภาพของดารา ศิลปินที่ชื่นชอบ เช่น เว็บไซต์ดาวน์โหลดเพลงของ GMM Grammy (
www.gmember.com) หรือ Sanook.com ที่มีให้ดาวน์โหลดเพลงประกอบภาพยนตร์ (blogger.sanook.com) เป็นต้น

         • ด้าน สื่อสารการเมือง (Communication Political) กลุ่มนี้จัดได้ว่า เป็นกลุ่มที่สร้างกระแสนิยม (แจ้งเกิด) ให้กับ Social Networking ระดับโลกเมื่อ บารัค โอบามา ใช้เป็นเครื่องมือหาเสียงจนได้รับการรับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ (
http://www.youtube.com)
จนมาถึง อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย อย่าง พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่ก็มีการใช้ Twitter ในการสื่อสารทางการเมืองกับประชาชน (ThaksinliVE)

         ด้วยประโยชน์ที่มีความหลากหลายในการใช้งาน ทำให้ Social Networking กลายเป็นเครือข่ายทางสังคมขนาดใหญ่ที่ถูกเชื่อมต่อกันด้วยรูปแบบที่เฉพาะ เจาะจง ทั้งด้านมุมมอง ความคิด การแลกเปลี่ยน มิตรภาพ ความขัดแย้ง การค้า ซึ่งเป็นไปตั้งแต่ในระดับบุคคลที่มีความใกล้ชิดไปจนถึงระดับชาติ Social Networking จึงเป็นการรวมกันเข้าไว้ซึ่งความผูกพันและความสนใจร่วมกัน

ประเภทของ Social Networking
         สำหรับประเภทของ Social Networking อาจมีผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ ได้จัดแบ่งไว้ซึ่งมีความแตกต่างกัน สำหรับผู้เขียนขอสรุปประเภทของ Social Networking ไว้ 7 ประเภท ดังนี้

         1. การเขียนบทความ (Weblog) เป็น ระบบจัดการเนื้อหา (Content Management System: CMS) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเขียนบทความที่เรียกว่า โพสต์(Post) และทำการเผยแพร่ได้โดยง่าย เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่มีความสามารถในด้านต่างๆ สามารถเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวด้วยการเขียนได้อย่างเสรี ซึ่งอาจจะถูกนำมาใช้ได้ใน 3 รูปแบบ คือ 1) Blog ที่จัดทำโดยบริษัท (Corporate Blog) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพูดจา สื่อสารกับลูกค้า เช่น Starbucks Gossip  2) Microblog มีลักษณะเป็นการโพสต์ข้อความสั้นๆ ไม่เกิน 140 ตัวอักษรและสามารถที่จะส่งข้อความสั้นๆ ไปยังโทรศัพท์มือถือได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดอินเทอร์เน็ตเข้าอ่านเหมือน Blog ทั่วไป ซึ่งก็คือข้อความที่จะบอกว่า “ตอนนี้คุณทำอะไรอยู่” เช่น Twitter 3) Blog ที่เขียนจาก Blogger อิสระ ที่มีความสามารถเขียนเรื่องที่ตนถนัด และมีผู้ติดตามจำนวนมาก ซึ่ง Blog ในรูปแบบหลังนี้ปัจจุบันนักการตลาดนิยมให้ Blogger ได้เข้ามาทดลองใช้สินค้า (Testimonial) แทนการใช้ดารา หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ แล้วให้ Blogger เขียนข้อความในลักษณะสนับสนุนหรือแนะนำสินค้า จนกลายเป็นกลยุทธ์ Marketing Influencer

         2. แหล่งข้อมูลหรือความรู้ (Data/ Knowledge) เป็น เว็บที่รวบรวมข้อมูล ความรู้ในเรื่องต่างๆ ในลักษณะเนื้อหาอิสระ ทั้งวิชาการ ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ สินค้า หรือบริการ โดยมุ่งเน้นให้บุคคลที่มีความรู้ในเรื่องต่างๆ เหล่านั้นเป็นผู้เข้ามาเขียนหรือแนะนำไว้ ส่วนใหญ่มักเป็นนักวิชาการ นักวิชาชีพ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น Wikipedia ที่เป็นสารานุกรมออนไลน์หลายภาษา, Google earth เว็บดูแผนที่ได้ทุกมุมโลกให้ความรู้ทางภูมิศาสตร์, การท่องเที่ยวเดินทาง, การจราจร หรือ ที่พัก, dig หรือ diggZy  Favorites Online  เป็นเว็บทำหน้าที่เก็บ URL ของเว็บไซต์ที่ชื่นชอบไว้ดูภายหลัง เป็นต้น

         3. ประเภทเกมส์ออนไลน์ (Online games) เป็น เว็บที่นิยมมากเพราะเป็นแหล่งรวบรวมเกมส์ไว้มากมาย จะมีลักษณะเป็นวิดีโอเกมส์ที่เล่นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกมออนไลน์นี้ ผู้เล่น สามารถที่จะสนทนา เล่น แลกเปลี่ยน items ในเกมส์กับบุคคลอื่นๆ ในเกมส์ได้ และสาเหตุที่มี ผู้นิยมมากเนื่องจาก ผู้เล่นได้เข้าสังคมจึงรู้สึกสนุกที่จะมีเพื่อนเล่นเกมไปด้วยกันมากกว่าการ เล่นเกมคนเดียว อีกทั้ง มีกราฟฟิคที่สวยงามมากและมีกิจกรรมต่างๆ เพิ่ม เช่น อาวุธ เครื่องแต่งตัวใหม่ๆ ที่สำคัญสามารถที่จะเล่นกับเพื่อนๆ แบบออนไลน์ได้ทันที เช่น SecondLife, Audition, Ragnarok, Pangya เป็นต้น

         4. ประเภทชุมชนออนไลน์ (Community) เป็น เว็บที่เน้นการหาเพื่อนใหม่ หรือการตามหาเพื่อนเก่าที่ไม่ได้เจอกันนาน การสร้าง Profile ของตนเอง โดยการใส่รูปภาพ, กราฟฟิคที่แสดงถึงความเป็นตัวตนของเรา (Identity) ให้เพื่อนที่อยู่ในเครือข่ายได้รู้จักเรามากยิ่งขึ้น และยังมีลักษณะของการแลกเปลี่ยนเรื่องราว ถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกัน เช่น Hi5, Facebook, MySpace, MyFriend  เป็นต้น

         5. ประเภทฝากรูปภาพ (Photo management) เว็บ ที่เน้นฝากเฉพาะรูปภาพ (Photo) โดยไม่เปลืองฮาร์ดดิสก์ส่วนตัว โดยการ Upload รูปภาพจากกล้องถ่ายรูป หรือโทรศัพท์มือถือไปเก็บไว้บนเว็บ ซึ่งสามารถแชร์ภาพหรือซื้อขายภาพกันได้อย่างง่ายดาย เช่น Flickr, Photoshop Express, Photobucket ฯลฯ เป็นต้น

         6. ประเภทสื่อ (Media) เว็บที่ใช้ฝากหรือแบ่งปัน (Sharing) ไฟล์ ประเภท Multimedia อย่าง คลิปวีดีโอ ภาพยนตร์ เพลง ฯลฯ โดยใช้วิธีเดียวกันแบบเว็บฝากภาพ แต่เว็บนี้เน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็น Multimedia เช่น YouTube, imeem, Bebo, Yahoo Video, Ustream.tv ฯลฯ เป็นต้น

         7. ประเภทซื้อ-ขาย (Business / commerce) เป็น เว็บที่ทำธุรกิจออนไลน์ที่เน้นการซื้อ-ขายสินค้า หรือบริการต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ (E-commerce) เช่น การซื้อ-ขายรถยนต์ หนังสือ หรือ ที่พักอาศัย ซึ่งเป็นเว็บที่ได้รับความนิยมมาก เช่น Amazon, eBay, Tarad, Pramool ฯลฯ แต่เว็บไซต์ประเภทนี้ยังไม่ถือว่าเป็น Social Network ที่แท้จริง เนื่องจากมิได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการแชร์  ข้อมูลกันได้หลากหลาย นอกจากเน้นการสั่งซื้อและแนะนำสินค้าเป็นส่วนใหญ่

การแพร่กระจายและการยอมรับของ Social Networking

         การที่สังคมมนุษย์จะมีการใช้เทคโนโลยีหนึ่งเทคโนโลยีใดในสังคมได้ต้อง ผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ประดิษฐ์ และผู้ใช้ในสังคม (Interactive between Innovator and User) กลับไปกลับมาหลายครั้งจนเกิด “การยอมรับ” หรือ ที่เรียกว่า Technology Adoption” ดังนั้น กระแสของการใช้ Social Networking ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่นั้น จึงเกิดมาจากกระบวนการถ่ายโอนพฤติกรรมและความคิดของคนกลุ่มคนแรก (Innovator) ในสังคมที่ชอบในความทันสมัยของเทคโนโลยี มีการทดลองใช้งานจนเกิดการยอมรับ แล้วจึงสื่อสารหรือถ่ายทอดต่อไปยังกลุ่มคนต่างๆ ในสังคม ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักการตลาดให้ความสนใจเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จาก ทฤษฎีของ Everett M. Roger ที่ว่าด้วย “Diffusion of Innovation: DOI” ซึ่ง เป็นการอธิบายถึงการเผยแพร่ (Diffusion) นวัตกรรมให้ได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชนเป้าหมาย โดยเริ่มจากผู้ที่มีศักยภาพที่จะรับนวัตกรรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวนวัต กรรมนั้น จนมีความรู้ความเข้าใจในนวัตกรรมอย่างดี และถูกชักนำโน้มน้าวให้เชื่อถือในตัวนวัตกรรม หลังจากนั้น จะมีการตัดสินใจว่าจะรับเอานวัตกรรมนี้มาใช้ เมื่อตัดสินใจแล้วก็ลงมือปฏิบัตินำเอานวัตกรรมสู่การปฏิบัติ และขั้นสุดท้ายคือ การยืนยัน (หรืออาจจะปฏิเสธ) การตัดสินใจยอมรับและใช้นวัตกรรมนั้นต่อไป ฉะนั้น การเผยแพร่จึงเป็นกระบวนการที่นวัตกรรม (Innovation) จะถูกนำไปถ่ายทอดผ่านช่องทางของการสื่อสาร(Communication Channels) ในช่วงเวลาหนึ่ง (Time) กับสมาชิกที่อยู่ในระบบสังคมหนึ่ง (Social System) ให้เกิดการยอมรับ (Adoption) ซึ่งลักษณะของนวัตกรรม (Innovation) มีดังนี้

         1. เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน
         2. เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ ต่อมาได้มีการนำมาใช้ประโยชน์
         3. เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วและเคยนำมาใช้ในช่วงเวลาหนึ่งแต่ไม่ได้รับความนิยม ต่อมานำมาใช้ใหม่ภายใต้สถานการณ์และเงื่อนไขใหม่ที่เปลี่ยนไป
         4. เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วและใช้ได้ดีในสังคมอื่น หรือประเทศอื่น แล้วนำมาใช้ในอีกสังคมหนึ่งหรืออีกประเทศหนึ่ง
         5. เป็นการพัฒนาปรับปรุงจากของเดิมที่มีอยู่ให้มีลักษณะต่างจากต้นแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม

         ดังนั้น เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง Social Networking สำหรับประเทศไทยจึงจัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่หรือสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็น “สิ่งใหม่” ที่มีอยู่แล้วในสังคมอื่น (ต่างประเทศ) แล้วประเทศไทยนำมาใช้ ส่วนลักษณะของกลุ่มคนในสังคมที่จะยอมรับการแพร่กระจายของนวัตกรรม Roger ได้แบ่งไว้เป็น 5 ลักษณะคือ

         1. Innovators มีจำนวนเพียง 2.5% ของคนทั้งหมดที่จะใช้นวัตกรรม จะเป็นกลุ่มที่มีการใช้ทันที คนกลุ่มนี้มีลักษณะกล้าเสี่ยง และมีความเป็นนักนวัตกรรมสูง มีความรู้ด้านเทคโนโลยี และชอบติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอ จึงมีความพร้อมจะยอมรับ และมีศักยภาพที่จะรับได้อย่างรวดเร็ว เช่น
โปรแกรมเมอร์ นักประดิษฐ์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี อย่าง www. Pantip.com ที่เริ่มต้นจาก Webboard มาสู่ Webblog หรืออย่าง เว็บข่าวอย่าง 
www.Oknation.net ที่ ให้สมาชิกสามารถนำเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารได้ ซึ่งทั้งสองเว็บนี้ถือว่าที่เป็นคนกลุ่มแรกที่นำ Social Networking เข้ามาใช้ในการสื่อสารออนไลน์เพื่อสร้างสังคมเครือข่าย

         2. Early Adopters กลุ่มนี้มีจำนวน 13.5% เป็นกลุ่มที่ยังมีความเชื่องช้าในการรับนวัตกรรมกว่าพวกแรก แต่ก็ยังไวต่อการรับนวัตกรรมหลังจากทราบว่ามีกลุ่ม Innovators ได้ยอมรับไปแล้ว เป็นกลุ่มที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ และค่อนข้างมีฐานะ อาจเป็นนักวิชาการหรือคนดังในสังคม เช่น ดารา หรือนักการเมือง ที่มีการสร้าง Webblog, Facebook หรือ Twitter เพื่อให้คนเข้ามาติดตาม หรือเพื่อเป็นการสร้างกลุ่มแฟนคลับ

         3. Early Majority มีจำนวนมากถึง 34% กลุ่มนี้จะตัดสินใจได้จะต้องผ่านการพิจารณาหลายรอบ นวัตกรรมต้องมีลักษณะการใช้งานง่าย และมีประโยชน์ การตัดสินใจเลือกนวัตกรรมมักดูจากการตัดสินใจของสองกลุ่มแรก ลักษณะของคนกลุ่มนี้อาจเป็นคนวัยทำงาน หรือคนที่ไม่กล้าเสี่ยงกับนวัตกรรมหรือความเป็นไฮเทคโนโลยีทันที จนกว่าจะเห็นว่ามีความสำคัญหรือความจำเป็นจริงๆ

         4. Late Majority ถือเป็นคนกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่งมีจำนวนประมาณ 34% กลุ่มนี้จะมีใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมช้า และจะใช้เมื่อมีความจำเป็นต้องการใช้งานจริงๆ ซึ่งกว่าที่จะยอมรับนวัตกรรม เทคโนโลยีนั้นอาจจะเริ่มตกรุ่นไปแล้ว คนกลุ่มนี้อาจยอมรับนวัตกรรมใหม่เมื่อสังคมส่วนใหญ่ได้หมดความนิยมใน เทคโนโลยีนั้นแล้ว

         5. Laggards มีจำนวน 16% เป็นกลุ่มที่ต่อต้านนวัตกรรม ถ้าจะยอมรับก็ยอมรับอย่างเสียมิได้ หรืออาจจะไม่ยอมรับเลยตลอดไป คนกลุ่มนี้เป็นอาจอยู่ในกลุ่มของคนยุค Baby Boomer คือ รุ่นคุณตา คุณยาย หรือยุคพ่อ แม่ที่ไม่ได้ใส่ใจและยอมรับกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

         สำหรับความนิยมของ Social Networking ผู้เขียนเห็นว่า กลุ่มคนในสังคมที่ทำให้เกิดกระแสความนิยมนั้นคือ กลุ่มผู้นำทางความคิด หรือ กลุ่มของคนที่มีชื่อเสียง (Early Adopters) อย่างดารา คนดัง ผู้เชี่ยวชาญ นักการเมือง หรือที่นักการตลาดเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ไอคอน” (Icon) เพราะคนกลุ่มนี้คือผู้นำในการแพร่กระจายนวัตกรรมไปสู่กลุ่มคนส่วนใหญ่ของ สังคม แต่ทั้งนี้ ก็มิใช่ทุกคนที่จะยอมรับนวัตกรรมนี้ เพราะยังมีกลุ่มคนในสังคมอีกมากที่มีพฤติกรรมในการสื่อสาร และการชีวิตประจำวันที่ไม่ได้อาศัยประโยชน์จาก Social Networking

กระแสความนิยม Social Networking ในประเทศไทย


         การที่สังคมหนึ่งจะยอมรับเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ไปใช้ในชีวิตประจำวัน นั้น จำเป็นต้องอาศัยการแพร่กระจายและถ่ายทอดนวัตกรรมจากกลุ่มคนกลุ่มแรกของสังคม ที่มีการยอมรับมาก่อน ไปยังกลุ่มคนในสังคมอื่นๆ ให้ยอมรับตามไปด้วย แต่การยอมรับนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่

         1. ตัวเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม (Technology or Innovation) ศักยภาพ หรือความสามารถในการใช้งานได้มากหรือดีกว่าเทคโนโลยีเดิมหรือของที่มีอยู่ เดิมได้มากน้อยเพียงใด (Relative Advantage) เทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับค่านิยม ประสบการณ์ และความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ (Compatibility) ง่ายต่อการนำไปใช้ (Complexity) สามารถทดลองใช้ได้ก่อนหรือไม่ (Trialability) และสามารถสังเกตเห็นผลได้ชัดเจน (Observeability) เพียงใด

         2. ผู้ใช้นวัตกรรม (Users) ความ แตกต่างกันทั้งด้านเพศ การศึกษา สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม ย่อมมีผลต่อระดับการยอมรับนวัตกรรมช้า-เร็วต่างกัน เช่น คนที่ไม่มีความรู้เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตก็ต้องใช้เวลาในการศึกษาหาความ รู้นานกว่าคนที่เชี่ยวชาญในการใช้อินเตอร์เน็ต หรือคนยุคเก่า หัวโบราณอาจไม่ยอมรับนวัตกรรมใหม่เพราะมีความเชื่อว่า เทคโนโลยีจะส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อสังคม

         3. ผู้ทรงอิทธิพล (Influencers) บุคคล ที่ถ่ายทอดนวัตกรรมต้องเป็นผู้ที่มีทักษะในการสื่อสาร มีความรู้ มีความสามารถ มีความน่าเชื่อ และมีประสบการณ์ จึงจะสามารถโน้มน้าวใจ และเผยแพร่นวัตกรรมให้เกิดการยอมรับได้

         4. สภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม (Environmental Factors) ปัจจัย แวดล้อมของแต่ละสังคมจะมีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมใหม่ เช่น หากกลุ่มวัยรุ่นเห็นว่าเพื่อนในกลุ่มมีการใช้งาน Social Networking กันมาก ก็มักจะใช้ตามเพื่อน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเพื่อน หรือ นักการตลาดที่มักใช้ Social Networking เป็นช่องทางในการสื่อสารกับผู้บริโภคมากขึ้น

         ปัจจัยดังกล่าวจึงต่างมีส่วนช่วยสนับสนุนการยอมรับนวัตกรรมให้รวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ถ้าหากปัจจัยใดส่งผลในทางบวกน้อย อัตราการยอมรับนวัตกรรมของผู้รับก็จะเริ่มช้าลง หรือหากมีปัจจัยใดส่งผลในทางทางลบก็จะเกิดการปฏิเสธหรือไม่ยอมรับนวัตกรรม นั้นๆ 

         สำหรับประเทศไทยในยุคปัจจุบันนั้น แม้ว่าจะมีกระแสความนิยม Social Networking มาก แต่ภายในปี 1-2 ปีนี้คงจะยังไม่ใช่สื่อหลัก (Mainstream Media) หากแต่เป็นเพียงสื่อเสริม หรือสื่อทางเลือก (Alternative Media) เท่านั้น เนื่องด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

         1. วัฒนธรรมกระแสนิยม : ด้วย เพราะสังคมไทยเป็นสังคมเปิดที่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงอะไรง่ายและเร็วเกินไป โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้ประโยชน์กันเพียงเพื่อความบันเทิงที่เป็นไปตาม กระแสนิยม (Trend) มากกว่ามุ่งใช่เพื่อประโยชน์ในการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การใช้สื่อเหล่านี้อาจเป็นไปในลักษณะคลั่งไคล้ชั่วระยะหนึ่ง (Fad) ที่กระทำกันเหมือนเป็นแฟชั่นที่เห็นว่า ใครมี ก็ขอมีด้วย โดยเฉพาะเมื่อผู้นำทางสังคมอย่างดาราหรือนักการเมืองที่เป็นกลุ่มแรกๆ ในการนำสิ่งเหล่านี้เข้าสู่สังคม วัยรุ่นจึงต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม อยากเป็นเหมือนดารา หรือคนดัง อีกทั้ง กลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่มีนิสัยชอบความแปลกใหม่ ทันสมัย ยอมรับสิ่งใหม่อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันก็เบื่อเร็ว อย่างกรณี Hi5 ที่เมื่อ 1-2 ปี นิยมเล่นกันทั่วไป แต่เมื่อมีของใหม่อย่าง Facebook ที่มีเกมส์ มี Application มากกว่า ใหม่กว่า และชวนให้หลงใหลมากกว่า Hi5 ก็ถูกลดความนิยมลงไป

         2. สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันมาก : เห็น ได้จากสังคมไทยยังคงเป็นสังคมเกษตรกรรม ระดับการศึกษา ความรู้ ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ยังไม่ทั่วถึง ระดับของรายได้ก็แตกต่างกันมาก การให้ความสำคัญ หรือความจำเป็นในการใช้ Social Networking คงมีแต่คนในสังคมเมืองเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงช่องทางการสื่อสารรูปแบบนี้ 

         3. สื่อมวลชนยังคงเป็นสื่อหลักในการนำเสนอข่าวสาร : สื่อ มวลชน (Mass Media) อย่าง โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ ใบปลิวต่างๆ ยังคงถูกนำมาใช้ในการสื่อสารเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอข่าวสาร การให้ความรู้ การรับชมรายการโทรทัศน์ ฟังวิทยุ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการต่างๆ การนำเสนอข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ยังคงทุ่มค่าใช้จ่ายไปที่สื่อมวลชนเป็นหลัก โดยมีการนำ Social Networking อย่าง YouTube, Wikipedia หรือ Twitter มาใช้เป็นสื่อเสริมหรือสื่อทางเลือก (Alternative Media) ควบคู่กันไป 

         4. ความเชื่อถือในสื่อหลัก : คน ส่วนใหญ่ในสังคมยังคงมีพฤติกรรมในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากสื่อหลักหรือสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เนื่องจากสื่อหลักสามารถเข้าถึง สร้างความครอบคลุมคนในทุกระดับชั้น ทั่วประเทศ และเป็นสื่อที่มีมานาน คนในสังคมจึงยังคงให้ความเชื่อถือแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ผ่านมาจากสื่อหลัก มากกว่า อีกทั้ง คนกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยยังคงปิดกั้นและต่อต้านนวัตกรรมใหม่ที่อาจมีผลกระทบ ต่อวิถีการดำเนินชีวิตแบบไทย (Laggards)

         5. อินเตอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ : แม้ ว่าพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตในสังคมไทยจะมีอัตราเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นช่องทางขยายการตลาดออนไลน์ ทั้งบอร์ดแบนด์อินเตอร์เน็ต และเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ แต่ศักยภาพของเครือข่ายก็ยังไม่ครอบคลุมไปทั่วประเทศ ยังคงมีอีกหลายพื้นที่ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือหากเข้าถึงแล้ว ก็ยังไม่สามารถใช้ศักยภาพของเครือข่ายเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         6. กระแสเริ่มต้นสังคมเครือข่ายออนไลน์ : อัตรา การเติบโตของพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของไทยนั้น เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียด้วยกันถือว่าช้ามาก และยังมีจำนวนน้อย คงต้องใช้เวลาอีก 5-10 ปี กว่าที่คนไทยจะมีพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตกันอย่างเป็นกิจวัตร หรือใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ

         ดังนั้น แนวโน้มของ Social Networking ที่ว่าจะกลายเป็นสื่อหลัก (Mainstream) ในสังคมไทยหรือไม่นั้น อาจจะต้องใช้เวลาอีก 10-20 ปี เพราะทั้งอัตราการใช้อินเตอร์เน็ต และพฤติกรรมการใช้ Social Networking เมื่อเทียบกับประเทศในแถบเอเชียด้วยกันยังต่ำ คนในสังคมไทยยังคงมีความตื่นตัวในเรื่องนี้ไม่มากนัก ซึ่งเห็นได้จากการบริโภคข้อมูลข่าวสารที่ยังคงให้ความสำคัญและมีความเชื่อ ถือในตัวสื่อมวลชน (Mass Media) อย่างโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ จะมีก็แต่กลุ่มวัยรุ่นในปัจจุบัน (Generation Y, Z หรือ D (Digital)) ที่มีแนวโน้มว่าจะเริ่มให้ความสำคัญและบริโภคสื่อนี้มากขึ้นทุกขณะ และในอนาคตหากวัยรุ่นกลุ่มนี้เติบโตขึ้นก็อาจจะกลายเป็นพลังอำนาจทางการสื่อ สารที่ทำให้กระแส Social Networking กลายเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็น จนนำไปสู่การใช้ประโยชน์และบริโภคข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อนี้กันอย่างจริงจัง มิใช่เป็นเพียงกระแสสังคม หรือความนิยมระยะสั้นเท่านั้น เมื่อถึงวันนั้น Social Networking ก็มีแนวโน้มว่าอาจกลายเป็นสื่อหลัก (Mainstream Media) สำหรับสังคมไทยได้ในที่สุด 

บทสรุป : Social Networking กระแสนิยมหรือแนวโน้มทางการสื่อสาร 

         กระแสนิยม หรือ แฟชั่น (Fashion) คือ ความนิยม ความคลั่งไคล้ ที่มีลักษณะแบบฉาบฉวย นิยมเร็ว เบื่อเร็ว เป็นไปตามแฟชั่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม การยอมรับในสังคม ณ เวลาใด เวลาหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเมื่อเทคโนโลยี เรื่องราว หรือพฤติกรรมต่างๆ ได้ถูกละเลยหรือมีสิ่งใหม่เข้ามาทดแทน สิ่งนั้นก็จะไม่เป็นกระแส (ความนิยม) ต่อไป 

         แนวโน้ม หรือ เทรนด์ (Trends) คือ การที่สังคมยอมรับ (Adoption) การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม เทคโนโลยีหรือความคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนคำว่า “สื่อหลัก” (Mainstream Media) คือ ช่องทางการสื่อสารที่คนทั่วไปในสังคมให้ความสำคัญและมีความจำเป็นต้องใช้ใน การติดต่อสื่อสาร หรือบริโภคข้อมูลข่าวสารต่างๆ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ โดยสามารถใช้สื่อเหล่านั้นเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง และสร้างความเชื่อถือได้

         Social Networking ในปัจจุบันอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ “กระแสความนิยม” ในลักษณะวิ่งตามแฟชั่น (Trends) เท่านั้น และความนิยมดังกล่าวจะยังกระจุกตัวอยู่ในสังคมเมือง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นซึ่งกำลังอยู่ในยุค Net Generation ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคมที่มีความนิยมในการใช้อินเตอร์เน็ต และ Social Networking สูง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างการยอมรับในสังคม แต่ในอีก 10-20 ข้างหน้า เมื่อคนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นไปพร้อมๆ กับพัฒนาการของเทคโนโลยี พวกเขาจะกลายเป็นกลุ่มพลังสำคัญในการผลักดันให้อัตราเร่งของการใช้งาน Social Networking เพิ่มมากขึ้น อย่างต้าน

         ไม่อยู่ และอาจกลายเป็น “สื่อหลัก” (Mainstream Media) แห่งการสื่อสาร สื่อที่ทุกคนในสังคมต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารแทนที่สื่อเดิม (Traditional Media) ที่ปัจจุบันกำลังถูกลดบทบาทลง เพราะตราบใดที่การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุด ยั้ง มีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย มีเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง 3G หรือ 4G ที่สามารถทำให้การติดต่อสื่อสารเร็วขึ้น และตอบสนองได้อย่างทันทีทันใด (Real Time) รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออย่างคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือก็มีราคาถูก ผู้ให้บริการต่างก็หันมาพัฒนารูปแบบการให้บริการที่มีราคาไม่แพงและสามารถ ตอบสนองความต้องการมากยิ่งขึ้น สิ่งที่สำคัญคือ กลุ่มวัยรุ่นที่เคยเป็นผู้นำกระแสความนิยมในยุคปัจจุบัน ก็จะกลายเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมที่มีบทบาทในการใช้ Social Networking เป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสาร

         เมื่อเป็นเช่นนี้ ในอนาคตคนในสังคมโลกมีแนวโน้มว่าอาจต้องใช้ Social Networking เป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสาร และเป็นไปได้ว่า รูปแบบการสื่อสารในสังคมโลกยุคต่อไปจะดำรงอยู่บนโลกเสมือนจริง (Virtual Communication) มากกว่าการสื่อสารที่อยู่บนโลกของความเป็นจริง ดังนั้น เราคงต้องให้ระยะเวลาเป็นตัวขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป

ข้อมูลอ้างอิง
http://cgsc.rta.mi.th
www.marketingoops.com  www.universalmccann.com
www.alexa.com
www.mict.go.th
http://keng.com/2009/09/11/twitter-marketing-in-thailand/#more-1211
http://starbucksgossip.typepad.com/
www.torakom.com www.thairath.co.th http://www.bloggang.com www.brandage.com
www.telecomjournal.net

9.การใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการค้นคว้าหาความรู้

การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
          1.  เว็บไซต์ (Website)  หมายถึง  ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการค้นหา ข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา
เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหา ข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com  www.yahoo.com  www.sanook.com  เป็นต้น
                    1.1  การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก  จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก  (keyword)  ให้ได้ก่อน
                    1.2  การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้ อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น  โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
          2.  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทาง อินเทอร์เน็ต  การค้นหาข้อมูลสะดวก  รวดเร็ว  โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ  ชื่อผู้แต่ง  เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  เป็นต้น  ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะ ได้ชัดเจน  เช่น  ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่  เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง  คือ  สุนทรภู่  และระบุหัวข้อเรื่อง  คือ  นิราศ  ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น
          3.  ฐานข้อมูลออนไลน์  ฐานข้อมูล  คือ  แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง  จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
          ออนไลน์ (online)  เป็นคำทับศัพท์  หมายถึง  การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ  อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย  ดังนี้
                    1.  ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ  คือ
                              "และ"                    ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  และ  "เรื่องสั้น"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุล  เฉพาะที่เกี่ยวกับเรื่องสั้นเท่านั้น  จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เลย
                              "หรือ"                    ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  หรือ  "ทมยันตี"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ  ว.วินิจฉัยกุล  และทมยันตี  ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
                              "ไม่"                       ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  ไม่  "ประวัติ"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ  ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน  จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล  เลย
                    2.  ใช้สัญลักษณ์  หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
                              เครื่องหมายคำถาม ?                    ใช้แทนอักษร 1 ตัว
                              เครื่องหมายดอกจัน*                    ใช้แทนอักษรหลายตัว
                              ตัวอย่าง  ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ  แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"
                              ต้องการค้นเรื่อง  ปัญจวัคคีย์  แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์  ปัญจวัคคี*
                    3.  ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database)  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า  NEAR  สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย

ที่มาแะได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์  เอี่ยมสำอางค์  เกื้อกมล  พฤกษประมูล และโสภิต  พิทักษ์. ภาษาไทย  หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
 http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/3058-00/
10.เทคนิคการค้นหาข้อมูล ความรู้ทางอินเทอร์เน็ต
            เทคนิคการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
การเตรียมตัวก่อนการค้นหา
1. ผู้ค้น จะ ต้องทราบว่าตนเอง ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด และต้องมีข้อมูลประกอบในการค้นหา เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อสิ่งพิมพ์ หากไม่รู้ชื่อผู้แต่ง ชื่อสิ่งพิมพ์ ควรกำหนดคำค้นหรือหัวเรื่อง ที่จะใช้สำหรับการค้นหา เป็นต้น 
2. รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่ จะใช้ค้นหา เช่น ถ้าต้องการค้นหาทรัพยากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งต้องการหาตัวเล่มในห้องสมุด ควรจะใช้ฐานข้อมูล OPAC เป็นต้น 
3. ต้องรู้จักวิธีการใช้ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา เช่น รู้จักวิธีค้นหาแบบพื้นฐาน หรือหากจะให้ดีก็ควรรู้จักการค้นหาแบบขั้นสูงด้วย นอกจากนี้ยังต้องรู้จักวิธีการจัดการผลลัพธ์ ได้แก่ การบันทึก การสั่งพิมพ์ การส่งข้อมูลทาง E-mail การจัดการรายการบรรณานุกรม เป็นต้น
4. ต้องรู้จักวิธีการใช้ห้องสมุดและการหาหนังสือบนชั้น ผู้ค้นต้องรู้วิธีการใช้ห้องสมุด และวิธีการหาหนังสือบนชั้น
5. รู้จักกฏ กติกา มารยาทในการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐาน ข้อมูลหรือเครื่องมือค้นหา เนื่องจากปัจจุบันยังมีผู้ใช้บริการบางส่วนที่ยังใช้ห้องสมุดไม่เป็น ไม่รู้จักระเบียบฯ ตลอดจนมีการละเลิดลิขสิทธิ์ในการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น
เทคนิคการสืบค้นข้อมูลโดยทั่วไปมีดังนี้
1. การค้นหาแบบพื้นฐาน (Basic Search)
เป็น การค้นหาสารสนเทศอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน โดยใช้คำโดดๆ หรือผสมเพียง 1 คำ ในการสืบค้นข้อมูล โดยส่วนใหญ่การค้นหาแบบง่ายจะมีทางเลือกในการค้นหา ได้แก่
1.1 ชื่อผู้แต่ง (Author) 
เป็น การค้นหาโดยใช้ชื่อของบุคคล กลุ่มบุคคล นามปากกา หรือชื่อหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ซึ่งมีหลักการค้นหาง่ายๆ ดังนี้
1.1.1 ผู้แต่งคนไทย
เป็น การค้นหาชื่อบุคคล ตัวอย่างเช่น กุลธิดา ท้วมสุข ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก เช่น นาย นาง นางสาว หรือหากเป็นบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ ให้ค้นด้วยชื่อ และต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ หากเป็นการค้นหาชื่อที่เป็น นามปากกา ฉายาหรือสมณศักดิ์ ให้ค้นหาตามนามปากกา ฉายา หรือสมณศักดิ์
ยกตัวอย่างเช่น
- นางกุลธิดา ท้วมสุข ชื่อที่ใช้ค้นคือ
กุลธิดา ท้วมสุข (ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก)
1.1.2 ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ
ให้ค้นหาโดยใช้ ชื่อสกุล ตามด้วยชื่อกลางและชื่อต้น
ยกตัวอย่างเช่น
"Judith G. Voet" ชื่อที่ใช้ค้นคือ Voet, Judith G. หรือ Voet, Judith หรือ Voet
1.1.3 ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน/องค์กร
ให้ ค้นหาตามชื่อหน่วยงานหรือชื่อองค์กรนั้น เช่น การค้นหาชื่อหน่วยงานที่มีทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ค้นหาโดยใช้ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย หากเป็นชื่อย่อ เมื่อค้นหาให้ใช้ชื่อเต็ม
ยกตัวอย่างเช่น
- สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อที่ใช้ค้น คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักวิทยบริการ
1.2 ชื่อเรื่อง (Title)
เป็น การค้นหาข้อมูล ด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อเรื่องสั้น นวนิยาย ชื่องานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ การค้นโดยใช้ชื่อเรื่องนี้ เป็นการค้นหาแบบเจาะจง ดังนั้นผู้ค้น ต้องรู้จักชื่อเรื่อง หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ใช้หลักการเดียวกัน คือ ค้นหาตามชื่อนั้นๆ ได้เลย โดยระบบจะทำการค้นหาจากชื่อเรื่อง เริ่มจากอักษรตัวแรกและตัวถัดไปตามลำดับ
ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง เพลงรักในสายลมหนาว, เรื่อง อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เริ่มต้น, และเรื่อง Engineering Analysis 
1.3 หัวเรื่อง (Subject Heading) 
คือ คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศ หัวเรื่องที่ใช้ในการค้นหานั้น โดยปกติแล้ว จะนำมาจากคู่มือหัวเรื่องที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในห้องสมุดหรือหน่วยงานที่ให้ บริการสารสนเทศ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ
1.4 คำสำคัญ (Keywords) 
คือ การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา 
ยกตัวอย่าง การกำหนดคำสำคัญเพื่อใช้ค้นหา เช่น รายงานการวิจัย เรื่อง การปรับปรุงคุณภาพและการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิที่มีความสามารถในการทนแล้ง โดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม
2. การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search)
เป็น การค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหา หรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด 
2.1การ สืบค้นข้อมูล โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือการค้นหาโดยใช้ Operator เป็นการค้นหา โดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว คือ AND, OR, NOT ดังนี้
- AND ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า สัมตำที่เป็นอาหาร มีรูปแบบการค้นดังนี้ คือ ส้มตำ AND อาหาร หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ และคำว่า อาหาร 
- OR ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น เช่น สัมตำไทย OR ส้มตำปูปลาร้า หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า สัมตำไทย และ ส้มตำปูปลาร้า หรือค้นหาคำใดคำหนึ่งก็ได้ 
- NOT ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ AND อาหาร NOT เพลง หมายถึง ต้องการค้นหา คำว่า ส้มตำ เฉพาะที่เป็นอาหาร ไม่เอาเพลงส้มตำ เป็นต้น
 
เทคนิคการค้นหา พร้อมรูปแบบตัวอย่างการค้นหาร Library Catalog จาก WEB OPAC 
1. ความหมาย/ทางเลือกของการสืบค้นรายการหนังสือและสื่อต่างๆ มีดังนี้ 
- ค้นหาจากชื่อผู้แต่ง หมายถึง ค้นหาจากชื่อบุคคล ชื่อหน่วยงาน/องค์กรที่เป็นผู้แต่งหรือผลิตสิ่งพิมพ์ 
ยกตัวอย่าง เช่น
ชื่อผู้แต่งที่เป็นคนต่างชาติ ให้ค้นด้วยนามสกุล (LastName) เช่น 
"Judith G. Voet" ต้องพิมพ์คำค้นเป็น "Voet, Judith G." หรือ "Voet, Judith" หรือ "Voet" 
ชื่อคนไทย ต้องใช้ชื่อต้น (FirstName) เช่น 
"ณัฐ ภมรประวัติ (Natth Bhamarapravati)" ต้องพิมพ์คำค้น "ณัฐ" สำหรับหนังสือภาษาไทย และพิมพ์คำค้น "Natth" สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ 
- ค้นหาจากชื่อเรื่อง หมายถึง ชื่อเรื่องของสิ่งพิมพ ์ ซึ่งสามารถค้นได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ 
ยกตัวอย่าง เช่น แดจังกึม หรือ Lover in paris เป็นต้น
- ค้นหาจากชื่อวารสาร หมายถึง ชื่อของวารสารหรือสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
ยกตัวอย่าง เช่น เคมีน่ารู้ หรือ Food Science 
- ค้นหาจากหัวเรื่อง หมายถึง คำ วลีที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ส่วนใหญ่เป็นคำนาม สั้นกระทัดรัด ได้ใจความ หรืออาจจะเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา
ยกตัวอย่าง เช่น ห้องสมุด - การบริหาร หรือ Library - administrative 
- ค้นหาจากคำสำคัญ หมายถึง คำวลี ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งหากค้นด้วยคำสำคัญ ระบบจะทำการค้นหาคำ ที่อยู่ในชื่อเรื่อง
ยกตัวอย่าง เช่น การรู้สารสนเทศ หรือ Information Literacy 
- ค้นหาด้วย เลขหมู่ระบบ LC หมายถึง การค้นหาด้วยเลขหมู่ ในระบบรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) 
ยกตัวอย่าง เช่น TA345 I44
- ค้นหาจากเลขหมู่ระบบอื่น หมายถึง การค้นหาด้วยเลขหมู่นอกเหนือจาก LC, NLM ซึ่งห้องสมุดได้กำหนดเลขหมู่ดังกล่าว ขึ้นมาใช้เอง เช่น การจัดหมวดหมู่ของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) , Project Report
ยกตัวอย่าง เช่น มอก. 464 2526 หรือ Pro.re.TE/Bi W253 2004 
 
2. ความหมาย/ทางเลือกของการสืบค้นบทความวารสารไทย มีดังนี้ 
- ค้นหาจากชื่อผู้แต่งหมายถึง ค้นหาจากชื่อบุคคล ชื่อหน่วยงาน/องค์กรที่เป็นผู้เขียนบทความ 
ยกตัวอย่าง เช่น 
ชื่อคน ไทย ต้องใช้ชื่อต้น (FirstName) เช่น "กุลธิดา ท้วมสุข" ต้องพิมพ์คำค้น "กุลธิดา" สำหรับหนังสือภาษาไทย และพิมพ์คำค้น "Kultida" สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ 
ชื่อผู้ แต่งที่เป็นคนต่างชาติ ให้ค้นด้วยนามสกุล (LastName) เช่น "Douglas R. Smucker" ต้องพิมพ์คำค้นเป็น "Smucker, Douglas R." หรือ "Smock, William" หรือ "Smock"
- ค้นหาจากชื่อเรื่อง หมายถึง ชื่อเรื่องของบทความ ซึ่งสามารถค้นได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ 
ยกตัวอย่าง เช่น ห้องสมุดมีชีวิต หรือ Netlibrary ebooks 
- ค้นหาจากชื่อวารสาร หมายถึง ชื่อของวารสารหรือสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ผลการค้นที่ได้จะเป็นรายการดัชนีของบทความที่ตีพิมพ์ในชื่อวารสารที่ค้นหา 
ยกตัวอย่าง เช่น เคมีน่ารู้ หรือ Food Science 
- ค้นหาจากหัวเรื่อง หมายถึง คำ วลีที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ส่วนใหญ่เป็นคำนาม สั้นกระทัดรัด ได้ใจความ หรืออาจจะเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา 
ยกตัวอย่าง เช่น ต่อมน้ำเหลือง, โรค--การวินิจฉัย 
- ค้นหาจากคำสำคัญ หมายถึง คำวลี ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งหากค้นด้วยคำสำคัญ ระบบจะทำการค้นหาคำ ที่อยู่ในชื่อเรื่อง
ยกตัวอย่าง เช่น ภูมิคุ้มกันเสื่อม
รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมของเอกสารที่ค้นจากเว็บไซต์
ข้อมูลที่ ได้จากเว็บไซต์มีองค์ประกอบเช่นเดียวกับวัสดุสารนิเทศประเภทต่างๆเช่นชื่อ ผู้แต่งชื่อเรื่องปีที่พิมพ์ดังนั้นการเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมของ ข้อมูลที่ค้นได้จากเว็บไซต์จึงใช้รูปแบบเดียวกับการเขียนรายละเอียดของ บรรณานุกรมของเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์โดยทั่วไปเช่นกรณีของหนังสือข้อมูลราย ละเอียดทางบรรณานุกรมจะประกอบไปด้วยชื่อผู้แต่งปีที่พิมพ์ชื่อเรื่องและสถาน ที่พิมพ์นอกจากนี้อาจเพิ่มข้อมูลบางส่วนที่ช่วยในการสืบค้นอีกด้วย คือ วันที่สืบค้น และ URL โดยภาษาไทยใช้ว่า “สืบค้นเมื่อ........จาก...............” และภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Retrieved……form………..”
ตัวอย่างเอกสารภาษาไทย
ผู้แต่ง. ปีที่สืบค้น. ชื่อเรื่อง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : ชื่อ URL. วัน เดือน ปี ที่สืบค้น.
EX.
พัชรา แสงศรี. ๒๕๔๗. จังหวัดเชียงใหม่. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://travel.mweb.co.th/north/Chiangmai/index.html. ๑๒ มกราคม ๒๕๔๗
ตัวอย่างเอกสารภาษาอังกฤษ
ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง. ปีที่พิมพ์;.[screens (หน้า)]
[cited (ปี เดือน(ย่อ) วันที่เข้าถึง)] Available from(เข้าถึงได้ที่) : URL : ชื่อ URL.
EX.
Cancer-Pain.org [homepage on the Internet]. New York: Association of Cancer Online Resources, Inc.; c2000-01
[cited 2008 Oct 3]. Available from: http://www.cancer-pain.org/
ชื่อผู้แต่ง  คือชื่อผู้เขียนเรื่องนั้น  เรียงตามลำดับตัวอักษร
ชื่อเรื่อง   คือชื่อเรื่อง หัวข้อที่แสดง แบบไทยทำตัวเอียงด้วยนะ
แหล่งที่ มา URL   คือ URL หรือ IP ADDRESS ทั้งหมดในช่อง ADDRESS (เว็บไซต์นั้นแหละ) จะยกมาเฉพาะชื่อ web site ไม่ได้ แบบไทย อย่าลืมใส่ (ออนไลน์). ด้วย 
ปีที่ พิมพ์    ต้องกำหนดปีที่พิมพ์ หรือปีที่ข้อมูล ข้อความ ใน webpage นั้น  update   ซึ่งหาได้จาก Home Page ของ website นั้น   ปีที่พิมพ์นี้ (เช่น วันที่เขียนเอนทรี่นี้) ไม่ใช่ปีที่เราพบข้อความทาง Internet
วันเดือน ปีที่สืบค้น  เพราะว่าบางทีมันค่องข้างละล่มบ่อย ให้ใส่วันที่เวลาค้นเจอเว็บด้วย เพื่อว่าจะได้มีเวลาเป็นหลักฐาน เจอเมื่อไหร่
11.ข้ควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
 ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะ และมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย
  • ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ
  • ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น
  • ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา
  • เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง
  • ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ
ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย
  • เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ
  • เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
  • ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย
  • ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  • ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
  • ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
  • ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถาม ความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
  • ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่
ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย
  • ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง
  • ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
  • ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
  • ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
  • ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
  • ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
  • ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
  • ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
  • ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

เว็บไซต์อ้างอิง

http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page35.htm
สาระสำคัญ 
     อินเตอร์เป็นเครือข่ายติดต่อสื่อสารขนาดใหญ่ที่โยงไปทั่วโล มีบริการหลายรูปแบบเพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ซึ่งผู้ใช้ต้องษาวิธการใช้บริการเหล่านั้นให้เข้าใจ จึงจะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น